Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุมภวาปี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอำเภอขนาดใหญ่ที่มีทั้งถนนมิตรภาพและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน เป็นอำเภอที่เจริญอันดับ 3 รองจาก อำเภอเมืองอุดรธานี และ อำเภอบ้านดุง
อำเภอกุมภวาปี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kumphawapi |
คำขวัญ: กุมภวาปีเมืองน้ำตาล อุทยานวานร ดอนแก้วพุทธสถาน หนองหานสายธารแห่งชีวิต ธรรมชาติวิจิตรทะเลบัวแดง | |
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอกุมภวาปี | |
พิกัด: 17°6′50″N 103°1′7″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุดรธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 672.6 ตร.กม. (259.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 122,299 คน |
• ความหนาแน่น | 181.83 คน/ตร.กม. (470.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 41110, 41370 (เฉพาะตำบลพันดอน ปะโค ผาสุก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4104 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ถนนศุภอรรถวินิจ ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 41110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
คำว่า "กุมภวาปี" ได้ตั้งให้สอดคล้องกับความหมาย ซึ่งคำว่า “กุมภะ” แปลว่า หม้อ “วาปี” แปลว่า หนองหรือบึง จึงรวมกันเป็น "กุมภวาปี" นามนี้ จึงปรากฏหลักฐานตั้งแต่ในรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
เมืองกุมภวาปีเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้พัฒนาการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีการสำรวจ พบในท้องที่ต่างๆกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง บริเวณที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญได้แก่ บริเวณบ้านดอนแก้ว ซึ่งเป็นเกาะกลางหนองหานน้อยกุมภวาปีบริเวณบ้านตูมใต้ บ้านเมืองพรึก บ้านสี่แจ และบ้านกงพาน ซึ่งโบราณวัตถุส่วนใหญ่ จะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ดินเผาและโลหะ จาการศึกษาของนักวิชาการด้านโบราณคดีได้สันนิษฐานไว้ว่า บริเวณแหล่งที่มีการสำรวจพบโบราณวัตถุเหล่านี้มีลักษณะเป็นชุมชนดั้งเดิมแบบล่าสัตว์และทำกสิกรรมตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์มีขนาดของชุมชนค่อนข้างใหญ่ มีการใช้โลหะ เหล็กและสำริด และมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ ที่ยู่บริเวณใกล้เคียงกันลักษณะพึ่งพาอาศัยและแลกเปลี่ยนปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
เมืองกุมภวาปี มีชื่อปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่องผาแดงนางไอ่ ในนาม เมืองเอกชะทีตาหรือทีตานคร อันถือเป็นเวรกรรมที่เป็นต้นเค้าของปรากฏชื่อบ้านนามเมืองที่เกี่ยวข้องในบริเวณหนองหานน้อยและลุ่มน้ำชีตอนบน ความในวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องผาแดงนางไอ่ นั้นกล่าวว่าเมืองทีตานครเป็นเมืองใหญ่ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์เจ้าผู้ครองเมืองชื่อพญาขอม มีธิดาชื่อว่า ไอ่คำ เมื่อนางไอ่คำเจริญวัยได้มีเจ้าชายจากเมืองผาโพงชื่อ ท้าวผาแดง ได้มาติดพันเกี้ยวพาราสีหวังได้เป็นคู่ครอง
กาลต่อมาพญาขอมได้จัดงานบุญบั้งไฟของเมืองทีตานครนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงเมืองบาดาลเขตแดนของพญานาคทำให้ท้าวพังคี โอรสของพญานาคปลอมตัวมาเป็นกระรอกเผือกขึ้นมาเที่ยวชมงานพร้อมกับบริวาร ท้าวพังคีในร่างกระรอกเผือกได้แอบยลโฉมนางไอ่คำทางช่องหน้าต่าง เมื่อนางไอ่คำเห็นเข้าก็ปรารถนาอยากได้กระรอกเผือกไว้เชยชม จึงให้อำมาตย์ตามจับแต่ก็จับไม่ได้ ในที่สุดนายพรานประจำเมืองก็ใช้หน้าไม้ยิงกระรอกเผือกตายแล้วก็ชำแหละเนื้อกระรอกนำมาแบ่งปันประกอบอาหารกิน ด้วยแรงอธิษฐานของพังคีก่อนตายทำให้เนื้อกระรอกเผือกเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากมายกินกันทั่วเมืองก็ไม่หมดและขอให้คนที่ได้กินเนื้อจงตายตามไปด้วย
เมื่อท้าวพังคีตาย บริวารได้กลับไปบอกพญานาคบิดาของพังคี ทำให้พญานาคโกรธมากจึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ทำให้เมืองทีตานครของพญาขอมถล่มจมดินกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ซึ่งก็คือ หนองหานกุมภวาปีในปัจจุบัน ส่วนชาวเมืองที่กินเนื้อกระรอกเผือกก็ล้วนตายกันหมดรวมทั้งท้าวผาแดงและนางไอ่คำด้วย ยกเว้นบรรดาแม่หม้ายที่ไม่ได้รับแบ่งเนื้อกระรอกเผือกมากิน ทำให้บ้านเมืองของเขาไม่ถูกทำลายจึงเหลือเป็นเกาะกลางหนองหานที่เรียกกันว่า บ้านดอนแก้ว ในปัจจุบัน
หลังจากที่ปรากฏเรื่องราวของเมืองกุมภวาปีในนิทานพื้นบ้านและในตำนานอุรังคธาตุแล้วได้มีคนผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาอยู่อาศัยอย่างไม่ขาดสาย เนื่องจากรอบๆ หนองหานน้อยมีท้องทุ่งที่กว้างใหญ่ มีป่าไม้แน่นหนา กลุ่มคนเหลานั้นจึงพากันสร้างเมืองที่มั่งคั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางของชุมชนแห่งนี้มีชื่อว่า บ้านบึงหม้อ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งสำคัญ บรรดาบ้านเมืองต่างๆ ในหัวเมืองลาวและทางภาคอีสาน ได้มีใบบอกไปกรุงเทพฯเพื่อขอตั้งขึ้นเป็นบ้านเมืองในพระราชอาณาจักรสยามและมีการเปลี่ยนชื่อบ้านนามเมืองให้ไพเราะขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทางราชสำนักจะพิจารณาชื่อจากภูมินามดั้งเดิมแล้วนำมาดัดแปลงชื่อเพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกนามมงคลของบ้านเมือง แล้วจึงมีสารตราตั้งเมืองอนุญาตให้ตั้งเป็นบ้านเมืองที่สำคัญต่อไป บ้านบึงหม้อได้รับการตั้งชื่อนามมงคลจากราชสำนักกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2415 ว่า เมืองกุมภวาปี
ในปี พ.ศ. 2440 รัชการที่ 5 โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทย รวมเมืองกุมภวาปี หนองหาน หนองบัวลำภู และบ้านหมากแข้ง ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอุดรธานี เมืองกุมภวาปี จึงมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุดรธานี โดยมีที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้อง(โรงเรียนอนุบาลกุมภวาปี-ปัจจุบัน) ตำบลพันดอน ปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกว่า “เมืองเก่า” และมีพระประสิทธิสรรพกร(บุปผา สีหะไตร) เป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบลใหญ่ คือ ตำบลปะโค ตำบลพันดอน ตำบลอุ่มจาน ตำบลตูมใต้ และตำบลแชแล มีกำนันตำบลต่างๆ ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. 2463 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวรฤทธิฤๅไชย จึงปรากฏหลักฐาน และจากการบันทึกการเสด็จการครวจราชการ ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ซึ่งได้มาตรวจราชการมณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ได้บันทึกเรื่องการเสด็จตรวจราชการและจัดพิมพ์ไว้ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 มีความตอนหนึ่งว่า “…ข้ามห้วยอ้ายเต้นถึงเขตรเมืองกุมภวาปี เมืองนี้ยกเอาบ้านบึงหม้อ ตั้งขึ้นเปนเมือง เมื่อรัชกาลที่ 5 พระวรฤทธิฤๅไชยผู้ว่าราชการเมืองกุมภวาปี มารับ…” นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังได้เสด็จไปเที่ยวรอบหนองหาน และได้ทรงบันทึกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับหนองหาร (ปัจจุบันเขียน”หนองหาน”) ไว้ว่า “…หนองหารนี้มีชื่อเสียงมาในพงศาวดารเป็นบึงใหญ่กว้างมาก มีชาวบ้านตั้งหาปลาอยู่โดยรอบ ทางเดินรอบหนองหารประมาณสองวัน มีท่าลงหนองที่บ้านเชียงแหว ระยะทางห่างจากเมืองกุมภวาปี 200 เส้น มีเกาะในหนองหาน เรียกกันว่า “เกาะดอนแก้ว” มีหมู่บ้านและวัดบนเกาะนั้นด้วย น้ำหนองหารที่ไหลลงปาวไปตกลำพาชี เมืองกุมภวาปีมีราษฎรอยู่ประมาณ 6,000 คน มีชาวเมืองนครราชสีมา มาตั้งทำมาค้าขายอยู่หลายครัว…”
ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2468-2472 ร.อ.อ.หลวงนิคมพรรณาเขต (เขียน สีหะอำไพ) นายอำเภอคนที่ 9 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกุมภวาปีจากบ้านน้ำฆ้อง มาตั้งที่บ้านดงเมือง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เมืองใหม่” ตำบลตูมใต้ (ตำบลกุมภวาปี ในบัจจุบัน) โดยมีเหตุผล 4 ประการคือ
อำเภอกุมภวาปีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 174 หมู่บ้าน
|
|
ท้องที่อำเภอกุมภวาปีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
อำเภอกุมภวาปีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 672.6 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 412,452.13 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสลับเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ ในพื้นที่เนินจะปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย ปอ มันสัมปะหลัง ถั่ว ยางพารา ยูคาลิปตัส ฯลฯ พื้นที่ราบใช้ปลูกข้าว พื้นที่ราบลุ่มใหญ่รอบบริเวณหนองหานกุมภวาปีเป็นเพาะปลูกข้าวหลัก ริมขอบหนองหานเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตลอดปีแต่ใช้เพาะปลูกไม่ได้ บางปีรอบบริวณหนองหานเกิดน้ำท่วมพื้นที่นาต่อกันหลายวันทำให้ต้นข้าวตาย ลำห้วยสาขาของแม่น้ำปาวเป็นแหล่งปลูกข้าวรองลงไป โดยพื้นที่ร้อยละประมาณ 80 ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและเกษตรกรรมอื่น ๆ เช่น ปศุสัตว์ บ่อเลี้ยงปลา ฯลฯ ชุมชนตลอดแนวลำน้ำปาวทำการประมงน้ำจืด สภาพป่าพอหลงเหลือ ให้เห็นบ้างแต่อยู่ในอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมสภาพป่าเป็นป่าในเขตร้อนแต่ก็ถูกทำลายจนหลงเหลือสภาพป่าน้อยเต็มที แหล่งน้ำที่สำคัญในอำเภอกุมภวาปี มีดังนี้
|
|
สภาพอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ได้แก่
ข้อมูลภูมิอากาศของอำเภอกุมภวาปี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 36.4 (97.5) |
38.3 (100.9) |
41.0 (105.8) |
41.8 (107.2) |
40.9 (105.6) |
39.6 (103.3) |
37.2 (99) |
36.2 (97.2) |
35.5 (95.9) |
35.8 (96.4) |
34.9 (94.8) |
34.8 (94.6) |
41.8 (107.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.2 (84.6) |
31.6 (88.9) |
34.2 (93.6) |
35.4 (95.7) |
33.7 (92.7) |
32.5 (90.5) |
32.2 (90) |
31.5 (88.7) |
31.3 (88.3) |
31.1 (88) |
30.1 (86.2) |
28.7 (83.7) |
31.79 (89.23) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 22.2 (72) |
24.7 (76.5) |
27.6 (81.7) |
29.3 (84.7) |
28.5 (83.3) |
28.2 (82.8) |
27.9 (82.2) |
27.5 (81.5) |
27.2 (81) |
26.7 (80.1) |
24.6 (76.3) |
22.1 (71.8) |
26.38 (79.48) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.8 (60.4) |
18.6 (65.5) |
21.7 (71.1) |
24.1 (75.4) |
24.7 (76.5) |
25.0 (77) |
24.7 (76.5) |
24.5 (76.1) |
24.1 (75.4) |
22.9 (73.2) |
19.8 (67.6) |
16.2 (61.2) |
21.84 (71.32) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 4.5 (40.1) |
9.4 (48.9) |
10.0 (50) |
16.0 (60.8) |
18.8 (65.8) |
21.5 (70.7) |
20.4 (68.7) |
21.0 (69.8) |
20.5 (68.9) |
16.4 (61.5) |
8.4 (47.1) |
6.2 (43.2) |
4.5 (40.1) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 6 (0.24) |
19 (0.75) |
36 (1.42) |
83 (3.27) |
220 (8.66) |
231 (9.09) |
222 (8.74) |
276 (10.87) |
254 (10) |
84 (3.31) |
9 (0.35) |
3 (0.12) |
1,443 (56.81) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 2 | 3 | 6 | 14 | 15 | 15 | 17 | 15 | 7 | 1 | 0 | 96 |
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[32] |
ชื่อ | จำนวนหมู่บ้านที่ครอบคลุม | จำนวนประชากร (ธันวาคม พ.ศ. 2560) | จำนวนบ้าน (ธันวาคม พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|
เทศบาลตำบลกุมภวาปี (เมืองใหม่) | 10 หมู่บ้าน | 8,497 | 4,387 |
เทศบาลตำบลพันดอน (เมืองเก่า) | 6 หมู่บ้าน (หมู่ที่14 บางส่วน) | 5,668 | 2,486 |
เทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง | 8 หมู่บ้าน | 5,424 | 1,616 |
เทศบาลตำบลปะโค | 17 หมู่บ้าน | 11,304 | 3,277 |
เทศบาลตำบลกงพานพันดอน | 15 หมู่บ้าน | 11,742 | 3,169 |
เทศบาลตำบลเวียงคำ | 18 หมู่บ้าน | 10,496 | 3,068 |
เทศบาลตำบลเชียงแหว | 13 หมู่บ้าน | 8,633 | 2,252 |
เทศบาลตำบลหนองหว้า | 11 หมู่บ้าน | 8,072 | 1,959 |
เทศบาลตำบลแชแล | 14 หมู่บ้าน | 10,311 | 2,865 |
องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ | 9 หมู่บ้าน | 7,042 | 1,992 |
องค์การบริหารส่วนตำบลเสอเพลอ | 19 หมู่บ้าน | 11,959 | 3,342 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสีออ | 8 หมู่บ้าน | 4,546 | 1,138 |
องค์การบริหารส่วนตำบลผาสุก | 10 หมู่บ้าน | 6,379 | 1,793 |
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ | 14 หมู่บ้าน | 9,775 | 2,506 |
องค์การบริหารส่วนตำบลกุมภวาปี | 4 หมู่บ้าน | 4,393 | 1,529 |
ทั้งหมด | 174 | 124,214 | 37,379 |
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรอำเภอกุมภวาปี | |
---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร |
2551 | 125,193 |
2552 | 125,040 |
2553 | 125,095 |
2554 | 124,823 |
2555 | 125,036 |
2556 | 124,907 |
2557 | 125,090 |
2558 | 125,001 |
2559 | 124,599 |
2560 | 124,214 |
อำเภอกุมภวาปีมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 312,162 ไร่ และมีครอบครัวเกษตร 15,826 ครอบครัว ผลผลิตทางการเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปอแก้ว และอื่น ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรม มีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 3 แห่งดังนี้
อำเภอกุมภวาปีมีเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางรางที่สามารถเดินทางได้สะดวก ทั้งในรูปแบบของการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้า
ในอำเภอกุมภวาปีมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 1 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารพันดอน ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพในตำบลพันดอน
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
อำเภอกุมภวาปีมีประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.