Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นพรรคการเมืองไทยซึ่งก่อตั้งในกลางปี พ.ศ. 2550 มีสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก เป็นพรรคการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย
พรรคเพื่อแผ่นดิน | |
---|---|
หัวหน้า | ไตรเทพ รัตนาจารย์ (รักษาการ) |
รองหัวหน้า | ไตรเทพ รัตนาจารย์ |
เลขาธิการ | ยศพนต์ สุธรรม |
เหรัญญิก | มาโนชญ์ เชื้อชาติ |
นายทะเบียนสมาชิก | กฤตธี จันทร์สง่า |
โฆษก | ไตรเทพ รัตนาจารย์ |
กรรมการบริหาร | ณรง ชุมพล |
คำขวัญ | สร้างชาติ ธำรงศาสน์ เทิดราชบัลลังก์ (2550-2563) คุณธรรมสร้างคน ประชาชนสร้างชาติ (2563 - 2566) |
ก่อตั้ง | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |
ถูกยุบ | 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 (15 ปี) |
แยกจาก | พรรคไทยรักไทย |
ที่ทำการ | 7/1 หมู่ 14 ตำบลโนน อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ 32130 |
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 6,427 คน[1] |
เว็บไซต์ | |
http://www.ppdth.com/ | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ในช่วงก่อตั้ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ยุทธศาสตร์หาเสียงของพรรคคือ "นำรอยยิ้มกลับสู่สังคมไทย" มีอดีต ส.ส.ภาคอีสานเป็นสมาชิก เช่น กลุ่มของพินิจ จารุสมบัติ ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ วัฒนา อัศวเหม โสภณ เพชรสว่าง กลุ่มอดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร ในกลุ่มกรุงเทพ 50 ของสุรนันท์ เวชชาชีวะ รวมทั้งกลุ่มบ้านริมน้ำของสุชาติ ตันเจริญ และกลุ่มทางภาคเหนือของกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ อีกด้วย ในส่วนของกลุ่มบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นนักการเมืองมาก่อน แต่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคด้วยก็ได้แก่ นายสุระ แสนคำ หรือ เขาทราย แกแล็คซี่ อดีตแชมป์โลกชาวไทย [2] และ นาวาอากาศตรีปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นต้น
ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะกรรมการบริหารพรรค ได้แก่
รายนาม | ตำแหน่ง |
นายสุวิทย์ คุณกิตติ | หัวหน้าพรรค |
นายจิรายุ วสุรัตน์ | รองหัวหน้าพรรค |
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง | |
นายไชยยศ จิรเมธากร | |
พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล | |
นายปาน พึ่งสุจริต | |
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ | |
นายมั่น พัธโนทัย | |
นายศุภรักษ์ ควรหา | |
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ | |
นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ | |
นายกริช กงเพชร | |
นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ | |
นายแวมาฮาดี แวดาโอะ | |
นายสาคร สุขศรีวงศ์ | |
นายสานิต ว่องสัธนพงษ์ | |
นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ | |
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ | เลขาธิการพรรค |
นายสันติ สาทิพย์พงษ์ | รองเลขาธิการพรรค |
นายกัษณ คินิมาน | |
นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท | |
นายจีรวงศ์ สนิทวงศ์ชัย | |
นายนพดล พลซื่อ | |
นายพูลพล อัศวเหม | |
นายพิริยะ โตสกุลวงศ์ | |
นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ | |
นางมุกดา พงษ์สมบัติ | |
นายศราวุธ เพชรพนมพร | |
นายสิทธิชัย จันทร์ธารักษ์ | |
นายอนันต์ แสงวัณณ์ | |
นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ | โฆษกพรรค |
นางปรียาภา แสงสุรินทร์ | นายทะเบียนสมาชิกพรรค |
นางสาวลักษณา การะเกตุ | เหรัญญิกพรรค |
ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก [3] | หัวหน้าพรรค |
พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล | รองหัวหน้าพรรค |
นายสิทธิชัย จันทร์ธารักษ์ | |
นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม | |
นายรณฤทธิชัย คานเขต | |
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ควบตำแหน่งเลขาธิการพรรค | |
นายไชยยศ จิรเมธากร | โฆษกพรรค |
การเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดดังกล่าวนี้ มีเรื่องวุ่นวายตามมาซึ่งมีสมาชิกพรรคบางส่วนอ้างว่าการที่พลตำรวจเอกประชา ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ถือเป็นโมฆะ เนื่องจากผิดข้อบังคับพรรค กระทั่งต้องมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา โดยพลตำรวจเอกประชายังคงดำรงตำแหน่งเรื่อยมาระหว่างรอผลพิจารณา เรื่องราวได้ลุกลามจนถึงขั้นพยายามลงมติขับพลตำรวจเอกประชาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา ท้ายสุดผลของการพิจารณาจาก กกต. หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องข้อบังคับต่างๆ มติ กกต.เสียงข้างมากเห็นว่า การประชุมดังกล่าวไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.พรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคเพื่อแผ่นดิน จึงทำให้มติการเลือกพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกเป็นหัวหน้าพรรค ถือเป็นโมฆะ [4]
ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง | หัวหน้าพรรค |
ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี (ลาออก 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) | รองหัวหน้าพรรค |
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรค | |
นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ (ลาออก 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) | |
นายกว้าง รอบคอบ | |
นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ | |
นายนิมุคตาร์ วาบา | |
นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา (ลาออก 24 ก.พ. 2553) | |
นายไชยยศ จิรเมธากร (ลาออก 4 มี.ค. 2553) | เลขาธิการพรรค |
นายประนอม โพธิ์คำ (ลาออก 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) | รองเลขาธิการพรรค |
นายสมพงษ์ พิศาลกิจวนิช (ลาออก 5 มี.ค. 2553) | |
นางพรรณี จารุสมบัติ รองเลขาธิการพรรค | |
นายอดุลย์ นิลเปรม | นายทะเบียนสมาชิกพรรค |
นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ | เหรัญญิกพรรค (ลาออก 24 ก.พ. 2553) |
นายแพทย์อลงกต มณีกาศ | โฆษกพรรค |
ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ผู้บริหารของพรรครวมชาติพัฒนา และพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ประกาศรวมตัวกันและตั้งพรรคใหม่ขึ้น ชื่อว่า "พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน" โดยสมาชิกของพรรคเพื่อแผ่นดินจำนวนมาก โดยเฉพาะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดินและสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมชาติพัฒนา[8]
กลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 กรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดินมีมติให้ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นหัวหน้าพรรค และนำสมาชิกพรรคสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง[9] ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน เบอร์ 53
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 พรรคเพื่อแผ่นดินได้จัดการประชุมใหญ่สามัญพรรคเพื่อแผ่นดิน ครั้งที่ 1/2563 ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 12 คนพร้อมกับเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายประมวล เอมเปีย อดีตรองโฆษก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ พร้อมกรรมการบริหารพรรคอีก 11 คน[10] ต่อมาพรรคเพื่อแผ่นดินได้ถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 เนื่องจากทางพรรคไม่มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมากว่า 1 ปีเพราะคณะกรรมการบริหารพรรคลาออกจากสมาชิกพรรคทั้งคณะ[11]
รายชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|
ประมวล เอมเปีย (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565) |
หัวหน้าพรรค |
ไตรเทพ รัตนาจารย์ | รองหัวหน้าพรรค |
เฉลิมชัย ตันเจริญ (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563)[12] | |
พันตำรวจเอก สนธยา แสงเภา (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565) | |
สดใส โรจนวิชัย (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565) | |
โสภณ ศรีมาเหล็ก | เลขาธิการพรรค (ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)[13] |
ยศพนต์ สุธรรม (แต่งตั้งแทน 4 เมษายน พ.ศ. 2564) |
เลขาธิการพรรค |
มาโนชญ์ เชื้อชาติ | เหรัญญิกพรรค |
กฤตธี จันทร์สง่า | นายทะเบียนสมาชิกพรรค |
ว่าที่ร้อยตรี พิทักษ์ จิระวนิชกุล (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565) |
โฆษกพรรค |
เอกรินทร์ นิลสวัสดิ์ | กรรมการบริหารพรรค |
ณรง ชุมพล | |
ชัยพร ภูผารัตน์ (ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565) | |
ไพฑูรย์ วชิรวงศ์ภิญโญ (ลาออกจากสมาชิกพรรค เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565) |
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 พรรคเพื่อแผ่นดินได้แต่งตั้ง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นประธานสภานโยบายและยุทธศาสตร์พรรค โดยมีคณะกรรมการสภาฯ ประกอบด้วย นายวิจิตร สุพินิจ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายศุภชัย พิศิษฐวานิช อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายบรรพต หงษ์ทอง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และ นายนิทิต พุกกะณะสุต ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน โดยทั้งหมดจะเป็นทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อแผ่นดินด้วย [14]
ต่อมานายสุรเกียรติ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ประธานสภานโยบายและยุทธศาสตร์พรรค เนื่องจากเป็นหนึ่งใน 111 อดีตกรรมกรรมบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี และ กกต. วินิจฉัยว่าไม่สมควรดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองระหว่างที่ถูกตัดสิทธิ์ดังกล่าว
ผลการเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2550 | 24 / 480 |
1,981,021 | 5.44% | 24 | ร่วมรัฐบาล | สุวิทย์ คุณกิตติ |
2562 | 0 / 500 |
31,307 | 24 | ไม่ได้รับเลือกตั้ง | ชัยยงค์ พรหมวงศ์ |
ในค่ำวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 นายสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าพรรคได้จัดแถลงข่าวที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกรรมการบริหารพรรคอีก 2 คน ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลคณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 โดยอ้างถึงมีความพยายามของรัฐบาลที่จะดึงดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ การจาบจ้วงเบื้องสูง และความไม่ชัดเจนในกรณีปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก แต่ต่อมา บรรดาสมาชิกได้แถลงว่า การลาออกครั้งนี้เป็นการกระทำของนายสุวิทย์คนเดียว มิได้ผ่านมติของกรรมการบริหารพรรค[15] [16]
ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2551 ต่อจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากรณียุบพรรคพลังประชาชน การลงมติครั้งนี้มีกระแสข่าวถึงความไม่แน่นอนในการเปลี่ยวขั้วรัฐบาล ของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งรวมถึงพรรคเพื่อแผ่นดินด้วยเช่นกัน ก่อนการลงมติมีการแถลงข่าวที่สร้างความสับสนถึงมติของพรรคเพื่อแผ่นดินอยู่เป็นระยะว่าจะเป็นเช่นไร จนมีเมื่อนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ได้เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินในขณะนั้น ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุว่าเป็นคนกลางและมีคุณวุฒิ เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมือง แต่เมื่อถึงวันลงมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เสียงของ ส.ส. ในพรรคเพื่อแผ่นดินทั้งหมด 21 เสียงในเวลานั้น ได้แตกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 5 คน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งมีการลงมติในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดย ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วน ได้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาล 2 คน คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล และนายโสภณ ซารัมย์ จากพรรคภูมิใจไทย ทำให้แกนนำของพรรคภูมิใจไทย แสดงความไม่พอใจ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากพรรคร่วมรัฐบาล[17]
ต่อมาได้มีการปรับรัฐมนตรีในส่วนของพรรคเพื่อแผ่นดิน จำนวน 3 คน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกจากตำแหน่ง และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมาตุภูมิ แทนในโควตาของพรรค โดยให้โควตารัฐมนตรีให้พรรคเพื่อแผ่นดิน เพียง 1 ตำแหน่ง คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคเพื่อแผ่นดิน โดยนายกว้าง รอบคอบ รักษาการหัวหน้าพรรค ประกาศแสดงเจตนารมณ์ของพรรคว่าจะไม่มีการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เพื่อป้องกันความสับสันระหว่างพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ซึ่งสมาชิกของพรรคเพื่อแผ่นดินส่วนใหญ่ได้ย้ายเข้าไปร่วมงานทางการเมืองด้วย ส่วนกิจกรรมของพรรคเพื่อแผ่นดินยังคงมีต่อไป
พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 แทนนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ เมื่อวันที 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีหมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 53 แต่การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.