คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ถนนพระรามที่ 1
ถนนในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ถนนพระรามที่ 1 (อักษรโรมัน: Thanon Rama I) เป็นถนนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) เข้าสู่แขวงรองเมือง ข้ามทางรถไฟจากสถานีกรุงเทพ ตัดกับถนนพระรามที่ 6 (แยกพงษ์พระราม) ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช ข้ามคลองสวนหลวง และตัดกับถนนบรรทัดทอง (แยกเจริญผล) เข้าสู่แขวงวังใหม่ ผ่านกรีฑาสถานแห่งชาติ ตัดกับถนนพญาไท (แยกปทุมวัน) เข้าสู่แขวงปทุมวัน ผ่านย่านสยาม ตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (แยกเฉลิมเผ่า) ผ่านวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ผ่านเซ็นทรัลเวิลด์ และไปสิ้นสุดที่ถนนราชดำริ บริเวณย่านราชประสงค์ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องออกไปคือถนนเพลินจิต
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
Remove ads

Remove ads
ประวัติ
ถนนพระรามที่ 1 เดิมชื่อ "ถนนปทุมวัน" สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนปทุมวัน ตั้งแต่สะพานยศเส (สะพานกษัตริย์ศึก) ถึงถนนราชดำริ เป็น "ถนนพระรามที่ 1" เพราะถนนสายนี้เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในสมัยธนบุรีใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินกลับจากราชการที่เขมรเข้ามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยผ่านเส้นทางถนนพระรามที่ 1 ผ่านจุดที่เป็นสะพานยศเสซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานกษัตริย์ศึก และได้ทรงพักทำพิธีสระสนานที่วัดสะแก ซึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็นวัดสระเกศ
Remove ads
รายชื่อทางแยก
Remove ads
กายภาพ
- ความยาว 2,826 เมตร จากสะพานกษัตริย์ศึก-ถนนราชดำริ
- เขตถนน 24.5-29 เมตร
- ผิวจราจร 15.5-21.5 เมตร แบบแอสฟัลต์
- จำนวนช่องจราจร 4 ช่อง (สะพานกษัตริย์ศึก) 5 ช่อง (เชิงสะพานกษัตริย์ศึกถึงแยกปทุมวัน และบริเวณสถานีสยาม) และ 6 ช่อง (แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ ยกเว้นบริเวณด้านใต้ของสถานีสยาม)
- ทางเท้า ด้านซ้าย กว้าง 3.5-6 เมตร ด้านขวากว้าง 5 เมตร[1]
- เกาะกลางถนน เป็นเส้นทางยกระดับของรถไฟฟ้าบีทีเอส ตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติของสายสีลม ถึงสี่แยกราชประสงค์ โดยถนนพระรามที่ 1 เป็นที่ตั้งของสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีสยาม ซึ่งเป็นสถานีร่วมของสายสีลมและสายสุขุมวิท
สถานที่สำคัญ
หน่วยงานราชการ , สถานที่สำคัญ
- กระทรวงพลังงาน
- สะพานกษัตริย์ศึก หรือ สะพานพระราม 1
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สถาบันการศึกษา
- โรงเรียนวัดชัยมงคล
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสนสถาน
- วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม)
- วัดชัยมงคล (วัดช่างแสง)
- วัดปทุมวนาราม
ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า
- โลตัส สาขาพระราม 1
- สเตเดียมวัน
- ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
- ศูนย์การค้าสยาม ดิสคัฟเวอรี่
- ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สยามสแควร์
- ศูนย์การค้าสยาม เซ็นเตอร์
- เซ็นเตอร์พอยท์ สยามสแควร์
- ศูนย์การค้าสยามสแควร์
- ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
- ศูนย์การค้าสยาม พารากอน
- ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
อาคารสำนักงาน
- อาคารศรีจุลทรัพย์
- เซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิสเศส
พิพิธภัณฑ์/หอศิลป
สนามกีฬา
- กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
โรงพยาบาล
หมายเหตุ : เรียงตามจากแยกกษัตริย์ศึก-แยกราชประสงค์
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads