พรรคไทยรักไทย
อดีตพรรคการเมืองไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดีตพรรคการเมืองไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทยรักไทย (ย่อ: ทรท. อังกฤษ: Thai Rak Thai Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 ในช่วงเวลาสั้น ๆ พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปสามครั้ง 8 เดือนหลังการรัฐประหารทำให้ทักษิณต้องลี้ภัย พรรคถูกยุบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเนื่องจากละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[12] หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ทักษิณ ชินวัตร ได้มีบทบาทในการก่อตั้งพรรคพลังประชาชน และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบอีก พรรคเพื่อไทย จึงมีบทบาททางการเมืองแทนพรรคไทยรักไทย
พรรคไทยรักไทย | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | ทักษิณ ชินวัตร |
หัวหน้า | จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ) |
รองหัวหน้า | |
เลขาธิการ | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี (รักษาการ) |
โฆษก | ศิธา ทิวารี |
นโยบาย | คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน (พ.ศ. 2544) ไทยรักไทย หัวใจคือประชาชน (พ.ศ. 2548) |
ก่อตั้ง | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 |
ถูกยุบ | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (8 ปี 320 วัน) |
รวมตัวกับ | (หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544) พรรคความหวังใหม่ (สมาชิกส่วนใหญ่) พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) |
แยกจาก | พรรคพลังธรรม |
ถัดไป | พรรคพลังประชาชน (สมาชิกส่วนใหญ่) พรรคมัชฌิมาธิปไตย (กลุ่มมัชฌิมา) พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคเพื่อไทย (บ้านเลขที่ 111) |
ที่ทำการ | เลขที่ 1770 (อาคารไอเอฟซีที) ถนนเพชรบุรี แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมใหม่[1] ลัทธิอิงสามัญชน[2][3] ปฏิรูปนิยม[4][5] เสรีนิยมใหม่[6][7][8] |
จุดยืน | ขวากลาง[9][10][11] |
สี | สีน้ำเงิน สีแดง |
เพลง | บทเพลงแห่งนโยบาย (พ.ศ. 2547) |
เว็บไซต์ | |
www.thairakthai.or.th (ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว) | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดย ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจโทรคมนาคม พร้อมผู้ร่วมก่อตั้งอีก 22 คนอาทิ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, ทนง พิทยะ, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
พรรคไทยรักไทยใช้วิธีดึงตัวนักการเมืองหน้าเก่าจากพรรคต่างๆ เข้าร่วม จนทำให้พรรคไทยรักไทยกลายสภาพเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในเวลาเพียงครึ่งปี โดยมี สส. เก่าอยู่แล้วประมาณ 130 คน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มพลังธรรม – พลังไทย, กลุ่มวังน้ำเย็น, กลุ่มพรรคความหวังใหม่, กลุ่มพรรคชาติพัฒนา, กลุ่มพรรคชาติไทย, กลุ่มพรรคกิจสังคม, และกลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น[13]
พรรคไทยรักไทยมีนโยบายประชานิยม ดึงดูดเกษตรกรที่เป็นหนี้ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยสัญญาว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พรรคยังเข้าถึงหมู่บ้านในชนบทและธุรกิจที่กำลังดิ้นรน นโยบายของพรรคไทยรักไทย ได้แก่ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ขยายเวลาการพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการประกาศสงครามกับสิ่งชั่วร้าย 3 ประการ ได้แก่ สงครามความยากจน สงครามยาเสพติดและสงครามคอร์รัปชั่น
อย่างไรก็ตาม เขาละเลยพื้นที่ชนบทบางแห่งและจังหวัดทางภาคใต้ เนื่องจากทักษิณระบุว่าเขาไม่มีเหตุผลที่จะต้องทำอะไรให้กับพื้นที่ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงให้เขา
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | ทักษิณ ชินวัตร (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 — ปัจจุบัน) | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
| |
– | จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ) (1 มกราคม พ.ศ. 2499 — ปัจจุบัน) | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 |
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | 27 มกราคม พ.ศ. 2545 | ||
2 | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | 27 มกราคม พ.ศ. 2545 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
| |
– | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี (รักษาการ) | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 |
อันดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง[14] |
---|---|---|
1 | ทักษิณ ชินวัตร | หัวหน้าพรรค |
2 | คณิต ณ นคร | รองหัวหน้าพรรค |
3 | ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | เลขาธิการพรรค |
4 | พันธุ์เลิศ ใบหยก | รองเลขาธิการพรรค |
5 | สิริกร มณีรินทร์ | เหรัญญิกพรรค |
6 | กันตธีร์ ศุภมงคล | โฆษกพรรค |
7 | สารสิน วีระผล | กรรมการบริหารพรรค |
8 | สุวรรณ วลัยเสถียร | กรรมการบริหารพรรค |
9 | ปภัสรา ตรังคิณีนาถ | กรรมการบริหารพรรค |
อันดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | จาตุรนต์ ฉายแสง | รักษาการหัวหน้าพรรค |
2 | คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | รองหัวหน้าพรรค |
3 | ไชยยศ สะสมทรัพย์ | รองหัวหน้าพรรค |
4 | พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | รองหัวหน้าพรรค |
5 | เนวิน ชิดชอบ | รองหัวหน้าพรรค |
6 | ประชา มาลีนนท์ | รองหัวหน้าพรรค |
7 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | รองหัวหน้าพรรค |
8 | โภคิน พลกุล | รองหัวหน้าพรรค |
9 | เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ | รองหัวหน้าพรรค |
10 | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | รองหัวหน้าพรรค |
11 | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี | รักษาการเลขาธิการพรรค |
12 | นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช | รองเลขาธิการพรรค |
13 | ชานนท์ สุวสิน | รองเลขาธิการพรรค |
14 | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | รองเลขาธิการพรรค |
15 | นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี | โฆษกพรรค |
16 | กันตธีร์ ศุภมงคล | กรรมการบริหารพรรค |
17 | จำลอง ครุฑขุนทด | กรรมการบริหารพรรค |
18 | ประจวบ ไชยสาส์น | กรรมการบริหารพรรค |
19 | พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | กรรมการบริหารพรรค |
20 | ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
21 | วิชิต ปลั่งศรีสกุล | กรรมการบริหารพรรค |
22 | สุชัย เจริญรัตนกุล | กรรมการบริหารพรรค |
23 | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | กรรมการบริหารพรรค |
24 | อดิศร เพียงเกษ | กรรมการบริหารพรรค |
25 | อดิศัย โพธารามิก | กรรมการบริหารพรรค |
26 | อนุทิน ชาญวีรกูล | กรรมการบริหารพรรค |
27 | เอกพร รักความสุข | กรรมการบริหารพรรค |
28 | เกรียง กัลป์ตินันท์ | กรรมการบริหารพรรค |
29 | ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก | กรรมการบริหารพรรค |
30 | ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี | กรรมการบริหารพรรค |
31 | วิชัย ชัยจิตวณิชกุล | กรรมการบริหารพรรค |
32 | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | กรรมการบริหารพรรค |
33 | อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ | กรรมการบริหารพรรค |
34 | ชาญชัย ปทุมารักษ์ | กรรมการบริหารพรรค |
35 | พงษ์ศักดิ์ วรปัญญา | กรรมการบริหารพรรค |
36 | พิมพา จันทร์ประสงค์ | กรรมการบริหารพรรค |
37 | ลิขิต หมู่ดี | กรรมการบริหารพรรค |
38 | ว่าที่ร้อยโท นายแพทย์ วัลลภ ยังตรง | กรรมการบริหารพรรค |
39 | พรชัย เตชะไพบูลย์ | กรรมการบริหารพรรค |
40 | อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ | กรรมการบริหารพรรค |
41 | ทศพล สังขทรัพย์ | กรรมการบริหารพรรค |
42 | ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ | กรรมการบริหารพรรค |
43 | ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร | กรรมการบริหารพรรค |
44 | มยุรา มนะสิการ | กรรมการบริหารพรรค |
45 | วิสาร เตชะธีราวัฒน์ | กรรมการบริหารพรรค |
46 | วีระกร คำประกอบ | กรรมการบริหารพรรค |
47 | กฤษ ศรีฟ้า | กรรมการบริหารพรรค |
48 | วีระ มุสิกพงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
49 | สุธรรม แสงประทุม | กรรมการบริหารพรรค |
50 | สุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี | กรรมการบริหารพรรค |
51 | หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล | กรรมการบริหารพรรค |
52 | ศันสนีย์ นาคพงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
พรรคไทยรักไทยมีบทบาททางการเมืองครั้งแรก เริ่มจากการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 8 ภายหลังที่ วิชาญ มีนชัยนันท์, วิไล สมพันธุ์, และ ณัฏฐพล กรรณสูต ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด (วิรัตน์ มีนชัยนันท์, พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ, และ ศิริพงษ์ ลิมปิชัย)[17]
ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 พรรคไทยรักไทยได้ส่ง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[18] โดยสุดารัตน์ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 521,184 คะแนน ซึ่งเป็นลำดับที่สอง พ่ายแพ้ให้กับ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีคะแนนเสียงมากกว่าเกือบสองเท่า (1,016,096 คะแนน)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดยชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอย่างถล่มทลาย ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 248 คน คิดเป็นร้อยละ 49.6 หลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทักษิณประกาศคำมั่นสัญญาไว้ว่า “ผมจะไม่ยอมทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำตามกฎหมายเท่านั้น ผมจะขอเป็นผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทย เพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น พี่น้องที่เคารพครับ ผมจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อย เป็นรัฐบาลที่จะทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต”[19]
โดยความสำเร็จของการชนะเลือกตั้งในครั้งนั้น สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากมีปัจจัย 3 ประการที่ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะ กล่าวคือ[20]
ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ พรรคไทยรักไทยสามารถเจรจารวม พรรคความหวังใหม่ ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, ตามด้วย พรรคเสรีธรรม, และ พรรคชาติพัฒนา เข้ากับพรรคไทยรักไทย และเป็นพันธมิตรกับ พรรคชาติไทย[21]
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยก็ยังคงครองตำแหน่งพรรคอันดับหนึ่ง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ด้วยคะแนนเสียงมากถึง 377 เสียง
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2544 | 248 / 500 |
11,634,495 | 49.6% | 248 ที่นั่ง | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | ทักษิณ ชินวัตร |
2548 | 377 / 500 |
18,993,073 | 61.17% | 122 ที่นั่ง | ||
2549 | 460 / 500 |
16,420,755 | 56.45% | 83 ที่นั่ง | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ |
การเลือกตั้ง | ผู้สมัคร | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2543 | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | 521,184 | 23.52% | พ่ายแพ้ |
2547 | ไม่ส่งผู้สมัคร (ให้การสนับสนุน ปวีณา หงสกุล ที่ลงสมัครในฐานะนักการเมืองอิสระ) |
ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อถึง 18,993,073 เสียง แต่ถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่าพรรคต้องการหลีกเลี่ยงกฎร้อยละ 20 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงตั้งอนุกรรมการมาสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ามีมูลทำให้พรรคไทยรักไทยอาจถูกยุบพรรคได้ และกำลังอยู่ในระหว่างการส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค
หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ไม่นาน ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยส่งจดหมายซึ่งเขียนด้วยลายมือ โดยได้ชี้แจงสาเหตุถึงการลาออก และขอบคุณสมาชิกพรรคและผู้ให้การสนับสนุน[24]
หลังจากที่หัวหน้าพรรคลาออกไม่นาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรค โดยเฉพาะผู้บริหารพรรค ต่างก็ตัดสินใจลาออกจากกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทันที มีการฟ้องร้องยุบพรรคไทยรักไทย มีการตรวจสอบเรื่องการทุจริต ซึ่งอาจมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมเพิกถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน เป็นจำนวน 5 ปี เหตุที่เพิกถอนสิทธิเพียง 111 คนใน 119 คน เนื่องจากใน 8 คนที่เหลือมีการลาออกหรือสิ้นสภาพกรรมการฯ ก่อนการกระทำผิด ได้แก่ เปรมศักดิ์ เพียยุระ, นายเสนาะ เทียนทอง, นายฐานิสร์ เทียนทอง, นายลิขิต ธีรเวคิน, นายสฤต สันติเมทนีดล, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายกร ทัพพะรังสี และนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิต[25][26]
ภายหลังการยุบพรรค สมาชิกพรรคที่เหลือรวมตัวกันเป็นกลุ่มไทยรักไทย โดยมีแกนนำอย่าง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี[27] และ ปองพล อดิเรกสาร[28] เป็นต้น
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่ประชุมกลุ่มไทยรักไทย มีมติให้สมาชิกย้ายไปสังกัดอยู่กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากเกรงว่ารัฐบาลจะหยิบยก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับกลุ่มไทยรักไทยให้ไม่สามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งได้ จากข้อกำหนดที่ให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองครบ 90 วัน[29]
พรรคไทยรักไทยเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค ทั้งช่วงก่อนการยุบพรรคและหลังการยุบพรรค[30] โดยมีดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.