Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองศาสตราจารย์ ดร. ลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[1] อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
รศ.ดร.ลลิตา ฤกษ์สำราญ | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | บุญชง วีสมหมาย |
ถัดไป | อภิวันท์ วิริยะชัย |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 3 เมษายน พ.ศ. 2564 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2529–2543) ไทยรักไทย (2543–2549) เพื่อชาติ (2561–2564) สร้างอนาคตไทย (2564–2566) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
ลลิตา ฤกษ์สำราญ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เป็นบุตรีของนายเซี้ยง และนางสั้ง ฤกษ์สำราญ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยนเรศวร) ปริญญาโท สาขางานวิจัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก จิตวิทยาการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลลิตา ฤกษ์สำราญ เป็น อดีตอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตำแหน่งสุดท้ายเป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ลาออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตดุสิต ในสังกัดพรรคประชากรไทย และอยู่ในวงการเมืองมาโดยตลอด ล่าสุดเป็นหนึ่งใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ ตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมืองจาก คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
ในปี 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี 2565 เธอได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.