นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน และแบบบัญชีรายชื่อ รวม 6 สมัย อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง
นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | สุชน ชาลีเครือ |
ถัดไป | นิคม ไวยรัชพานิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482 อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง |
พรรคการเมือง | ประชาธรรม (2517–2519) ชาติไทย (2529–2539) ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
นิพนธ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรีตามลำดับ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การทำงาน
นิพนธ์ เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธรรม ในปี 2517 และเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2518[1] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2] ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2543
กระทั่งในปี 2543 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นครั้งแรก นายนิพนธ์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1[3]
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และเป็น ส.ส.สัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกด้วย
ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 45[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.