Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (อังกฤษ: Health Systems Research Institute, HSRI) หรือเรียกโดยย่อว่า สวรส. เป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535[1][4] พร้อม ๆ กับการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีโครงสร้างองค์กรและการบริหารที่เน้นความคล่องตัว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพได้[5] สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
Health systems Research Institute | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ภาพรวมสถาบัน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 10 เมษายน พ.ศ. 2535[1] |
ประเภท | องค์การมหาชน |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 88/39 ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 13.8515401°N 100.5319458°E |
บุคลากร | 108 คน (พ.ศ. 2565)[2] |
งบประมาณต่อปี | 53,271,200 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
ฝ่ายบริหารสถาบัน |
|
ต้นสังกัดสถาบัน | กระทรวงสาธารณสุข |
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
การทำงานระยะแรกเน้นที่การวิจัยสร้างความรู้ใช้เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพในมิติต่าง ๆ
พ.ศ. 2541 เกิดสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ[6]
สวรส.เน้นหนักสนับสนุนการทำงานวิจัยสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบสุขภาพ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมปฏิรูประบบสุขภาพในทุกระดับ นำมาสู่การประกาศใช้ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และการจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลไกนโยบายใหม่ในระบบสุขภาพไทย รวมทั้ง นำมาซึ่งสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นกลไกที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
พ.ศ. 2542 ก่อตั้งสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
พ.ศ. 2543 คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.)
พ.ศ. 2544 เกิดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากงานวิจัยพัฒนานโยบายส่งเสริมสุขภาพ
พ.ศ. 2544 ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลในรูปแบบองค์การมหาชน โดยเริ่มนำร่อง 1 แห่ง ที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
พ.ศ. 2544 พัฒนาระบบประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2545 มีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2548 เกิดสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)
พ.ศ. 2548 จัดตั้งสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.)
พ.ศ. 2550 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2550 เกิดแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย และการก่อตั้งสถาบันสุขภาพวิถีไทย
พ.ศ. 2550 จัดตั้งแผนงานความร่วมมือภูมิภาคเอเซียการวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ[7]
พ.ศ. 2550 ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2550 ตั้งสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ (สคม.)[8]
ในช่วง 3 ปีแรก หลังจากมี พ.ร.บ.สุขภาพฯ สวรส. ได้ทำงานวิชาการเพื่อสานต่อและทำให้ประเด็นต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพฯ เป็นมรรคผล ไม่ว่าจะเป็น การสร้างความรู้สนับสนุนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ หรือการทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา สวรส. ได้ปรับตัวและปรับบทบาทหน้าที่ หันมาเน้นหนักที่ “การจัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่ยั่งยืน” ด้วยเห็นว่าภารกิจการสร้างความรู้สาขาเฉพาะต่าง ๆ มีหน่วยงานใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามาดูแล สวรส.จึงขันอาสาที่จะเป็นแกนประสานและจัดการให้เกิดการนำเอาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ นั้น มาจัดการให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดการตัดสินใจในการพัฒนาระบบสุขภาพบนฐานความรู้ และสนับสนุนให้ระบบมีความเป็นธรรมและยั่งยืนยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2551 ต่อยอดและขยายผลแผนงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R
พ.ศ. 2552 แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบยา
พ.ศ. 2553 จัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพสา
พ.ศ. 2554 จัดตั้งศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (ศรท.)[9] (ปัจจุบัน สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (สรท.))[10] สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
พ.ศ. 2555 จัดตั้งศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.)[11] (ปัจจุบัน สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.)[12]
ระยะนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ "องค์กรขับเคลื่อนความรู้สู่ระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน เพื่อสุขภาพดีและชีวิตที่ยืนยาวของประชาชน" โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพ 2.เสริมสร้างสมรรถนะนักวิจัยด้านสุขภาพ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต 3.พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบวงจร โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 4.บริหารจัดการงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพได้อย่างยั่งยืน
รวมทั้งมีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม อาทิเช่น การสร้างผลงานวิจัยที่ลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกของกลุ่มอายุต่างๆ การนำผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการไปพัฒนาระบบเครือข่ายบริการระดับเขตบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืน การเพิ่มจำนวนนักวิจัยและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ การมีระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานวิจัย นักวิจัย และเครือข่ายในระบบสุขภาพ
โดยงานวิจัยต่างๆ เน้นการสร้างองค์ความรู้ที่ครอบคลุมทุกมิติในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการคลังสุขภาพ ด้านกำลังคน ด้านการแพทย์/เทคโนโลยีการแพทย์ ด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎหมาย / ข้อบังคับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพคนไทย ผ่านงานวิจัยต่างๆ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยปฏิรูปบทบาทกระทรวงสาธารณสุขตามนโยบายเขตสุขภาพ งานวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ งานวิจัยลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การลดสาเหตุการตาย การวิเคราะห์อัตรากำลังบุคลากรสาธารณสุข งานวิจัยระบบยา ฯลฯ
งานวิจัย ผลงานวิจัยของ สวรส. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่มีลิขสิทธิ์ตาม สิทธิ์การเผยแพร่ (CC BY-NC-SA)
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข เป็นเครื่องมือเผยแพร่วิชาการเพื่อสนับสนุนและยกขีดความสามารถในการผลิตองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยระบบสุขภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย นักวิชาการและบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ เผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัล โดยวารสารฯ ปัจจุบันไม่จัดพิมพ์รูปเล่มกระดาษ
ห้องสมุด 100 ปี เสม พริ้งพวงแก้ว จัดเป็นห้องสมุดเฉพาะซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารวิจัย งานวิชาการและหนังสือที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ
คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ ศูนย์กลางข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ในระบบสุขภาพ (ปัจจุบันหยุดให้บริการแล้ว) โดยทาง สวรส. ได้พัฒนาเครื่องมือในการช่วยค้นคว้า และเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานและองค์กรด้านสุขภาพในประเทศไทยหลายแหล่ง เพื่อให้ค้นหาข้อมูลดังกล่าวได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
แนวคิดการออกแบบตราสัญลักษณ์ของ สวรส.
ผู้อำนวยการ สวรส. ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ[1]
ลำดับ | ชื่อ-สกุล ผู้อำนวยการ | วาระ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ | 2 | ก่อตั้ง - พ.ศ. 2541 | |
2 | วิพุธ พูลเจริญ | 2 | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2547 | |
3 | ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล | - | พ.ศ. 2547- พ.ศ. 2549 | |
4 | กิตตินันท์ อนรรฆมณี | - | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 | รักษาการ |
5 | พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข | 2 | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2556 | |
6 | สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล | - | พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 | |
7 | ภูษิต ประคองสาย | - | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 | รักษาการ |
8 | พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ | 1 | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 | |
9 | นพพร ชื่นกลิ่น | - | พ.ศ. 2561 - ก.ค. 2566 | |
10 | จรวยพร ศรีศศลักษณ์ | - | ก.ค. 2566 - ก.ย. 2566 | รักษาการ |
11 | ศุภกิจ ศิริลักษณ์ | - | ก.ย. 2566 - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.