Remove ads
พรรคการเมืองไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเสรีรวมไทย (อังกฤษ: Thai Liberal Party; ชื่อย่อ: สร., TLP) พรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556[5] เป็นลำดับที่ 13/2556 โดยมีนายไพบูลย์ พึ่งทองหล่อ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
พรรคเสรีรวมไทย | |
---|---|
หัวหน้า | เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส |
รองหัวหน้า |
|
เลขาธิการ | มังกร ยนต์ตระกูล |
เหรัญญิก | วิทยา พิพัฒน์บัณฑิต |
นายทะเบียนสมาชิก | เกษม สังขพันธ์ |
โฆษก | สมชาย เลี้ยงสว่าง |
กรรมการบริหาร |
|
ปรธานยุทธศาสตร์ | เกศศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ |
คำขวัญ | รวมพลัง สร้างชาติ |
ก่อตั้ง | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 |
ที่ทำการ | 164/65 ซอยบางขุนนนท์ 24 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 |
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 46,919 คน[1] |
อุดมการณ์ | พิพัฒนาการนิยม[2] เสรีนิยม[3] ต่อต้านคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[4] |
จุดยืน | กลาง ถึง กลางขวา |
สภาผู้แทนราษฎร | 1 / 495 |
เว็บไซต์ | |
sereeruamthai.or.th |
ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556[6] คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกได้ขอลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะทางพรรคจึงเตรียมการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคโดยได้เชิญ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็นว่าที่หัวหน้าพรรค
โดยทางพรรคเสรีรวมไทยได้มีกำหนดจัดประชุมใหญ่ของพรรคครั้งแรก ในวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ เวสต์เกต ฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[7] ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายวัชรา ณ วังขนาย เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่
จากนั้นในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565 ระหว่างการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมมีมติปลด นางธนภร โสมทองแดง ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากกระทำการยักยอกทรัพย์[8]
ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรค ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่กรรมการลาออก ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายวิรัตน์ วรศสิริน เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ ต่อมานายวิรัตน์ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ทำให้พรรคได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 2 ตำแหน่งคือ รองหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายวิรัตน์ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และเลือกนายมังกร ยนต์ตระกูล ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 ให้เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[9]
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส | หัวหน้าพรรค |
2. | วิรัตน์ วรศสิริน | รองหัวหน้าพรรค |
3. | นิมิต จันทน์วิมล | รองหัวหน้าพรรค |
4. | วิศณุ ม่วงแพรสี | รองหัวหน้าพรรค |
5. | ||
6. | เพชร เอกกำลังกุล | รองหัวหน้าพรรค |
7. | มังกร ยนต์ตระกูล | เลขาธิการพรรค |
8. | วิทยา พิพัฒน์บัณฑิต | รองเลขาธิการพรรค |
9. | เกษม สังขพันธ์ | นายทะเบียนสมาชิกพรรค |
10. | สมชาย เลี้ยงสว่าง | เหรัญญิกพรรค |
11. | เกศศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ | โฆษกพรรค |
12. | เภาพงา สุทธิมณฑล | กรรมการบริหารพรรค |
13. | ปิยะศิริ นาโคศิริ | กรรมการบริหารพรรค |
14. | บรรณสรณ์ ผาแดง | กรรมการบริหารพรรค |
15. | นิพันธ์ เทียมหงษ์ | กรรมการบริหารพรรค |
16. | ภัทรพล เล่าเปี่ยม | กรรมการบริหารพรรค |
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2562 | 10 / 500 |
824,284 | 2.32% | 10 | ฝ่ายค้าน | เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส |
2566 | 1 / 500 |
347,878 | 9 | ร่วมรัฐบาล (2566-2567) | ||
ฝ่ายค้าน (2567-ปัจจุบัน) | ||||||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.