Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอยซ์ ทีวี (อังกฤษ: Voice TV) เป็นอดีตสถานีโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ในประเทศไทย ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมและเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ก่อนหน้านี้เป็นผู้รับใบอนุญาตออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ออกอากาศทางช่องหมายเลข 21, อินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ www.voicetv.co.thและแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (smartphone)[2] เริ่มทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก ผ่านระบบดาวเทียมดีทีวี ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในระบบซีแบนด์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552[3], เปิดตัวเว็บไซต์วอยซ์ทีวี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[4], เริ่มแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[5], เริ่มออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมเคยูแบนด์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[6] และเริ่มออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557[7] โดยประมูลด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.031 ในปี พ.ศ. 2561 และต่ำสุด 0.004 ในปี พ.ศ. 2557[8]
ประเทศ | ไทย |
---|---|
เครือข่าย |
|
คำขวัญ |
|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 197 อาคารบีบีดี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576i (16:9 คมชัดปกติ) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด |
บุคลากรหลัก |
|
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 |
ยุติออกอากาศ | วอยซ์ทีวี 21: 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 152 วัน) เฉพาะคู่ขนานทีวีดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล: 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (3 ปี 272 วัน) [1] โทรทัศน์: 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (14 ปี 322 วัน) ออนไลน์: 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (14 ปี 336 วัน) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www.voicetv.co.th |
ออกอากาศ | |
เคเบิลทีวี | |
ไทย | เคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ |
ทีวีดาวเทียม | |
ไทยคม 6 C-Band | 3840 H 30000 |
ไทยคม 6 KU-Band | 12344 V 45000 |
PSI GMMZ Infosat Ideasat Thaisat KSTV | ช่อง 51 |
สื่อสตรีมมิง | |
VoiceTV | ชมรายการสด |
Twitch | ชมรายการสด |
AIS Play | ช่อง 51 |
True ID TV | ช่อง 51 |
วอยซ์ทีวี เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลก รายงานเจาะลึกประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ด้วยมุมมองที่แตกต่างจากสื่อมวลชนกระแสหลัก รวมทั้งสาระบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ ด้วยกระบวนการผลิตคุณภาพสูง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ หลากหลาย แต่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ของคนทำงานในเมือง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และยังนำเสนอผ่านสื่อเครือข่ายสังคมทุกรูปแบบคือ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และยูทูบ[2]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย, ทรงศักดิ์ เปรมสุข อดีตผู้บริหารไอทีวี เป็นกรรมการที่ปรึกษา[9] เป็นกรรมการผู้อำนวยการ, พานทองแท้ ชินวัตร เป็นกรรมการรองผู้อำนวยการ และพินทองทา คุณากรวงศ์ เป็นกรรมการบริษัท[4]
บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ในนามบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ด้วยทุนจำนวน 300 ล้านบาท ประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ เพื่อนำออกอากาศเป็นการทั่วไป เดิมตั้งอยู่เลขที่ 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร (อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารเอไอเอสทาวเวอร์ 1) ประกอบด้วยกรรมการบริษัท 4 คนคือ พานทองแท้ ชินวัตร, พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์, ทรงศักดิ์ เปรมสุข, เฉลิม แผลงศร และมีผู้ถือหุ้นจำนวน 8 รายคือ บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชัน จำกัด (ร้อยละ 56.00), พานทองแท้ ชินวัตร (ร้อยละ 36.96), พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ (ร้อยละ 7.04) และบุคคลอื่นๆ รวมอีก 5 หุ้น มีผลงานผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดออกอากาศทางไอทีวี เช่น I Style, ใครรักใครหัวใจตรงกัน,ปลาเก๋าราดพริก,บางกอกรามา ฯลฯ รวมถึงเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น ฮิคารุเซียนโกะ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกด้วย[10] เปลี่ยนชื่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นบริษัท วอยซ์สเตชัน จำกัด, เปลี่ยนครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นชื่อปัจจุบัน[4]
ต่อมาได้เข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน และสาระ ได้ช่องหมายเลข 21 และเริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[7]
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติอนุมัติการคืนใบอนุญาตวอยซ์ทีวี ของบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด และให้ยุติการออกอากาศเฉพาะทีวีดิจิทัลช่อง 21 ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562[11] จากนั้นวอยซ์ทีวีจึงแพร่ภาพออกอากาศบนดาวเทียม ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป ในหลาย ๆ ช่องทางของทีวีดาวเทียมสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยเช่าสัญญาณช่อง V2H2 ในระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง 51 ของเอ็มวีทีวี ในการออกอากาศ[12][13][14][15][16]
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 วอยซ์ทีวีได้ประกาศปิดกิจการ และยุติการออกอากาศทุกช่องทาง โดยจะเลิกจ้างพร้อมทั้งจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานฝ่ายต่าง ๆ ทั้งหมด จำนวนมากกว่า 100 คน และทยอยยุติการออกอากาศรายการต่าง ๆ ภายในช่วงเดือนพฤษภาคม[17] โดยได้ปิดสถานีทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 และยุติการออกอากาศในช่องทางออนไลน์ลงอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[18] ส่วนอาคารสถานีนั้น พรรคเพื่อไทยได้นำไปใช้เป็นที่ทำการพรรคตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน[19][20]
รายชื่อ | หมายเหตุ |
---|---|
กรกฎ พัลลภรักษา | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
กัณตพล อนุวรรณ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
โกสินทร์ อัตตโนรักษ์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ขัตติยา สวัสดิผล | ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย |
จอม เพชรประดับ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
จิตต์สุภา ฉิน | ปัจจุบันทำยูทูปช่อง Spin9 และพิธีกรอิสระ |
ฉายฉาน คำคม | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ชยพล มาลานิยม | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ชยากรณ์ กำโชค | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ชลวิศว์ วงษ์ศรีวอ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ชัยรัตน์ ถมยา | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ชาญชัย ประทีปวัฒนวงศ์ | ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 |
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข | ปัจจุบันอยู่NBT |
โชค โยกเก่ง | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
โชติรส นาคสุทธิ์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ฐิติพงษ์ ด้วงคง | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ณัฏฐา มหัทธนา | ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ |
ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ดวงพร มะโน่แจ่ม | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ตวงพร อัศววิไล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
อินทิรา เจริญปุระ | ปัจจุบันเปิดร้านอาหารและกาแฟ Coffee Tree |
ทวีศักดิ์ เกิดโพธิ์คา | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ทัตตพันธุ์ สว่างจันทร์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ธนาพล เรามานะชัย | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ธีรัตถ์ รัตนเสวี | ปัจจุบันอยู่NBT |
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ | ปัจจุบันอยู่เดอะสแตนดาร์ด และสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ |
นพเก้า คงสุวรรณ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
นันท์นภัส เอี้ยวสกุล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
นาตาเลีย เพลียแคม | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
นิติทัศน์ ถาวรกูล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
นิติธร สุรบัณฑิตย์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
เนื้อแพร พงษ์สุวรรณ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ประสิทธิ์ชัย คำบาง | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ปรีชา พงษ์โมลา | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ปิยบุตร แสงกนกกุล | ปัจจุบันสังกัด คณะก้าวหน้า |
พงษ์เกษม สัตยาประเสริฐ | ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี และพิธีกรอิสระ |
พรรณิการ์ วานิช | ปัจจุบันสังกัด คณะก้าวหน้า |
พัชยา มหัทธโนธรรม | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
พัสวี ฐิติพรวัฒนกุล | ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 |
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์ | ปัจจุบันอยู่โมโน 29 และพิธีกรอิสระ |
ภคมน หนุนอนันต์ | ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล |
ภูริวัจน์ อภัยภูเบศร์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ภูวนาท คุนผลิน | ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ |
มนทกานติ รังสิพราหมณกุล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
มุทิตา เชื้อชั่ง | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ยิ่งศิวัช ยมลยง | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ร่มเกล้า อมาตยกุล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
รุ่งตะวัน ชัยหา | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ลักขณา ปันวิชัย | ปัจจุบันอยู่NBT |
ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ (ชื่อเดิม อรุณี กาสยานนท์) |
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย |
วณัฐย์ พุฒนาค | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
วรวัฒน์ ฉิมคล้าย | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
วันรัก สุวรรณวัฒนา | ปัจจุบันอยู่NBT |
วิภา ปิ่นแก้ว | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
วิโรจน์ อาลี | ปัจจุบันอยู่NBT |
วิลาสินี แวน ฮาเรน | ปัจจุบันอยู่ เนชั่นทีวี |
วิศรุต บุญยา | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
วีรนันต์ กัณหา | ปัจจุบันอยู่NBT |
วีรภัทร คันธะ | ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล |
วีรวินทร์ ศรีโหมด | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
ศศิพงศ์ ชาติพจน์ | ปัจจุบันอยู่ NBT |
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ | ปัจจุบันอยู่มติชน และสื่อมวลชนและพิธีกรอิสระ |
สิรภพ อัตโตโห | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
สุชาณี รุ่งเหมือนพร | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
สุชาทิพ มั่นสินธร (สกุลเดิม: จิรายุนนท์) |
ปัจจุบันอยู่ททบ.5 เอชดี และพิธีกรอิสระ |
สุทธิพร บุญช่วย | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
สุบงกช สุขแก้ว | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
สุรเดช อภัยวงศ์ | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
สุรนันทน์ เวชชาชีวะ | ปัจจุบันเป็นสมาชิก พรรคสร้างอนาคตไทย |
นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ |
สุลักษณ์ หลำอุบล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
อดิศร เพียงเกษ | ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย |
อธึกกิต แสวงสุข | ปัจจุบันอยู่มติชน และสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ |
อรรถ บุญนาค | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
อรอินทร์ วนโกสุม | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
อัษนัย ปัญญามัง | ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว |
เอกวรัญญู อัมระปาล | ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และโฆษกกรุงเทพมหานคร |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.