Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นหลักการถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้ในสำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาล และป้ายชื่อถนนต่าง ๆ ในประเทศไทย รูปแบบใหม่ประกาศใช้เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2542
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศได้เข้ามาทำการค้าขายกับราชสำนัก ซึ่งชาวต่างชาติเหล่านี้ได้ทำการถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน (transpose) โดยอาศัยการออกเสียงในภาษาไทยและถ่ายเสียงดังกล่าวลงเป็นอักษรโรมันตามหลักเกณฑ์ไวยากรณ์ของภาษาตนเอง ดังนั้น การถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมันในสมัยนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ซึ่งทำให้การบันทึกชื่อสถานที่ต่าง ๆ หรือคำศัพท์และประโยคใช้วิธีแตกต่างกันไป
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้ถ่ายเสียงคำว่า สยาม (Sião) เมืองไทย (Muantai) อยุธยา (Hudia) แม่น้ำ[เจ้าพระยา] (Meinão) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ได้เขียนจดหมายเหตุลาลูแบร์ (A new historical relation of the Kingdom of Siam) โดยถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน โดยยกตัวอย่างประโยคทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น กินแล้วหรือ (kin lêou reü?) เมื่อท่านมาเราได้กินสำเร็จแล้ว (meüà tân mâ, râo dáï kin sam-red lêou) รวมถึงคำศัพท์ทั่วไป เช่น สับปะรด (saparot) กล้วย (cloüey) ขนุน (ca-noun) เป็นต้น[1]
เมื่อปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทความเรื่อง The Romanisation of Siamese Words ลงในวารสารสยามสมาคม (Journal of the Siam Society) ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์[2] โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
พยัญชนะ | สระ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเขียนชื่อไทยเป็นอักษรโรมัน โดยมีเนื้อความว่า
โดยเหตุที่ข้าราชการหรือพ่อค้าไทยที่มีความจำเปนต้องติดต่อกับชาวต่างประเทส อาดต้องเขียนชื่อและนามสกุลของตนด้วยอักสรโรมันเพื่อประโยชน์แก่การติดต่อเช่นนั้น ปรากดว่าบางคนได้บิดผันวิธีเขียนไห้ผู้อ่านรู้สึกว่าไม่ไช่คนไทย การกะทำเช่นนั้นไม่เหมาะสมแก่การรักสาวัธนธัมของชาติ
คนะรัถมนตรีจึงลงมติเปนเอกฉันท์ ไห้ประกาสว่า การไช้อักสรโรมันเขียนชื่อและนามสกุลนั้น จะต้องเขียนไห้อ่านได้สำเนียงตรงกับนามสกุลไนภาสาไทยเสมอ จะไปบิดผันหรือตัดทอนเปลี่ยนแก้ไห้กลายเปนชื่อต่างชาติโดยไม่ตรงกับสำเนียงไทยไม่ได้เปนอันขาด
ประกาส นะ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๘๕
จอมพล ป. พิบูลสงคราม[4]
— ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการเขียนชื่อไทยเปนอักสรโรมัน
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเขียนชื่อบุคคลเป็นอักษรโรมัน โดยมีเนื้อความว่า
ตามประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 6 มีนาคม 2482 ซึ่งประกาสไว้ว่า ในการเขียนชื่อต่าง ๆ เปนอักสรโรมัน ไห้ไช้ตามแบบทั่วไป ที่ราชบันดิดตยสถานประกาสไว้ไนวันเดียวกันนั้น เว้นแต่ชื่อบุคคลซึ่งได้เขียนไว้เปนหย่างอื่น ถ้าจะเปลี่ยนการเขียนชื่อเปนอักสรโรมันไม่ได้สดวก ก็ไห้คงเขียนตามเดิมได้นั้น
บัดนี้ ได้มีประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2485 ความว่า การไช้อักสรโรมันเขียนชื่อและนามสกุล จะต้องเขียนไห้อ่านได้สำเนียงตรงกับนามสกุลไนภาสาไทยเสมอ ซึ่งเปนวิธีถอนอักสรตามแบบทั่วไปของราชบันดิดตยสถานแล้ว
คนะรัถมนตรีจึงได้ลงมติเปนเอกฉันท์ไห้ประกาสว่า การเขียนชื่อบุคคลเปนอักสรโรมัน ไห้ไช้วิธีถอดอักสรตามแบบทั่วไปซึ่งราชบันดิดตยสถานได้ประกาสไว้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2482 ทุกกรนีไป
ประกาส นะ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2485
จอมพล ป. พิบูลสงคราม[5]
— ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการเขียนชื่อบุคคลเปนอักสรโรมัน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.