คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58
อดีตคณะรัฐมนตรีไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 (24 กันยายน – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คณะรัฐมนตรีสมชาย (ครม.สมชาย 1)
คณะรัฐมนตรีสมชาย | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
กันยายน - ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
![]() | |
วันแต่งตั้ง | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 |
วันสิ้นสุด | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (86 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (พปช.) ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ปฏิบัติหน้าที่แทน |
รองนายกรัฐมนตรี |
|
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด | 35 |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคประชาราช พรรคเพื่อไทย |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม 298 / 466
|
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ |
ผู้นำฝ่ายค้าน | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | – |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | 17 กันยายน พ.ศ. 2551 |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 |
วาระสภานิติบัญญัติ | 4 ปี |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 |
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรีคณะนี้เป็นคณะแรกที่ไม่สามารถทำงานภายในทำเนียบรัฐบาลไทยได้ เนื่องจากทำเนียบรัฐบาลไทยในขณะนั้นถูกยึดโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยได้ใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นที่ทำการชั่วคราวจนสิ้นสุดวาระ
รายชื่อรัฐมนตรี
![]() | ![]() | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ![]() | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี |
![]() | ![]() | แต่งตั้งเพิ่ม | ![]() | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น |
![]() | ![]() | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ![]() | ออกจากตำแหน่ง |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย | |||||||||||
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | พรรคการเมือง | |||||
นายกรัฐมนตรี | * | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | ![]() | 18 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | |||
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี | พลังประชาชน | |||||
รองนายกรัฐมนตรี | 1 | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ลาออกจากตำแหน่ง | พลังประชาชน | |||||
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | |||||
2 | โอฬาร ไชยประวัติ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||||
3 | พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ชาติไทย | |||||
สำนักนายกรัฐมนตรี | ![]() | สุขุมพงศ์ โง่นคำ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | |||
![]() | 4 | สุพล ฟองงาม | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
กลาโหม | ![]() | * | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี (ให้ปลัดกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทน) | พลังประชาชน | ||
การคลัง | ![]() | 5 | สุชาติ ธาดาธำรงเวช | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | เพื่อไทย[a] | |||
![]() | 6 | ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | รวมใจไทยชาติพัฒนา | ||||
![]() | 7 | ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | เพื่อแผ่นดิน | ||||
การต่างประเทศ | ![]() | * | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | ||
การท่องเที่ยวและกีฬา | ![]() | วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | ชาติไทย | |||
![]() | * | พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ชาติไทย | ||||
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | ![]() | 8 | อุดมเดช รัตนเสถียร | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
เกษตรและสหกรณ์ | ![]() | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | ชาติไทย | |||
![]() | * | พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ชาติไทย | ||||
![]() | ธีระชัย แสนแก้ว | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | ||||
![]() | สมพัฒน์ แก้วพิจิตร | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | ชาติไทย | ||||
คมนาคม | ![]() | 9 | สันติ พร้อมพัฒน์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
![]() | 10 | โสภณ ซารัมย์ | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
![]() | วราวุธ ศิลปอาชา | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | ชาติไทย | ||||
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ![]() | อนงค์วรรณ เทพสุทิน | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | มัชฌิมาธิปไตย | |||
![]() | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | เพื่อแผ่นดิน | |||||
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ![]() | 11 | มั่น พัธโนทัย | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | เพื่อแผ่นดิน | |||
พลังงาน | ![]() | 12 | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | รวมใจไทยชาติพัฒนา | |||
พาณิชย์ | ![]() | ไชยา สะสมทรัพย์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | |||
![]() | สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | ||||
![]() | พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | มัชฌิมาธิปไตย | ||||
![]() | 13 | โอฬาร ไชยประวัติ | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
มหาดไทย | ![]() | 14 | พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
![]() | 15 | ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
![]() | 16 | ประสงค์ โฆษิตานนท์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
ยุติธรรม | ![]() | 17 | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
แรงงาน | ![]() | 18 | อุไรวรรณ เทียนทอง | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ประชาราช | |||
วัฒนธรรม | ![]() | 19 | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ![]() | 20 | วุฒิพงศ์ ฉายแสง | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
ศึกษาธิการ | ![]() | ศรีเมือง เจริญศิริ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี | พลังประชาชน | |||
![]() | 21 | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | ![]() | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
สาธารณสุข | ![]() | 22 | ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | |||
![]() | 23 | วิชาญ มีนชัยนันท์ | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | พลังประชาชน | ||||
อุตสาหกรรม | ![]() | 24 | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก | ![]() | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | ![]() | เพื่อแผ่นดิน | |||
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
- วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
นโยบายและผลงาน
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ความมั่นคง
- แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
- จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง
เศรษฐกิจ
- แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศ
- เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
- สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- เดินหน้าโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน
สิทธิมนุษยชน
- เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน
อื่นๆ
- รายการ "รัฐบาลของประชาชน"
คำชื่นชม
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำวิจารณ์
หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้แก๊สน้ำตาในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม คณาจารย์ส่วนหนึ่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ตั้งสมญานามแก่รัฐบาลชุดนี้ว่า รัฐบาลมือเปื้อนเลือด[1]
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พร้อมทั้ง ตั้งฉายารัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ว่าเป็น "รัฐบาลชายกระโปรง"[2]
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
สรุป
มุมมอง
เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ทำให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย โดยรัฐมนตรีที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ยังต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเดิม โดยแต่งตั้งให้ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีการลงมติเลือกนายกคนใหม่ และจนกระทั่งได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่
จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน)
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน) [3]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.