Loading AI tools
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ครั้งที่ 7 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 7 สืบเนื่องจากการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี โดยการเลือกตั้งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และต่อมาในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติรับรองอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1]
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 2,472,486 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 62.50% ( 3.63 จุด) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สืบเนื่องจาก การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 และ สมัคร สุนทรเวช จาก พรรคประชากรไทย ได้รับการเลือกตั้ง บัดนี้ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง จึงเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ โดยกำหนดจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547
การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่เพิ่งออกใหม่ และมีข้อกำหนดแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาหลายประการ เช่น
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น 22 คน โดนมีผู้สมัครที่น่าสนใจ อาทิ
ขณะที่ทางพรรคแกนนำรัฐบาล คือ พรรคไทยรักไทย มิได้ส่งผู้สมัครคนใดลงเลือกตั้ง (แต่โดยพฤติการณ์แล้วสนับสนุน ปวีณา หงสกุล[4] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ)
ด้าน สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดำรงตำแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น วุฒิสมาชิก กรุงเทพมหานคร
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547
หมายเลข | ผู้สมัคร | สังกัด | คะแนนเสียง |
---|---|---|---|
1 | อภิรักษ์ โกษะโยธิน | พรรคประชาธิปัตย์ | 911,441 |
7 | ปวีณา หงสกุล | ผู้สมัครอิสระ | 619,039 |
15 | ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ | พรรคต้นตระกูลไทย | 334,168 |
3 | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | พรรคมวลชน | 165,761 |
21 | ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ | ผู้สมัครอิสระ | 135,369 |
19 | พิจิตต รัตตกุล | กลุ่มมดงาน | 101,220 |
5 | มานะ มหาสุวีระชัย | ผู้สมัครอิสระ | 84,147 |
12 | วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ | ผู้สมัครอิสระ | 10,243 |
11 | การุญ จันทรางศุ | พรรคพลังประชาชน | 11,070 |
14 | กอบศักดิ์ ชุติกุล | ผู้สมัครอิสระ | 3,196 |
8 | พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ | กลุ่ม ฅ.คนรักกรุงเทพ | 2,377 |
9 | ร้ยเอก เมตตา เต็มชำนาญ | กลุ่มเมตตาธรรม | 1,965 |
18 | สุชาติ เกิดผล | ผู้สมัครอิสระ | 1,298 |
2 | วรัญชัย โชคชนะ | ผู้สมัครอิสระ | 1,087 |
17 | วิทยา จังกอบพัฒนา | ผู้สมัครอิสระ | 811 |
16 | สุเมธ ตันธนาศิริกุล | กลุ่มกรุงเทพฯ พัฒนา | 709 |
4 | กิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ | ผู้สมัครอิสระ | 572 |
13 | อุดม วิบูลเทพาชาติ | ผู้สมัครอิสระ | 478 |
22 | วรา บัณฑุนาค | ผู้สมัครอิสระ | 387 |
20 | โชคชัย เลาหชินบัญชร | ผู้สมัครอิสระ | 381 |
10 | วีระศักดิ์ อุปถัมภ์ | พรรคประชากรไทย | 239 |
6 | ลีนา จังจรรจา† | ผู้สมัครอิสระ | ถูก กกต. ถอดถอนการรับสมัคร |
รวมคะแนนผู้สมัครทั้งหมด | 2,385,958 | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 26,763 | ||
บัตรเสีย | 59,765 | ||
รวม | 2,472,486 |
คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น สรุปผลการเลือกตั้งว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 3,955,855 คน ออกมาใช้สิทธิทั้งหมด 2,472,486 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 26,763 ราย บัตรเสีย 59,765 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.42 เขตที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุดคือ เขตทวีวัฒนา จากจำนวนผู้มีสิทธิ 44,640 คน ออกมาใช้สิทธิ 30,541 คน คิดเป็นร้อยละ 68.42 ขณะที่เขตคลองเตย มีผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยที่สุด จากจำนวนผู้มีสิทธิ 90,324 ออกมาใช้สิทธิ 47,111 คิดเป็นร้อยละ 52.16 [5] โดยการการนับคะแนนและประมวลผลการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเวลา 03.18 น. ของวันที่ 30 สิงหาคม 2547
โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่าหมายเลข 1 อภิรักษ์ โกษะโยธิน จาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยคะแนนเสียง 911,441 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.20 เอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง ปวีณา หงสกุล จาก พรรคไทยรักไทย หมายเลข 7 ที่ได้รับคะแนนเสียงไป 619,039 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25.95
มีการวิเคราะห์กันว่า ซึ่งการได้รับชัยชนะในครั้งนี้ของนายอภิรักษ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นการท้าทายการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย[6] โดยถึงแม้ว่าทางพรรคไทยรักไทยเอง จะไม่ส่งผู้ใดลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ให้การสนับสนุน ปวีณา หงสกุล แทน ซึ่งต่อมา นางปวีณาและพรรคไทยรักไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.