Loading AI tools
รองนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุทิน ชาญวีรกูล ท.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ง.ภ. (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น หนู เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย
อนุทิน ชาญวีรกูล | |
---|---|
อนุทิน ใน พ.ศ. 2566 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 129 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พ.ศ. 2562–2566) สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พ.ศ. 2562–2563) วิษณุ เครืองาม (พ.ศ. 2562–2566) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562–2566) ดอน ปรมัตถ์วินัย (พ.ศ. 2563–2566) สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (พ.ศ.2563–2566) ภูมิธรรม เวชยชัย (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน) สมศักดิ์ เทพสุทิน (พ.ศ. 2566–2567) ปานปรีย์ พหิทธานุกร (พ.ศ. 2566–2567) พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (พ.ศ. 2566–2567) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน) สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน) พิชัย ชุณหวชิร (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน) ประเสริฐ จันทรรวงทอง (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม ประจิน จั่นตอง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ฉัตรชัย สาริกัลยะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 76 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | เกรียง กัลป์ตินันท์ (2566 – 2567) ชาดา ไทยเศรษฐ์ (2566 – 2567) ทรงศักดิ์ ทองศรี ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ |
ก่อนหน้า | อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (4 ปี 53 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีช่วย | สาธิต ปิตุเตชะ |
ก่อนหน้า | ปิยะสกล สกลสัตยาทร |
ถัดไป | ชลน่าน ศรีแก้ว |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (0 ปี 98 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ก่อนหน้า | สิริกร มณีรินทร์ |
ถัดไป | สุชัย เจริญรัตนกุล |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 192 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | สุชัย เจริญรัตนกุล |
ก่อนหน้า | สุชัย เจริญรัตนกุล |
ถัดไป | มรกต กรเกษม วัลลภ ไทยเหนือ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 (0 ปี 157 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | อดิศัย โพธารามิก |
ก่อนหน้า | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล |
ถัดไป | สุริยา ลาภวิสุทธิสิน |
หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (12 ปี 33 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 237 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กันยายน พ.ศ. 2509 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2550) ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สนองนุช วัฒนวรางกูร (หย่า) ศศิธร จันทรสมบูรณ์ (หย่า) วธนนนท์ นิรามิษ |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยฮอฟสตรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ทรัพย์สินสุทธิ | 4,198 ล้านบาท (พ.ศ. 2562) |
ลายมือชื่อ | |
อนุทินเกิดที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า "หนู" ที่สื่อมวลชนนิยมเรียกกันว่า "เสี่ยหนู" ต่อมาสื่อมวลชนได้เรียกเป็น “หมอหนู[2]” ในช่วงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเขาเป็นบุตรคนโตของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้ก่อตั้ง บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น อนุทินสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮอฟสตรา (Hofstra University) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2532 และจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Mini MBA) เมื่อปี พ.ศ. 2533[3]
ชีวิตส่วนตัว สมรสครั้งแรกกับสนองนุช (สกุลเดิม วัฒนวรางกูร) เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีบุตร 2 คน คือ นัยน์ภัค และเศรณี ชาญวีรกูล[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาได้หย่ากับสนองนุช และสมรสใหม่กับศศิธร (สกุลเดิม จันทรสมบูรณ์) รองกรรมการผู้จัดการ แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ ปากช่อง[5][6] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 อนุทินได้หย่ากับศศิธร[7] อีกสามปีต่อมาเขาเปิดตัวสุภานัน นิรามิษ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วธนนนท์"[8]) ซึ่งเป็นคู่รักคนปัจจุบัน[9] เขามีความชื่นชอบส่วนตัวคือ สะสมพระเครื่อง[10]
ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นนายกองใหญ่ให้แก่อนุทิน ในฐานะเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดนจากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] และเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 สถาบันพระบรมราชชนกได้มอบปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่อนุทิน
พ.ศ. 2539 เข้าสู่วงการการเมืองโดยการรับตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประจวบ ไชยสาส์น) และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2547) ต่อมาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย
หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมืองในปี พ.ศ. 2555 เขาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ที่ในขณะนั้นมีหัวหน้าพรรคคือชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้เป็นบิดาที่ย้ายมาจากพรรคพลังประชาชนร่วมกับกลุ่มเพื่อนเนวิน และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม อนุทินได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคต่อจากบิดา[12]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1[13] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[14] สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังการเลือกตั้ง อนุทินและพรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 2 โดยเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขไปโดยปริยาย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และหลังการเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทยประกาศไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคแกนนำหรือพรรคร่วมใด ๆ ที่มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[15][16] แต่ก็จะไม่จัดตั้งหรือสนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อยเช่นเดียวกัน[17] ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยจึงเข้าร่วมรัฐบาล จากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย[18] จนทำให้ปลายปีผู้สื่อข่าวสายทำเนียบตั้งฉายาให้ว่ารัฐบาล "แกงส้มผักรวม" สื่อความหมายถึง การฉีก บันทึกความเข้าใจ (MOU) ล้มพรรคส้ม (ก้าวไกล) ในการเป็นรัฐบาล แล้วมารวมกับภูมิใจไทยตั้งรัฐบาลแทน[19]
ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์เชิงตำหนิบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่รักษาโควิด-19[20] ซึ่งต่อมาเจ้าตัวได้ออกมาชี้แจงในวันเดียวกัน[21] อีกทั้งยังเคยมีมุมมองส่วนตัวต่อโรคดังกล่าวว่าเป็นเหมือนโรคหวัด[22] ซึ่งต่อมาการระบาดของโควิด-19 กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วทั้งประเทศ เขาได้ร่วมแถลงข่าวกับคณะแพทย์จนปรากฏภาพการร้องไห้ออกมา และเผยต่อสื่อว่า ขอให้เชื่อมั่นจะไม่ทำให้ผิดหวัง[23]
ต่อมาในวาระเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เขาได้กล่าวว่า "ผมเป็นคนทำงานวันนี้ สั่งงานวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน เพราะงั้นก็ขอให้ทุกคนได้มีความมั่นใจ" [24] จึงทำให้วลีดังกล่าวเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ วันต่อมาในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว เขามอบหมายให้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้คัดกรองบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในส่วนท้องถิ่น[25] ทั้งนี้ ชาดาเคยถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จับตามองในฐานะผู้มีอิทธิพล[26] และเคยถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามคำสั่ง คสช. ตรวจค้นบ้านของเขาในปี พ.ศ. 2560[27]
อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ[28] ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.