Remove ads
นักเขียนและพิธีกรชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลักขณา ปันวิชัย ชื่อเล่น แขก เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักเขียนที่เป็นรู้จักในฐานะนักเขียนคอลัมน์เรื่อง "กระทู้ดอกทอง" และพิธีกรในสถานีวอยซ์ทีวี
ลักขณา ปันวิชัย | |
---|---|
คำ ผกา ใน พ.ศ. 2562 คำ ผกา ใน พ.ศ. 2562 | |
เกิด | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2515 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
นามปากกา |
|
อาชีพ | นักเขียน, พิธีกร |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | ปริญญาโท |
จบจาก | มหาวิทยาลัยเกียวโต |
แนว | สะท้อนสังคม |
ผลงานที่สำคัญ | กระทู้ดอกทอง |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน |
ในอดีตได้ทำงานเป็น ครู นักข่าว คอลัมนิสต์ และ ล่าม เคยถ่ายภาพเปลือยให้แก่นิตยสาร GM Plus[1] และถ่ายภาพเปลือยตัวเองเพื่อแสดงความเห็นในคดีระหว่างพนักงานอัยการ กับอำพล ตั้งนพกุล[2]
ในขณะที่เป็นนักเขียนเธอได้มีนามปากกาหลายชื่อ ได้แก่ "คำ ผกา", "ฮิมิโตะ ณ เกียวโต" และ "คำปัน ณ ปันนา"
ลักขณา ปันวิชัย มีชื่อเล่นว่า "แขก" เกิดและโตที่บ้านสันคะยอม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย ต่อมาได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านประวัติศาสตร์จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากจึงได้ทำงานเป็นนักข่าวของอสมท[3]และครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย ก่อนที่จะได้รับทุนมมบูโชไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในคณะ Graduate School of Asian and African Area Studies (ASAFAS) ภายหลังจบปริญญาโทในด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Studies) เธอได้วางแผนทำดุษฎีนิพนธ์ในระดับปริญญาเอกในหัวข้อสตรีนิยม แต่ได้ยกเลิกการเรียนปริญญาเอก เนื่องจากมีเหตุผลส่วนตัวบางประการ[4]
ในช่วง พ.ศ. 2553 เธอได้ออกหนังสือสนับสนุนทางการเมืองกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ลักขณาเป็นนักเขียนที่มีแนวคิดร่วมสมัย โดยเฉพาะมุมมองที่ถนัดทางด้านสตรีนิยม มีสไตล์การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์และก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะข้อสงสัยต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับชนบทของเธอ ผลงานของเธอที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในมติชนสุดสัปดาห์ ในคอลัมน์ชื่อ "กระทู้ดอกทอง" โดยใช้นามปากกาว่า "คำ ผกา"[5] และคอลัมน์ "จดหมายจากเกียวโต" โดยใช้นามปากกา "ฮิมิโตะ ณ เกียวโต" ซึ่งได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มแล้ว
ลักขณาเขียนบทความประจำให้แก่นิตยสารหลายเล่ม เช่น ดิฉัน ("คลุกข้าว-ซาวเกลือ"), มติชนสุดสัปดาห์, อ่าน ("หล่อนอ่าน"), VOLUME, HUG ("ผู้หญิงขั้วบวก") ฯลฯ และยังมีผลงานพ็อกเก็ตบุครวมบทความต่าง ๆ ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินรายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ร่วมกับ อรรถ บุนนาค ซึ่งเป็นรายการที่วิพากษ์วิจารณ์ประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นที่สนใจของสังคม (ต่อมาใน พ.ศ. 2558 รายการคิดเล่นเห็นต่างได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง โดยเปลี่ยนผู้ดำเนินรายการร่วม แต่คำผกายังคงเป็นผู้ดำเนินรายการเช่นเดิม)และยังเป็นผู้ดำเนินรายการดีว่าคาเฟ่[6] ร่วมกับ วันรัก สุวรรณวัฒนา มนทกานติ รังสิพราหมณกุล จิตต์สุภา ฉิน อินทิรา เจริญปุระ อรรถ บุนนาค กรกฎ พัลลภรักษา และ พรรณิการ์ วานิช ซึ่งเป็นรายการผู้หญิงที่เป็นการรวบรวมเนื้อหาสาระและบันเทิงในมุมมองของผู้หญิง มีการวิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และบันเทิงทั้งในและต่างประเทศ โดยรายการดังกล่าวออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ต่อมาเข้าเป็นพิธีกรในรายการ ทูไนท์ไทยแลนด์
ในช่วงต้น พ.ศ. 2558 ก่อนที่จะแยกไปตั้งรายการของตัวเองในชื่อ อินเฮอร์วิว ออกอากาศในช่วงค่ำ จนกระทั่งสถานีปรับลดรายการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 (ปัจจุบันออกทางออนไลน์ช่องยูทูบ วอยซ์ทีวี โดยใช้ชื่อว่า "อินเฮอร์อายส์" โดยมีผู้ดำเนินรายการสลับกัน) ลักขณากลับเข้าร่วมเป็นพิธีกรในทูไนท์ไทยแลนด์อีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2561 เป็นพิธีกรในคลิปสั้นทางเพจ Voice TV 21 ชื่อ "คำเมือง กับ คำผกา" นำเสนอคำศัพท์ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือประกอบกับการนำเสนอบริบทเหตุการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจ, ปี พ.ศ. 2564 ได้จัดรายการ "แซ่มลื้ม" ซึ่งเป็นรายการสดที่เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ข่าวโดยนำเสนอโดยใช้ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือเป็นหลัก (ซึ่งต่อมา วอยซ์ทีวีได้ต่อยอดชื่อรายการดังกล่าวโดยนำไปใช้เป็นชื่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกคางกุ้งที่วอยซ์ทีวีเป็นผู้จัดจำหน่ายผ่านช่องทางตลาดออนไลน์)
ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือใช้คำพูดแรง ๆ และวิจารณ์ทั้งรัฐบาล ตลอดจนบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีจุดยืนสนับสนุนรัฐบาลแบบตรงไปตรงมาพูดจาฉะฉาน กล้าถามตรง ๆ ทำให้เธอได้รับความนิยมมากในหมู่ราษฎรในช่วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2564 เป็นพิธีกรในช่องยูทูบ "โค๊ชแขก" (Coach Khaek) และพิธีกรรับเชิญช่องยูทูบ "Daily Topics" ในเครือข่ายทีวีออนไลน์ "สโป๊กดาร์กทีวี" (ปัจจุบัน ได้ยุติ[7]การทำงานร่วมกันแล้ว)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.