กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)
หน่วยงานราชการ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (อังกฤษ: Ministry of Agriculture and Cooperatives) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives | |
![]() ตราพระพิรุณทรงนาค ตรากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
![]() ตรารูปแบบเดิม | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2435 |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 3 ถนนราชดำเนินนอก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
บุคลากร | 82,341 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 72,290,422,000 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
รัฐมนตรี | |
รัฐมนตรีช่วย | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ต้นสังกัดกระทรวง | รัฐบาลไทย |
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกระทรวง |
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่ "พระยาภาสกรวงศ์ "เป็นเสนาบดีคนแรก
ใน พ.ศ. 2439 ได้ยุบรวมกระทรวงเกษตรพานิชการเข้ากับ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พร้อมกับลดฐานะลงเป็นกรม ๆ หนึ่ง ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการแยกกรมเกษตรพานิชการออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตราธิการ มี เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เป็นเสนาบดีคนแรก [3] โดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ทำการชั่วคราว [4]
ใน พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและอำนาจหน้าที่จากกระทรวงเกษตรพาณิชยการเป็น กระทรวงเศรษฐการ [5]ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติ ที่ 216[6]ก่อให้เกิดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนแรก ได้แก่ ดร.ปรีดา กรรณสูต

ตราสัญลักษณ์กระทรวง
- ตรารูปแบบเดิม
- ตราประจำกระทรวงตาม พรบ.หมายราชการ พ.ศ. 2482 (ฉบับที่ 249) ในปี พ.ศ. 2552
- ตราประจำกระทรวงตาม พรบ.เครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 (ฉบับที่ 313) ในปี พ.ศ. 2565
- ตราประจำกระทรวงในปี พ.ศ. 2565 ในรูปแบบลายเส้น
ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รูปแบบล่าสุด ประกาศใช้งานเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 313)[7]
หน่วยงานในสังกัด
ส่วนราชการ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กรมวิชาการเกษตร
- กรมประมง
- กรมปศุสัตว์
- กรมชลประทาน
- กรมพัฒนาที่ดิน
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- กรมส่งเสริมสหกรณ์
- กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- กรมการข้าว [8]
- กรมหม่อนไหม[9]
- กรมฝนหลวงและการบินเกษตร[10]

รัฐวิสาหกิจ
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีการจัดองค์กรการบริหารในรูปรัฐวิสาหกิจ คือ
- องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)
- องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
- องค์การสะพานปลา
- การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
อดีตรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแล
- สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)
- องค์การสวนยาง (อสย.)
- องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป., โอนไปสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
องค์การมหาชน
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.