Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล (เกิด พ.ศ. 2539) ชื่อเล่น มายด์ เป็นนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย หนึ่งในผู้นำของกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก แล้วเริ่มต้นการเคลื่อนไหวปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทลายเพดานการเคลื่อนไหวแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง จากการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล | |
---|---|
ภัสราวลีใน พ.ศ. 2566 | |
เกิด | พ.ศ. 2539 (อายุ 28 ปี) อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | มายด์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน |
มีชื่อเสียงจาก | หนึ่งในแกนนำยื่นจดหมายต่อเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ ในช่วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 |
ขบวนการ | คณะประชาชนปลดแอก |
ถูกกล่าวหา | ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย, ปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ |
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี บิดาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ส่วนมารดาประกอบอาชีพค้าขาย เธอศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร[1][2]
ภัสราวลีเริ่มสนใจการเมืองเมื่อ 1 ปี ให้หลังจากการรัฐประหารของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปี พ.ศ. 2557[3][4]
ภัสราวลีเล่าว่า ตนเองเป็นหญิงสาวที่รักสวยรักงาม และใช้วิธีนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสร้างพลังงานให้พร้อมลุยในแต่ละวัน และมีกำลังไปร่วมชุมนุมทางการเมือง[5] ร่วมเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง พร้อมคดีที่ติดตัว แต่อุดมการณ์ และแนวทางยังหนักแน่นแจ่มชัด[6]
หลังจาก พ.ศ. 2558 เธอมีบทบามร่วมกับเครือข่ายหลายกลุ่มของนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งกิจกรรมชุมนุม รวมไปถึงกิจกรรมเสวนาต่าง ๆ[7][8]
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจับกุมตัว ภายในร้านอาหารแห่งหนึ่ง[9] ในความผิดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม มีคดีแรกในชีวิต[10] เนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองคือคดี ‘ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน’ และได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว[11][12]
ภัสราวลีเป็นหนึ่งในแกนนำที่นำมวลชนซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "คณะราษฎร 2563" เดินจากบริเวณแยกสามย่านไปที่สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ถนนสาทร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563[13] 5 พฤศจิกายน เดินทางมาที่ สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ทุ่งมหาเมฆ ตามหมายเรียกความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116[14][15] 27 พฤศจิกายน เธอได้ฟ้องคดี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ข้อหาละเลยปฏิบัติงานต่อหน้าที่นายกรัฐมนตรี[16] ต่อมา 30 พฤศจิกายน ได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยให้มารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.บางโพ[17]
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 ภัสราวลีกล่าวว่า ในฐานะเราประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ การพูดถึงสถาบันกษัตริย์นั้น เราควรจะต้องพูดถึงได้ทั้งในแง่ของการสรรเสริญและในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์ นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยตามระบอบประชาธิปไตยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ[18][19][20] ต่อมาเดินทางมารายงานตัวตามที่อัยการนัดฟังคำสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี ซึ่งถูกแจ้งข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และยุยงปลุกปั่นฯ มาตรา 116 รวมถึงข้อหาอื่น ๆ[21][22]
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นัดฟังคำสั่งในคดีที่พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ นำสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง[23] หลังถูกดำเนินคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.โรคติดต่อ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ จากกรณีปราศรัยคาร์ม็อบ1สิงหา จ.สระบุรี ก่อนที่ต่อมา ศาลจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว[24] ต่อมาเธอเดินทางเข้ารับทราบข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในคดีชุมนุม #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 และ ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง “ฟิวส์” เยาวชนอายุ 16 ปี ก็ได้เดินทางเข้ารับทราบ 6 ข้อหา จากการร่วมชุมนุม #ม็อบ16สิงหา ทะลุฟ้าไล่ล่าทรราช[25]
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ซอย 63 พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง[26]
วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลแขวงดุสิตพิพากษายกฟ้องภัสราวลีตามข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ชี้ชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ[27][28] ต่อมาศาลจึงยกฟ้อง[29] ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[30]
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ภัสราวลีเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้ายื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด เพื่อขอให้ยุติไม่อุทธรณ์คดีที่ศาลยกฟ้อง พ.ร.ก. ฉุกเฉินกับประชาชน[31] ย้ำถึงการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองไว้และการมายื่นหนังสือต่ออัยการครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้ความเป็นธรรมยังคงอยู่กับประชาชนต่อไป[32]
วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ร่วมกิจกรรม “CarMob สระบุรีไล่ประยุทธ์” โดนข้อหาส่งเสียงดังด้วย[[เครื่องขยายเสียง][ แต่ศาลสั่งยกฟ้องคดีไป[33] เธอกล่าวว่า แม้ตอนนี้ไม่ได้มีบทบาทนำ แต่เราก็ไม่สามารถเมินเฉยต่อสิ่งที่น่ากระอักกระอ่วนในสังคมได้[34]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ภัสราวลีขึ้นปราศรัยบนเวที โดยระบุว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[35][36]
ปัจจุบันภัสราวลีได้เข้าทำงานเป็นสื่อมวลชน และมีรายการเป็นของตนเอง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.