Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2493) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลศ.พิเศษทักษิณ ชินวัตร
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | |
---|---|
พงษ์ศักดิ์ ใน พ.ศ. 2556 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม 2548 – 19 กันยายน 2549 (1 ปี 48 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
ถัดไป | ธีระ ห้าวเจริญ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ตุลาคม 2547 – 11 มีนาคม 2548 (0 ปี 157 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พินิจ จารุสมบัติ |
ถัดไป | วัฒนา เมืองสุข |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน 2546 – 6 ตุลาคม 2547 (0 ปี 332 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วัฒนา เมืองสุข |
ถัดไป | อนุทิน ชาญวีรกูล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม 2555 – 22 พฤษภาคม 2557 (1 ปี 206 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อารักษ์ ชลธาร์นนท์ |
ถัดไป | ณรงค์ชัย อัครเศรณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กันยายน พ.ศ. 2493 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ก้าวหน้า เอกภาพ ความหวังใหม่ ไทยรักไทย เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปัทมา รักตพงศ์ไพศาล |
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2493 ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนครสวรรค์ ในระดับอุดมศึกษาสำเร็จการศึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับปัทมา มีบุตร 2 คน คือ พริษฐ์ รักตพงศ์ไพศาล และ พิชญา รักตพงศ์ไพศาล
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักการเมืองที่มีความสนิทสนมกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยจุดเริ่มต้นคือการที่ พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อาสาเข้าไปเป็นนายหน้าในการเจรจาซื้อขายสนามกอล์ฟอัลไพน์[2]
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักธุรกิจที่รู้จักชื่อเล่นว่า เสี่ยเพ้ง เป็นเจ้าของกิจการหมู่บ้านเกศินีวิลล์และเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์[3]
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคปฏิวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ต่อมาเข้าร่วมงานการเมืองพรรคก้าวหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ ในปี พ.ศ. 2535 และย้ายพรรคอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ ซึ่งต่อมายุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[4] จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) [6]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในงานจัดเลี้ยงวันเกิดครบรอบ 69 ปี พงษ์ศักดิ์ได้ขึ้นเวทีประกาศต่อหน้า ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดว่า ขอยุติบทบาททางการเมืองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากอายุเยอะแล้วและได้ทำการเมืองมานานพอสมควร จึงอยากหยุดเพื่อพักผ่อน[8]
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรียกให้ไปรายงานตัวในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ห้องรับรอง อาคารอิงคยุทธบริหาร[9]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.