คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
เทวัญ ลิปตพัลลภ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
เทวัญ ลิปตพัลลภ (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2502) เป็นนักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (แพทองธาร ชินวัตร) และหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
เทวัญ ลิปตพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2502 เป็นบุตรของนายวิศว์ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ และเป็นน้องชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ สำเร็จการศึกษา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]
เทวัญ มีบุตรชาย คือ ธารณ ลิปตพัลลภ นักดนตรีและหนึ่งในสมาชิกวงลิปตา[2]
งานการเมือง
สรุป
มุมมอง
เทวัญ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 3 สมัย
ในปี 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
ในปี 2561 นายเทวัญได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[3] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 4
ต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทั่งในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 นายเทวัญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้มีการปรับสัดส่วนคณะรัฐมนตรี[4]
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน ได้แต่งตั้งเทวัญเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 แพทองธาร ชินวัตร ได้แต่งตั้งเขาให้ดำรงตำแหน่งเดิม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เทวัญ ลิปตพัลลภ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2504 –
เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads