Loading AI tools
ศูนย์การค้าบริเวณย่านสยามสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี เป็นศูนย์การค้าในประเทศไทย บริการงานโดยสยามพิวรรธน์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม โดยสยามดิสคัฟเวอรีตั้งอยู่ในย่านสยาม ติดกับสี่แยกปทุมวัน และมีทางเดินเชื่อมเข้าสู่สยามเซ็นเตอร์ทางฝั่งตะวันออก รวมถึงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และสยามสแควร์ ทางฝั่งตะวันตกผ่านสกายวอล์กวันสยาม
ที่ตั้ง | 194 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
---|---|
เปิดให้บริการ | 8 เมษายน พ.ศ. 2540 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (ปรับปรุงครั้งใหญ่) |
ผู้บริหารงาน | บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 40,000 ตารางเมตร |
จำนวนชั้น | 8 ชั้น |
ขนส่งมวลชน | สยาม สยาม, สนามกีฬาแห่งชาติ |
เว็บไซต์ | www |
สยามดิสคัฟเวอรีสร้างขึ้นบนที่ดินลานเบียร์คลอสเตอร์เดิม ซึ่งเป็นพบปะของวัยรุ่นในช่วงราวปี พ.ศ. 2522-2540[1][2][3][4] ก่อนภายหลังจะถูกวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ธนาคารศรีนคร รวมถึงเบียร์คลอสเตอร์ไทยที่นำเข้าไทย ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลเตชะไพบูลย์ ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด และสิทธิดังกล่าวก็ได้ถูกบุญรอด บริวเวอรี่คู่แข่งเข้าควบคุมธุรกิจแทนที่[5][6] สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2540 ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ได้รับการออกแบบสำนักงานออกแบบ โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด[7] เป็นศูนย์การค้าภายใต้แนวคิด "Lifestyle shopping" ในแต่ละชั้นจะนำเสนอสินค้าประเภทเดียวหรือแนวคิดเดียว (One Floor One Concept) ซึ่งนำต้นแบบมาจากเอ็มโพเรียม และต่อมาสยามพารากอนได้นำรูปแบบนี้มาใช้ในการบริหารศูนย์การค้าด้วย
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2558 มีลูกค้าวันละ 80,000 คน[8] และในปีเดียวกันนี้ สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ และบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[9][10] สยามพิวรรธน์จึงได้รับเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท ในการปรับปรุงศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรีให้มีความแตกต่างจากศูนย์การค้าอื่น ๆ ในย่านเดียวกัน โดยมีแนวความคิดใหม่คือ "สนามทดลองความคิด" (Experiment Playground) ได้รับการออกแบบปรับปรุงโดยโอกิ ซาโตะ (Oki Sato) จากสำนักงานออกแบบเนนโดะ (Nendo) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 จนแล้วเสร็จและได้เปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[11][12]
สยามดิสคัฟเวอรี เป็นศูนย์การค้าอาคารเดี่ยว ความสูง 8 ชั้น พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้[13]
โดยมีทางเชื่อมไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ, สยามสแควร์, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และอาคารสยามปทุมวันเฮาส์ ที่ชั้นเอ็ม และชั้น 1 นอกจากนี้ยังมีทางเชื่อมไปสยามเซ็นเตอร์ที่ชั้น 2 อีกด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.