คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

กองบังคับการตำรวจน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองบังคับการตำรวจน้ำ
Remove ads

กองบังคับการตำรวจน้ำ (อังกฤษ: Thai Marine Police Division) เป็นหน่วยงานตำรวจน้ำในสังกัดของ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติตำรวจเช่นเดียวกับบนฝั่งทุกประการ และมีหน้าที่เพิ่มเติมคือการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามกฎหมายทางทะเลที่กำหนด

ข้อมูลเบื้องต้น กองบังคับการตำรวจน้ำ, อักษรย่อ ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำเพื่อนำเข้าและส่งออกเป็นหลัก ซึ่งในขณะนั้นทางการไทยขาดหน่วยงานที่เข้ามาดูแลด้านการรักษากฎหมายทางทะเล โดยในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2490 ได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ควบคุมดูแลในการรักษากฎหมายทางทะเล แต่ด้วยภารกิจที่หลากหลาย ประกอบกับกองทัพเรือเองจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนในทุก ๆ ด้าน ทำให้รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการรักษากฎหมายในขณะนั้น คือกระทรวงกลาโหม ที่กำกับดูแลกองทัพเรือ และกระทรวงมหาดไทย ที่กำกับดูแลกรมตำรวจ พิจารณาร่วมกันเห็นชอบให้จัดตั้ง กองตำรวจน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2495

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2497 กองบังคับการตำรวจน้ำ เคยตั้งอยู่บริเวณศุลกสถาน หลังจากกรมศุลกากรย้ายไปทำการที่บริเวณท่าเรือคลองเตย[1] และปี พ.ศ. 2502 ได้ย้ายไปยังที่ทำการปัจจุบัน ซึ่งบริเวณเดิมต่อจากนั้นได้เปลี่ยนเป็นที่ทำการของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก[2]

ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองบังคับการตำรวจน้ำ ตามกฎกระทรวงที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และแบ่งโครงสร้างหน่วยงานใหม่ให้กองบังคับการตำรวจน้ำ เป็นหน่วยงานส่วนหนึ่งของ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

Remove ads

เครื่องหมายประจำหน่วย

เครื่องหมายราชการประจำหน่วยงาน

กองบังคับการตำรวจน้ำ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ประกอบไปด้วย[3]

  • โล่เขน หมายถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้รูปแบบตามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • สมอ หมายถึง กองบังคับการตำรวจน้ำ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติการทั้งทางน้ำและทางทะเล โดยมีเรือตรวจการณ์เป็นอุปกรณ์หลักในการปฏิบัติหน้าที่
  • ลายพรรณพฤกษาลายใบเทศ หมายถึง การเจริญเติบโตของหน่วยงาน

ธงเจ้าพนักงานตำรวจน้ำ

Thumb
ธงเจ้าพนักงานตำรวจน้ำ

ธงเจ้าพนักงานตำรวจน้ำ ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานด้านติดกับคันธงกว้าง 1 ส่วน ผืนธงมีความยาว 3 ส่วน ช่วงต้นจากคันธง 1 ส่วน ลักษณธและสีเดียวกับธงชาติไทย ส่วนที่ 2 และ 3 ถึงปลายธงเป็นสีเลือดหมู ตรงกลางมีพระแสงดาบเขนและโล่สีเหลือง โดยจะชักธงเพื่อแสดงตนเวลาปฏิบัติหน้าที่[4]

Remove ads

หน่วยงานในสังกัด

สรุป
มุมมอง
Thumb
เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำไทยและหน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์ ระหว่างการฝึกผสม SEACAT 2018 ณ กองงบัญชาการหน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์ เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
Thumb
เจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือสหรัฐ (NSW) มองไปทางเรือของตำรวจน้ำขณะทำการฝึกในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565

กองบังคับการตำรวจน้ำ แบ่งโครงสร้างการบริหารออกเป็น 3 ส่วน 12 กองกำกับการ ประกอบไปด้วย[5]

  • ส่วนอำนวยการ
    • ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตำรวจน้ำ
  • ส่วนยุทธการทางเรือ
    • กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจน้ำ ดูแลด้านการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม
    • กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจน้ำ ดูแลด้านการปฏิบัติการใต้น้ำ
    • กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจน้ำ ดูแลด้านการปฏิบัติการทางเรือ
  • ส่วนปฏิบัติการ ดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ท้องน้ำครอบคลุม แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง อ่าวไทยตอนบน อ่าวไทยตอนล่าง และทะเลอันดามัน
    • ส่วนกลาง
      • กลุ่มงานเรือตรวจการณ์ขนาด 110 - 180 ฟุต กองบังคับการตำรวจน้ำ ประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ ระวางขนาด 110 - 180 ฟุต
    • ส่วนภูมิภาค
      • Thumb
        สถานีตำรวจน้ำ 4 กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจน้ำ บริเวณแม่น้ำท่าจีน
        กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจน้ำ (กรุงเทพมหานคร) พื้นที่รับผิดชอบ[6] ลำน้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร และชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์
      • กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจน้ำ (ชลบุรี) พื้นที่รับผิดชอบ[7] ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
      • กองกำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจน้ำ (สุราษฎร์ธานี)[8] พื้นที่รับผิดชอบ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในเขตจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช[9]
      • กองกำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจน้ำ (สงขลา) พื้นที่รับผิดชอบ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในเขตจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และทะเลสาบสงขลา[10]
      • กองกำกับการ 8 กองบังคับการตำรวจน้ำ (ภูเก็ต) พื้นที่รับผิดชอบ ชายฝั่งทะเลอันดามันในเขตจังหวัด ระนอง ภูเก็ต พังงา
      • กองกำกับการ 9 กองบังคับการตำรวจน้ำ (ตรัง) พื้นที่รับผิดชอบ ชายฝั่งทะเลอันดามันในเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง สตูล[11]
      • กองกำกับการ 10 กองบังคับการตำรวจน้ำ (มุกดาหาร) พื้นที่รับผิดชอบ ลำน้ำโขงในเขตจังหวัดนครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี[12]
      • กองกำกับการ 11 กองบังคับการตำรวจน้ำ (หนองคาย) พื้นที่รับผิดชอบ ลำน้ำโขงในเขตจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ[13]
      • กองกำกับการ 12 กองบังคับการตำรวจน้ำ (เชียงแสน) พื้นที่รับผิดชอบ ลำน้ำโขงในเขตจังหวัดเชียงราย[14]
Remove ads

เรือตรวจการณ์

สรุป
มุมมอง

สถานะประจำการ

ข้อมูลเพิ่มเติม หมายเลข, รูปภาพ ...

เรือตรวจการณ์ตั้งแต่ขนาด 60 ฟุตลงมา

Thumb
เรือตรวจการณ์ 516 เป็นเรือขนาด 50 ฟุตกำลังตรวจการณ์บริเวณปากน้ำแหลมสิงห์

จะไม่มีการตั้งชื่อประจำเรือ แต่จะใช้การเรียก เรือตำรวจน้ำ ซึ่งบางครั้งเขียนเป็นอักษรย่อภาษาไทยข้างลำเรือว่า รน. ตามด้วย หมายเลขประจำเรือ ตามขนาดเรือ และลำดับภายในชุด เช่น

Thumb
เรือตรวจการณ์ขนาด 30 ฟุต หมายเลข 317 บริเวณแม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
  • เรือตรวจการณ์ 516
  • เรือตำรวจน้ำ 525[33]
  • เรือตำรวจน้ำ 625 - 629[34]

เรือตรวจการณ์ลำน้ำ

ประกอบด้วยเรือหลากหลายขนาด ตามภารกิจในแต่ละพื้นที่[35]

  • เรือตรวจการณ์ 40 ฟุต
  • เรือตรวจการณ์ 30 ฟุต
  • เรือเพลายาว
  • เรือยาง
  • เรือท้องแบน

สถานะปลดประจำการ

  • Thumb
    เรือตรวจการณ์ 813 บุเรศผดุงกิจ ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี พ.ศ. 2547
    เรือตรวจการณ์ 813 บุเรศผดุงกิจ ตั้งชื่อขึ้นตามพระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 3 ของประเทศไทย ปลดประจำการเนื่องจากความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี พ.ศ. 2547[36] โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำเรือเสียชีวิต 1 นายในเหตุการณ์[37] ปัจจุบันส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาเพื่อนำไปจัดแสดงในอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงภัยพิบัติครั้งนั้น[38]
Remove ads

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads