ประจวบ ไชยสาส์น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประจวบ ไชยสาส์น (20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 1 เมษายน พ.ศ. 2563) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในรัฐบาลชวน หลีกภัย และรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นบิดาของต่อพงษ์ ไชยสาส์น[1] และจักรพรรดิ ไชยสาส์น
ประจวบ ไชยสาส์น | |
---|---|
![]() ประจวบ ในปี พ.ศ. 2502 ภาพตอนเรียนกับ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (343 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | อำนวย วีรวรรณ |
ถัดไป | สุรินทร์ พิศสุวรรณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (17 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | มารุต บุนนาค |
ถัดไป | ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (207 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ |
ถัดไป | มนตรี พงษ์พานิช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2531 – 22 พฤศจิกายน 2533 (2 ปี 105 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | บัญญัติ บรรทัดฐาน |
ถัดไป | เจริญ คันธวงศ์ |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 8 กันยายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | นาวาโท เดชา สุขารมณ์ |
ถัดไป | สุชน ชามพูนท |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ชูชีพ หาญสวัสดิ์ | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรี | สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มนตรี พงษ์พานิช |
หัวหน้าพรรคเสรีธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2543 – 6 กันยายน พ.ศ. 2544 | |
ก่อนหน้า | พินิจ จารุสมบัติ |
ถัดไป | ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย |
นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2546 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (9 ปี 235 วัน) | |
ก่อนหน้า | ประภาศน์ อวยชัย |
ถัดไป | วิรัช ชินวินิจกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 1 เมษายน พ.ศ. 2563 (75 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | แนวร่วมประชาธิปไตย (2511–2518) สังคมชาตินิยม (2518–2519) ชาติไทย (2526–2529) ประชาธิปัตย์ (2529–2535) ชาติพัฒนา (2535–2543) เสรีธรรม (2543–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) |
คู่สมรส | ทองพูน ไชยสาส์น (หย่า) ทับทิม ไชยสาส์น |
บุตร | 7 |
ประจวบ เป็นที่รู้จักกันในฉายา "อีดี้อีสาน"[2]
ประวัติ
นายประจวบ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] สมรสกับนางทองพูน ไชยสาส์น มีบุตร 4 คน คือ จารุภรณ์ ไชยสาส์น จักรพรรดิ ไชยสาส์น ต่อพงษ์ ไชยสาส์น จิราภรณ์ ไชยสาส์น และได้หย่าในภายหลัง
ต่อมาประจวบ สมรสกับ นางทับทิม ไชยสาส์น มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ วชิระ ไชยสาส์น อัจฉรา ไชยสาส์น และสุดารัตน์ ไชยสาส์น
งานการเมือง
สรุป
มุมมอง
นายประจวบ ไชยสาส์น เข้าสู่การเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี หลายสมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2529 ในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[5] กระทรวงสาธารณสุข[6] กระทรวงการต่างประเทศ[7] กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทบวงมหาวิทยาลัย
นายประจวบ ไชยสาส์น เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมืองหลายพรรค อาทิ รองเลขาธิการพรรคแนวประชาธิปไตย กรรมการพรรคแนวร่วมประชาธิปไตย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม และต่อมาได้ตัดสินใจยุบพรรคเสรีธรรม รวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
การถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
ในปี พ.ศ. 2549 นายประจวบ ไชยสาส์น ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] อีกด้านหนึ่งนายประจวบ ไชยสาส์น ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นายประจวบ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 7 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัด พรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัด พรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัด พรรคชาติพัฒนา
ถึงแก่อนิจกรรม
นายประจวบ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563[9] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.