Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายแพทย์ มรกต กรเกษม เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกสุรุยทธ์ จุลานนท์ และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
มรกต กรเกษม | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ถัดไป | วิชาญ มีนชัยนันท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | วันดี กรเกษม |
มรกต กรเกษม เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของนายชุมพร กับนางแถมสิน กรเกษม[1] สำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2501 และปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2507 ด้านครอบครัวสมรสกับนางวันดี กรเกษม มีบุตร 4 คน คือ นายกุลดิลก กรเกษม นายอลงกรณ์ กรเกษม นายศรันย์ กรเกษม และนางสาวปาริฉัตร กรเกษม
มรกต กรเกษม เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยแพทย์พระราชทานรักษาประชาชน ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นได้รับตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อจากนั้นได้รับราชการและได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาเป็น นายแพทย์อนามัยจังหวัดสมุทรสงคราม นายแพทย์ตรวจราชการสาธารณสุข ผู้อำนวยการกองอนามัยครอบครัว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้รับตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองอธิบดีกรมอนามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ คือ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
มรกต กรเกษม เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[2]
ใน พ.ศ. 2549 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา)[3] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.