แยกกษัตริย์ศึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แยกกษัตริย์ศึกmap

แยกกษัตริย์ศึก (อักษรโรมัน: Kasat Suek Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดกันระหว่างถนนพระรามที่ 1, ถนนกรุงเกษม และถนนบำรุงเมือง

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่ออักษรไทย, ชื่ออักษรโรมัน ...
สี่แยก กษัตริย์ศึก
Thumb
แยกกษัตริย์ศึกในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 มองเห็นสะพานกษัตริย์ศึกชัดเจน
Thumb
ชื่ออักษรไทยกษัตริย์ศึก
ชื่ออักษรโรมันKasat Suek
รหัสทางแยกN140 (ESRI), 002 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนกรุงเกษม
» แยกนพวงศ์
ถนนบำรุงเมือง
» แยกอนามัย
ถนนกรุงเกษม
» แยกสะพานขาว
ถนนพระรามที่ 1
» แยกพงษ์พระราม
ปิด

ชื่อทางแยกมาจาก "สะพานกษัตริย์ศึก" หรือ สะพานพระราม 1 ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ตรงทางแยกฝั่งถนนพระรามที่ 1 เดิมสะพานนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า "สะพานยศเส" ซึ่งเป็นสะพานไม้ ต่อมาสะพานยศเสมีความชำรุด ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการซ่อมแซมใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีบาทวิถีสองข้าง เช่นเดียวกับสะพานข้ามทางรถไฟ ในเส้นทางรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทางถนนพระรามที่ 1 ที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งใช้ชื่อว่าสะพานกษัตริย์ศึกเช่นเดียวกัน โดยชื่อ "กษัตริย์ศึก" ซึ่งเป็นนามพระราชทาน มีที่มาจากราชทินนามในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อครั้งที่ทรงรับราชการและมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และสัมพันธ์กับความหมายของชื่อถนนพระรามที่ 1 ซึ่งหมายถึงรัชกาลที่ 1 และมีการสันนิษฐานว่า เส้นทางสร้างสะพานแห่งนี้เป็นเส้นทางเดินทัพกลับของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวศึกกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเปิดสะพานวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2472[1] [2]

จากที่เดิมสะพานกษัตริย์ศึกเคยใช้ชื่อว่า สะพานยศเส ทำให้ย่านนี้ถูกเรียกกันติดปากว่า "ยศเส" มีซอยต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อตามนี้ โดยเป็นแหล่งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น ราดหน้า, สุกี้ ที่ได้รับการแนะนำเป็นบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์ด้วย[3]

นอกจากนี้แล้วในปี พ.ศ. 2450 ที่นี่ยังเป็นจุดแรกที่มีการให้บริการรถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยนายเลิศ เศรษฐบุตร โดยวิ่งจากสะพานยศเสไปจนถึงประตูน้ำสระปทุม (บริเวณแยกประตูน้ำในปัจจุบัน) แต่ในครั้งนั้นยังไม่ได้ใช้รถยนต์ หากแต่ใช้รถม้า จึงยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก[4]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.