คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดอุดรธานี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช จังหวัดอุดรธานี (อังกฤษ: Regional Distance Education Center-Udon Thani, Sukhothai Thammathirat Open University) เป็นศูนย์ให้บริการการศึกษาในส่วนภูมิภาค 1 ใน 10 แห่งของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช "ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี" ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี แรกเริ่มก่อสร้างด้วยมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณแผ่นดินในปี พ.ศ. 2531 เพื่อก่อสร้าง "ศูนย์วิทยบริการ" ขยายไปยังภูมิภาต่างๆของประเทศ
จนต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้เปิดให้บริการที่จังหวัดอุดรธานี ลำปาง พร้อมกันเป็นลำดับที่ 3 ของการขยายศูนย์วิทยบริการของมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการทั้งหมด 10 แห่ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์วิทยพัฒนา" ซึ่งหมายถึง "แหล่งพัฒนาความรู้" เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ศูนย์ฯ เป็นเสมือนตัวแทนของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค โดยมีขอบข่ายงานกว้างขวาง ทั้งการให้บริการแก่นักศึกษาทุกระดับที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย จึงจำเป็นต้องมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องประสานกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย
ซึ่งในปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง "สำนักวิทยพัฒนา" ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในอย่างไม่เป็นทางการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ ติดต่อประสานงาน ติดตามประเมินผล และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด[1]
คำว่า "ศูนย์วิทยพัฒนา" ไม่ได้หมายถึง วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย แต่เป็นเสมือนตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคกระจายตามภาคต่างๆ ของประเทศ ปัจจุบันมี 10 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์ฯนครศรีธรรมราช นครสวรรค์ อุบลราชธานี เพชรบุรี สุโขทัย ลำปาง อุดรธานี ยะลา จันทบุรี และนครนายก
Remove ads
ขอบเขต
ศูนย์วิทยพัฒนา มีขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบให้บริการครอบคลุมจังหวัดใกล้เคียง 5-10 จังหวัด ทั้งนี้ศูนย์วิทยพัฒนาจะเป็นแหล่งในการให้บริการด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย บริการประชุมสัมมนา และฝึกอบรม ในด้านวิชาการและวิชาชีพ บริการสื่อการศึกษาทุกรูปแบบ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยให้บริการ ณ ที่ทำการศูนย์วิทยพัฒนา และการบริการเคลื่อนที่เข้าสู่ชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยาพัฒนาแต่ละแห่ง การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งการวิจัยของคณาจารย์ และนักวิชาการของมาหวิทยาลัย ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและชุมชน การกระจายความรู้ เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาชุมชนให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
- ภายในอาคารศูนย์วิทยพัฒนา
- ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. จังหวัดอุดรธานี
- ห้องสัมมนาย่อยภายในศูนย์
Remove ads
การเดินทาง
- รถโดยสารประจำทาง
- จากในตัวเมืองอุดรธานี รถสองแถวสาย 45 บริเวณห้าแยกวงเวียนน้ำพุ,หน้าห้างสรรพสินค้าท๊อปเวิล ผ่านราชภัฎอุดรธานี ผ่านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ ผ่านบายพาสอุดร-ขอนแก่น ผ่านแยกผ่านปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด ลงบริเวณแยกทางศูนย์วิทยพัฒนา (มีป้ายค่อมถนน) เดินทางเข้าซอยประมาณ 500 เมตร
- จากในตัวเมืองอุดรธานี รถสองแถวสาย 44 บริเวณฝั่งตรงข้ามห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ผ่าน บขส. ผ่านห้างสรรพสินค้าท๊อปเวิล ผ่านราชภัฎอุดรธานี ผ่านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ ผ่านบายพาสอุดร-ขอนแก่น ลงปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด (เดินทางต่อโดยรถสามล้อรับจ้าง) เข้าศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี
- จากในตัวเมืองอุดรธานี รถมินิบัสสายโนนสูงนาข่า บริเวณหน้าโรงพยาบาลไพโรจน์แยกหนองคาย ผ่านตลาดบ้านห้วย ผ่านหอนาฬิกา ผ่าน กศน. ผ่านราชภัฎอุดรธานี ผ่านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ ผ่านบายพาสอุดร-ขอนแก่น ลงปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด เดินทางต่อโดยรถสามล้อรับจ้าง เข้าศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี
- กรณีเดินทางจากเส้นทางขอนแก่น ก่อนเข้าเมือง 6 ก.ม. ลงปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด(วัดหลวงตามหาบัว) เดินทางต่อโดยรถสามล้อรับจ้าง เข้าศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี
- รถส่วนตัว
- เดินทางตามเส้นทางเดียวกันรถโดยสาร
เขตพื้นที่รับผิดชอบ
ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี มีเขตพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ด้านทิศตะวันตก) 11 จังหวัด ได้แก่ ประกอบด้วย 17 ศูนย์สนามสอบโรงเรียน[2]
|
จังหวัดมหาสารคาม
|
Remove ads
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads