Remove ads
จังหวัดในภาคเหนือในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พะเยา (ไทยถิ่นเหนือ: ᩕᨻᨿᩣ᩠ᩅ)[4] เป็นจังหวัดในภาคเหนือ บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พะยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์องค์แรกคือ พญาจอมธรรม ซึ่งเป็นราชบุตรองค์หนึ่งจากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เมืองพะยาวอีกหลายองค์ เช่น พญาเจือง วีรบุรุษแห่งเผ่าไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และพญางำเมืองซึ่งได้กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีต่อกันกับพญามังรายแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ และพญาร่วงรามคำแหงแห่งสุโขทัย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญาคำฟู
จังหวัดพะเยา | |
ชื่อภาษาไทย | |
---|---|
อักษรไทย | พะเยา |
อักษรโรมัน | Phayao |
ชื่อคำเมือง | |
อักษรธรรมล้านนา | ᩕᨻᨿᩣ᩠ᩅ |
อักษรไทย | พะเย๊า |
จังหวัดพะเยา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Phayao |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | รัฐพล นราดิศร[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 6,335.060 ตร.กม. (2,445.980 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 34 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[3] | |
• ทั้งหมด | 458,287 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 58 |
• ความหนาแน่น | 72.34 คน/ตร.กม. (187.4 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 65 |
รหัส ISO 3166 | TH-56 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | สารภี |
• ดอกไม้ | สารภี |
• สัตว์น้ำ | ปลาบึก |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | หมู่ที่ 11 ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000 |
• โทรศัพท์ | 0 5444 9599 |
• โทรสาร | 0 5444 9588 |
เว็บไซต์ | http://www.phayao.go.th/ |
เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพะเยาถูกตั้งขึ้นใหม่พร้อมเมืองเชียงรายและเมืองงาวเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านต่อตีกับกองทัพพม่าที่ตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน โดยให้เมืองพะเยาขึ้นตรงต่อ นครลำปาง (พื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยาปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอภูซางขึ้นตรงต่อนครน่าน) และในท้ายที่สุดก่อนที่พะเยาจะถูกยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด พะเยาอยู่ใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย
จังหวัดพะเยาจัดตั้งเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 โดยแยกออกจากจังหวัดเชียงราย[5]
จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300–1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอแม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม
จังหวัดพะเยาแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู คือ
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | จำนวนปี | |
---|---|---|---|---|
1 | นายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย | 28 ส.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2524 | 4 ปี 1 เดือน | |
2 | นายอรุณ รุจิกัณหะ | 1 ต.ค. 2524 - 30 ก.ย. 2526 | 2 ปี | |
3 | นายสุดจิตร คอวนิช | 1 ต.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2530 | 4 ปี | |
4 | นายศักดา ลาภเจริญ | 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2532 | 2 ปี | |
5 | นายทองคำ เขื่อนทา | 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2533 | 1 ปี | |
6 | นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ | 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2536 | 3 ปี | |
7 | นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ | 5 ต.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2539 | 3 ปี | |
8 | นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา | 1 ต.ค. 2539 - 30 ก.ย. 2540 | 1 ปี | |
9 | นายกำพล วรพิทยุต | 20 ต.ค. 2540 - 29 ก.พ. 2543 | 2 ปี 5 เดือน | |
10 | นายสันต์ ภมรบุตร | 1 มี.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2543 | 7 เดือน | |
11 | นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ | 1 ต.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2545 | 2 ปี | |
12 | นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง | 1 ต.ค. 2545 - 30 ก.ย. 2546 | 1 ปี | |
13 | นายบวร รัตนประสิทธิ์ | 1 ต.ค. 2546 - 1 ธ.ค. 2548 | 2 ปี 2 เดือน | |
14 | นายวิทยา ปิณฑะแพทย์ | 2 ธ.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2549 | 10 เดือน | |
15 | นายธนเษก อัศวานุวัตร | 13 พ.ย. 2549 - 5 พ.ค. 2551 | 1 ปี 6 เดือน | |
16 | นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช | 6 พ.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552 | 1 ปี 5 เดือน | |
17 | นายเชิดศักดิ์ ชูศรี | 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553 | 1 ปี | |
18 | นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ | 1 ต.ค. 2553 - 27 พ.ย. 2554 | 1 ปี 2 เดือน | |
19 | นายไมตรี อินทุสุต | 28 พ.ย. 2554 - 7 ต.ค. 2555 | 10 เดือน | |
20 | นายชูชาติ กีฬาแปง | 8 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2558 | 3 ปี | |
21 | นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ | 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559 | 1 ปี | |
22 | นายณรงค์ศักดิ์ เฉลิมเกียรติ | 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560 | 1 ปี | |
23 | นายประจญ ปรัชญ์สกุล | 1 ต.ค. 2560 - 29 มิ.ย. 2561 | 9 เดือน | |
24 | นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร | 29 มิ.ย. 2561 - 30 ก.ย. 2562 | 1 ปี 3 เดือน | |
25 | นายกมล เชียงวงค์ | 1 ต.ค. 2562 - 12 ก.พ. 2564 | 1 ปี 4 เดือน | |
26 | นายโชคดี อมรวัฒน์ | 25 พ.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2564 | 4 เดือน | |
27 | นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ | 15 ธ.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2565 | 10 เดือน | |
28 | ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร | 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566 | 1 ปี | |
29 | นายรัฐพล นราดิศร | 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน |
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 68 ตำบล 779 หมู่บ้าน 2 เทศบาลเมือง 33 เทศบาลตำบล 36 องค์การบริหารส่วนตำบล
อำเภอจุน
อำเภอเชียงคำ
|
อำเภอเชียงม่วน
อำเภอดอกคำใต้
อำเภอปง
|
อำเภอแม่ใจ
อำเภอภูซาง
อำเภอภูกามยาว
|
โดยรถยนต์สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เช่น
บริษัทขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2
พะเยา-ภาคกลาง
· สาย 662 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
· สาย 663 นครสวรรค์-เชียงราย (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ คิงส์ด้อมทัวร์
พะเยา-ภาคใต้
· สาย 780 ภูเก็ต-เชียงราย (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-หัวหิน-ชะอำ-เพชรบุรี-อยุธยา-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 877 แม่สาย-ด่านนอก (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-ทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่-ด่านนอก) ปิยะชัยพัฒนา จำกัด
พะเยา-ภาคตะวันออก
· สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
· สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (สายเก่า-รถด่วน) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
พะเยา-ภาคอีสาน
· สาย 661 เชียงราย-นครพนม (นครพนม-สกลนคร-อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์
· สาย 633 ขอนแก่น-เชียงราย (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์
· สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์
· สาย 841 บึงกาฬ-แม่สาย (บีงกาฬ-หนองคาย-อุดรธานี-ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
. สาย 587 อุบลราชธานี-เชียงราย (อุบลฯ-ศีรษะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์-ชัยภูมิ-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด
พะเยา-ภาคเหนือ
· สาย 671 เชียงใหม่-เชียงของ (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ-เทิง-เชียงของ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 198 เชียงใหม่-พะเยา (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 113 เชียงใหม่-น่าน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-ปง-เชียงม่วน-น่าน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 148 เชียงใหม่-เชียงราย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 149 เชียงใหม่-แม่สาย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 150 เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ (ข) (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-เชียงแสน-สามเหลี่ยมทองคำ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 146 ลำปาง-เชียงราย (ลำปาง-งาว-พะเยา-แม่ใจ-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 2160 พะเยา-เชียงคำ (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ) บริษัท ดอกคำใต้เดินรถ จำกัด
· สาย 197 พะเยา-ปง (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง) บริษัท อารยะเดินรถ จำกัด
· สาย 612 พะเยา-น่าน (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง-เชียงม่วน-บ้านหลวง-น่าน) บริษัท พะเยาขนส่ง จำกัด
· สาย 679 เชียงราย-จุน (เชียงราย-เทิง-ป่าแดด-จุน) บริษัท สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด
· สาย 620 เชียงราย-เชียงคำ (เชียงราย-เทิง-เชียงคำ) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด
· สาย 686 เชียงราย-เชียงคำ (เชียงราย-แม่ลอยไร่-ร่องแมด-เชียงคำ) บริษัท บุญณัฐเดินรถ จำกัด
· สาย 621 เชียงราย-พะเยา (เชียงราย-พาน-แม่ใจ-พะเยา) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย และ พะเยาขนส่ง จำกัด
· สาย 144 เชียงราย-แพร่ (เชียงราย-พาน-พะเยา-แพร่) บริษัท แพร่ยานยนต์ขนส่ง (หนานคำทัวร์) จำกัด
· สาย 672 แม่สาย-แม่สอด (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-งาว-ลำปาง-เถิน-ตาก-แม่สอด) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
· สาย 1131 เชียงใหม่-เชียงม่วน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง-เชียงม่วน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
พะเยา-กรุงเทพฯ
ทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (กำลังก่อสร้าง)
|
|
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัดพะเยา ได้แก่
|
|
|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.