คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล (เกิด 27 เมษายน พ.ศ. 2494) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง 9 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย และเป็นบิดาของภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สมศักดิ์ เกิดวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2494 ที่ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีชื่อเล่นว่า "หมู" จึงมักถูกเรียกว่า "ตือ" หรือ "เสี่ยตือ" ในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วย ด้านครอบครัวสมรสกับนางรวีวรรณ ปริศนานันทกุล (สกุลเดิม: ฉัตรบริรักษ์) มีบุตร-ธิดา 4 คน ได้แก่ นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง และสส.อ่างทอง เขต 2, นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง เขต 1, นายภคิน ปริศนานันทกุล อดีต สส.อ่างทอง และนางสาวธนยา ปริศนานันทกุล
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Remove ads
การเมือง
สรุป
มุมมอง
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง 9 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เคยดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ. 2540 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ. 2542
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล มีบทบาทโดดเด่นจากการทำหน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าทำหน้าที่ได้อย่างดี เป็นธรรม เป็นกลางแก่ทุกฝ่ายมติสื่มวลชนสายรัฐสภา ให้ฉายาว่า "คนดีศรีสภา" ต่อมา พ.ศ. 2551 นายสมศักดิ์ ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[1]
เมื่อ พ.ศ. 2551 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[2] ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค แต่นายสมศักดิ์ ก็ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 3[4]
เมื่อ พ.ศ. 2561 เขาได้ลาออกจากพรรคชาติไทยพัฒนา แล้วไปสมัครสมาชิกพรรคภูมิใจไทย พร้อมกับทายาท 3 คน ในปีเดียวกัน
Remove ads
คดีความ
เมื่อ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยื่นร้องต่อศาลว่านายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ศาลตัดสินให้ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท โดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี[5] ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ โดยให้ยึดบ้านที่ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มูลค่าประมาณ 16,000,000 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน[6][7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads