ประวิตร วงษ์สุวรรณ

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวิตร วงษ์สุวรรณ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ชื่อเกิด ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ[1]; เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ชื่อเล่น ป้อม เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้า พรรคพลังประชารัฐ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26ได้ชื่อว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มแยกบูรพาพยัคฆ์และกลุ่ม 3 ป.

ข้อมูลเบื้องต้น รักษาการนายกรัฐมนตรี, กษัตริย์ ...
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
Thumb
ประวิตรใน พ.ศ. 2561
รักษาการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2565  30 กันยายน พ.ศ. 2565
(0 ปี 37 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา[a]
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557  1 กันยายน พ.ศ. 2566
(9 ปี 2 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551  9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557  10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 314 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปประยุทธ์ จันทร์โอชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 229 วัน)
หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2563
(4 ปี 185 วัน)
ก่อนหน้าอุตตม สาวนายน
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547  30 กันยายน พ.ศ. 2548
(0 ปี 365 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ถัดไปพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ

11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2562–ปัจจุบัน)
บุพการี
  • พลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ (บิดา)
  • สายสนี วงษ์สุวรรณ (มารดา)
ญาติ
ชื่อเล่นป้อม
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2512–2548
ยศ พลเอก
หน่วยกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
บังคับบัญชากองทัพบก
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม
สงครามกลางเมืองลาว
ปิด
favicon
1 sources

ชีวิตและการงาน

ชีวิตช่วงต้นและการรับราชการทหาร

Thumb
ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับเจมส์ แมตทิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เดอะเพนตากอน ณ วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ พ.ศ. 2561

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนโตของ พล.ต. ประเสริฐ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ

  1. พล.ร.อ. ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
  2. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
  3. พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลทีโอที
  4. พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ[2]

เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 ในปี พ.ศ. 2556

เขาถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือคนส่วนใหญ่ที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบก 2 นาย คือ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

งานการเมือง

พล.อ. ประวิตรเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2551 ปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552

ปลาย พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ที่ถูกครหา[3] ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

เขาเป็นที่ทราบกันว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มทหารที่เรียกลำลองกันว่า"บูรพาพยัคฆ์" ซึ่งหมายถึงทหารที่เริ่มต้นรับราชการจาก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี 2551 จนถึง 2554 กล่าวว่าตลอดอาชีพของประวิตร เขาให้คำปรึกษาแก่พล.อ. ประยุทธ์ และช่วยให้เขาได้เลื่อนขั้น

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา[4] เขายังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณะ[5]

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐ ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ พล.อ. ประวิตรได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรค[6]

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พล.อ. ประวิตรเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พล.อ. ประยุทธ์ยุติการปฏิบัติหน้าที่ นับเป็นผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 11 ที่ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่าง พล.อ. ประวิตร และ พล.อ. ประยุทธ์ในพรรคพลังประชารัฐ[7] ไม่นานหลังจากนั้นพรรคมีการปรับภาพลักษณ์ของ พล.อ. ประวิตรให้เป็นนายทหารประชาธิปไตย เข้าถึงได้กับทุกกลุ่ม[8] เดือนมกราคมปีถัดมา พล.อ. ประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[9] ขณะเดียวกันพล.อ. ประวิตรกล่าวว่าพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี และระบุว่าตนยังมีความสัมพันธ์อันดีกับพล.อ. ประยุทธ์ และพล.อ. อนุพงษ์ในฐานะพี่น้อง แม้จะมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันก็ตาม[10]

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 พล.อ. ประวิตรได้พบกับภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร เขากล่าวกับเธอว่าจะไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก[11] เดือนถัดมาเขาสมัครเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 และเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยเพียงคนเดียวของพรรคพลังประชารัฐ ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน เขาได้รับเลือกเป็น ส.ส. สมัยแรก และเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อคนเดียวของ พปชร.

faviconfaviconfaviconfaviconfavicon
10 sources

รับราชการทหาร

  • พ.ศ. 2512 : ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
  • พ.ศ. 2514 : ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2517 : ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2519 : นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2520 : ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2522 : นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2523 : รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2524 : ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2527 : ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 : รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2532 : ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2536 : รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2539 : ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2540 : รองแม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2541 : แม่ทัพน้อยที่ 1
  • พ.ศ. 2543 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
  • พ.ศ. 2544 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2545 : แม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2546 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 : ผู้บัญชาการทหารบก
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2553 : ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย[12]
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2553 : รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 : ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ใน พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย[13]

ใน พ.ศ. 2558 เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[14]

  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการนายกรัฐมนตรี

ราชการสงคราม

ในปี พ.ศ. 2513 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในยศ"ร้อยตรี"ขณะนั้น ได้อาสาสมัครไปราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ในหน่วยกองพลทหารอาสาสมัคร ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดสื่อสาร กรมทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร[15]

faviconfaviconfavicon
4 sources

กรณีอื้อฉาว

กรณีไม่เปิดเผยนาฬิกาหรู

การยกมือขึ้นบังแดดของพลเอกประวิตร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างรอถ่ายรูปกับคณะรัฐมนตรีใหม่ "ประยุทธ์ 1/5" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามว่าเหตุใด นาฬิกาเรือนโตยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) จำนวน 9 เรือน จึงไม่ปรากฏอยู่ในประเภท "ทรัพย์สินอื่น" ที่มีราคามากกว่าสองแสนบาท ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ของพล.อ. ประวิตร เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อปี พ.ศ. 2557[16]

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของพล.อ. ประวิตร ที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 นั้น พบว่าพล.อ. ประวิตร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 87,373,757.62 บาท ประกอบไปด้วย

  1. เงินในบัญชี 53 ล้านบาท
  2. เงินลงทุน 7 ล้านบาท
  3. ที่ดิน 17 ล้านบาท
  4. โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท

และรถฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen) ครอบครองปี พ.ศ. 2543 และไม่พบว่ามีการยื่นชี้แจงในส่วนของบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีมูลค่าเกิน 2 แสนบาทไว้ โดยคาดว่านาฬิกาประดับข้อมือของพล.อ. ประวิตร น่าจะเป็นยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) รุ่น RM 029 ตัวเรือนทำด้วยแพลทินัม ส่วนสายเป็นยางอย่างดี มีจุดเด่นอยู่ตรงตัวเลขวันที่ขนาดใหญ่ สนนราคา 111,492.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.6 ล้านบาท ขณะที่แหวนเพชรก็น่าจะอยู่ที่ราว 5 กะรัตขึ้นไป โดยมูลค่าในตลาดของเพชรเริ่มต้นที่ 4–7 ล้านบาท[17]

สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่กล้าปลดพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่า เนื่องจากเขาเป็นมือประสานสิบทิศรู้จักคนในวงการนักการเมืองและทหารตำรวจอย่างกว้างขวาง[18]

กรณีฮาวาย

เมื่อปี พ.ศ. 2559 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปฮาวาย ระหว่าง 29 กันยายน – 2 ตุลาคม ณ รัฐฮาวาย สหรัฐ เครื่องบิน โบอิง 747-400 โดยใช้เงิน จำนวน 20,953,800 ล้าน[19]บาท ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นตัวเลขที่สูงเกินความจำเป็น[20][21] ในปี พ.ศ. 2561 ปปช. ไม่รับไต่สวนกรณีเหมาลำฮาวาย ระบุไม่พบการกระทำใดที่ผิดราชการ จึงมีมติไม่รับไว้พิจารณา[22][23]

กรณีตบศีรษะนักข่าว

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขณะเดินทางไปงานเลี้ยงฉลองนักกีฬาโอลิมปิก ได้แสดงท่าทีฉุนเฉียวต่อนักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ได้ถามเกี่ยวกับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันเดียวกัน จนตบศีรษะที่นักข่าว ต่อมา องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการคุกคามนักข่าว และเรียกร้องให้พล.อ. ประวิตรรับผิดชอบ[24] รวมทั้งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เตรียมยื่นสอบจริยธรรมร้ายแรงแก่ พล.อ. ประวิตร[25] ต่อมา พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. และโฆษกพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าตนเตรียมนำประเด็นดังกล่าวหารือที่ประชุมในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567[26]

การไม่มาประชุมสภาผู้แทนราษฎร

หลังพลเอก ประวิตร ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เขาไม่มาประชุมสภาดังกล่าวเกือบ 90% โดยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงกันยายน 2567 เขาไม่มาประชุม 84 จาก 95 ครั้ง[27]

จากพฤติกรรมดังกล่าวรวมถึงความเกี่ยวข้องกับกรณีไร่ภูนับดาว ส่งผลให้สื่อมวลชนรัฐสภาตั้งฉายาให้เขาเป็น "ดาวดับ" ร่วมกับธิษะณา ชุณหะวัณ จากพรรคประชาชน[28]

กรณีอื่น ๆ

พล.อ. ประวิตร แสดงความคิดเห็นภายหลังเหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561 ว่า "คนจีนเป็นเป็นคนนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา เป็นเรื่องของนักท่องเที่ยวเขา เขาทำของเขาเอง เขาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เราจะให้ไปเรียกความเชื่อมั่นได้อย่างไร" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ[29]

หลังเหตุการณ์โจมตีโรงแรมที่ไนโรบี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการโจมตีโรงแรมดุสิตดีทูในเครือดุสิตธานีโดยกลุ่มติดอาวุธ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ประวิทย์ให้สัมภาษณ์ว่า มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มติดอาวุธโจมตีนั้นอาจเกิดจากการที่อาหารในโรงแรมอร่อย ส่งผลให้มีผู้ไม่พอใจในความคิดเห็นดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ[30]

faviconfaviconfaviconfaviconfavicon
15 sources

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ[31] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

faviconfaviconfaviconfavicon
11 sources

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยุติปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ตามมติของศาลรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นรักษาการแทน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.