เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
ศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: MBK Center) เดิมชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: Mahbunkhrong Center) เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าเป็นเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ และ ดำเนินงานโดยบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในเป็นบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของสี่แยกปทุมวัน ในย่านสยาม มีพื้นที่ใช้ทั้งหมด 270,685.57 ตารางเมตร ซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นพื้นที่เช่าค้าขาย จำนวนกว่า 2,500 ร้านค้า โดยมีสินค้าและบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของประเทศไทยที่มีศูนย์อาหารฟู้ดคอร์ท[3]
MBK Center | |
ภาพภายนอกของศูนย์การค้าในปี 2566 | |
ที่อยู่ | 444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
---|---|
เปิดให้บริการ | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 (ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์) 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (ไฟไหม้) (ปรับปรุงครั้งแรก) พ.ศ. 2542 (ปรับปรุงครั้งที่ 2) 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์) พ.ศ. 2559 (ปรับปรุงครั้งที่ 3) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (ดอง ดอง ดองกิ) |
ชื่อเดิม | ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) จุฬาคอมเพล็กซ์ (ชื่อโครงการในช่วงก่อสร้างอาคาร) |
ผู้พัฒนา | บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 89,000 ตารางเมตร |
จำนวนชั้น | 8 ชั้น |
ขนส่งมวลชน | สนามกีฬาแห่งชาติ |
บริษัท | |
ชื่อทางการค้า | บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) |
ชื่อเดิม |
|
ประเภท | บริษัทมหาชน |
การซื้อขาย | SET:MBK |
อุตสาหกรรม | อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง |
รูปแบบ | พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
ก่อตั้ง | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 |
ผู้ก่อตั้ง | ศิริชัย บูลกุล |
สำนักงานใหญ่ | ชั้น 8 เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ 444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[1] |
บุคลากรหลัก |
|
บริการ |
|
เว็บไซต์ | www |
บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[2] ดำเนินกิจการให้บริการพัก เก็บ อบ และขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อนุมัติให้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2521[2]
จุดเริ่มต้นของของพื้นที่หมอน 51 ในช่วงปี 2516-2518 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดในการสร้างคอมเพล็กซ์ เพราะมองว่าอาคารพาณิชย์รับคนไม่ได้มาก[4] ในปี พ.ศ. 2526 บริษัทฯ ดำเนินการเช่าที่ดินบริเวณสี่แยกปทุมวันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก่อสร้างโครงการ ในตอนแรกนั้นใช้ชื่อว่า จุฬาคอมเพล็กซ์[5] ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ จนกระทั่งแล้วเสร็จและศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เปิดบริการเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ทรงไปเปิดศูนย์การค้า[2] และศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ผนังอาคารทั้งหลัง บุด้วยหินอ่อนทั้งภายนอกและภายใน ทว่าบริษัทฯ ขอยุติการเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2530[2]
ต่อมาปี พ.ศ. 2533 มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร[2] พร้อมทั้งชื่อใหม่เป็นบริษัท เอ็มบีเค พรอพเพอร์ตีส์ แอนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด ซึ่งเข้าจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า MBK-PD และเริ่มซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ปีเดียวกัน[3]
ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าจากมาบุญครอง เซ็นเตอร์ เป็น เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงอาคาร โดยเปลี่ยนวัสดุผนังภายนอก และปรับปรุงทางหนีไฟ จากนั้น ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ อีกสองครั้งเป็นบริษัท เอ็ม บี เค ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเป็น บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) รวมทั้งเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น MBK เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[3]
ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 บมจ.เอ็มบีเค ได้รวมตัวกับสยามพิวรรธน์ในนามวันสยาม และกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[6][7] จากนั้น บมจ.เอ็มบีเค ก็ได้รับเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ในการใช้ปรับปรุงเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้น โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2559[8][9]
เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค้าครบวงจรภายใต้ Concept “One Stop Shopping” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 23 ไร่ โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
โดยมีสะพานลอยปรับอากาศเชื่อมศูนย์การค้ากับสยามสแควร์ผ่านอลาอาร์ตและสยามสเคปและไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสะพานลอยเชื่อมไปยังคณะสหเวชศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.