Remove ads
จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จังหวัดบุรีรัมย์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Buri Ram |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม เลิศล้ำเมืองกีฬา | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์เน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นฤชา โฆษาศิวิไลซ์[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 10,322.885 ตร.กม. (3,985.688 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 17 |
ประชากร (พ.ศ. 2566) | |
• ทั้งหมด | 1,573,230 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 6 |
• ความหนาแน่น | 152.40 คน/ตร.กม. (394.7 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 27 |
รหัส ISO 3166 | TH-31 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | แปะ |
• ดอกไม้ | สุพรรณิการ์ |
• สัตว์น้ำ | กุ้งฝอยน้ำจืดชนิด Macrobrachium lanchesteri |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เลขที่ 1159 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000[3] |
• โทรศัพท์ | 0 4461 1342 |
เว็บไซต์ | https://www.buriram.go.th |
จังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญสมัยอารยธรรมขอมอย่างพนมรุ้ง และเมืองต่ำ และในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยสโมสรฟุตบอล, สนามแข่งรถ และค่ายมวย
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผา, ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป และพระพุทธรูปมหาปรัชญาปารมิตตา หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองเก่า และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองหนึ่ง และรู้จักในนามเมืองแปะจนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเพราะบริเวณแถบนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองนางรอง ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง, เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย
ในปีพ.ศ. 2319 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีใบบอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ (เป็นพระญาติกันไม่รวมกันขึ้นตรงกรุงเทพฯจึงยกทัพเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองที่1ประหารชีวิตเนื่องจากเป็นญาติทางฝั่งพญาละแวก และสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์, เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง, ตะลุง, สุรินทร์, สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งชุมชนขึ้น และต่อมาในปี พ.ศ. 2350 หรือสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 1 จึงทรงโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองขึ้นในเขตชุมชนดังกล่าว เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์ และให้บุตรเจ้าเมืองผไทสมันต์แห่งพุทธไธสง-ลาวกาวเป็นเจ้าเมืองคนแรก[4] ให้นามเจ้าเมืองว่า พระยานครภักดี ปกครองชาวเขมรป่าดง,ชาวลาวและชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งพื้นเพของเจ้าเมืองแปะคนแรกเดิมมีนามเดิมว่า เพี้ยเหล็กสะท้อน บุตรชายของเพี้ยศรีปากหรือพระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงคนแรก (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) เพี้ยศรีปากและเพี้ยเหล็กสะท้อนเคยเป็นกรมการเมืองในตำแหน่งเพี้ยโฮงหลวงของเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราชหรือเมืองท่งศรีภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ก่อนที่ต่อมาเพี้ยศรีปากจะแยกดินแดนเมืองสุวรรณภูมิเดิมออกมาตั้งเป็นเมืองพุทไธสงในภายหลัง เพี้ยศรีปากเป็นบุตรของท้าวพร อัญญาเมืองสุวรรณภูมิบุตรชายของท้าวเซียงเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเจ้าหลานและสืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคลเจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านแรก อันมีเชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ล้านช้าง อีกทั้งยังเป็นปฐมบรรพบุรุษของเจ้าเมืองภาคอีสานที่ส่งลูกหลานไปปกครองหัวเมืองอีสานกว่า20หัวเมืองและภาคเหนืออีก1หัวเมือง ได้แก่ เมืองสุวรรณภูมิราชบุรีประเทษราช (เมืองสุวรรณภูมิ) เมืองร้อยเอ็ด เมืองชลบทวิบูลย์ เมืองขอนแก่น เมืองเพี้ย เมืองรัตนนคร เมืองมหาสารคาม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองโกสุมพิสัย เมืองกันทรวิชัย (เมืองโคกพระ) เมืองวาปีปทุม เมืองหนองหาน (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) เมืองโพนพิสัย (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) เมืองพุทไธสง (เมืองผไทสมัน) เมืองบุรีรัมย์ (เมืองแปะ) เมืองเกษตรวิสัย เมืองพนมไพรแดนมฤค เมืองธวัชบุรี เมืองพยัคฆภูมิพิสัย (เมืองเสือ) เมืองจตุรพักตรพิมาน (เมืองหงษ์) เมืองขามเฒ่า เมืองเปือยใหญ่ (บ้านค้อ) เมืองนันทบุรี (เมืองน่าน) เมืองรัตนบุรี เมืองเดชอุดม เมืองราษีไศล เมืองรัตนวาปี เมืองสนม และเมืองประชุมพนาลัย (เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว) ซึ่งบอกได้ว่าพระยานครภักดีเจ้าเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ท่านแรกสืบเชื้อสายมาจากเจ้าจารย์แก้วแห่งเมืองท่งศรีภูมิและพระเสนาสงครามแห่งเมืองพุทไธสง อีกทั้งยังมีเครือข่ายทางเครือญาติกับหลายหัวเมืองทั่วภาคอีสานร่วม20กว่าหัวเมือง[5]
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนและเสบียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองแปะ เมืองนางรอง พระนครภักดี (หงษ์) บุตรชายของพระยานครภักดีท่านแรก นำราษฎรออกต่อสู้อย่างองอาจ เมื่อสู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองพุทไธสมัน ทหารลาวตามไปทันแล้วจับตัวได้ที่ช่องเสม็ด (ช่องเขาที่จะไปประเทศกัมพูชา) เมื่อถูกจับแล้ว ทหารลาวนำตัวพระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่จับได้ไปให้เจ้าราชวงศ์ แล้วถูกควบคุมตัวไว้ที่ทุ่งเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งเจ้าราชวงศ์ตั้งทัพอยู่ที่นั่น แต่พระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่ถูกควบคุมตัวได้จับอาวุธต่อสู้เพื่อหนี จึงถูกฆ่าตายหมด หลังจากที่กองทัพหลวงไทยตีทัพเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์แตกแล้ว ได้แต่งตั้งให้หลวงปลัดซึ่งเป็นบุตรชายพระนครภักดี (หงส์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทนตั้งแต่เมืองแปะ ถือได้ว่าเป็นวีรกรรมที่กล้าหาญชาญชัยและน่ายกย่องของเจ้าเมืองที่ไม่ยอมศิโรราบต่ออริศัตรู แม้ว่ากำลังพลของตนจะน้อยกว่าเป็นอย่างมากก็ตาม
ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมือง"บุรีรัมย์" และในปี พ.ศ. 2433 มีการประกาศเรียกชื่อข้าหลวงกำกับหัวเมืองทั้ง 4 ขึ้น โดยแยกเมืองบุรีรัมย์ไปขึ้นกับลาวฝ่ายเหนือ และพ่วงเมืองนางรองไปด้วย ซึ่งเมืองนางรองขึ้นกับเมืองบุรีรัมย์ ขณะที่เมืองพุทไธสง และเมืองตะลุง ยังคงสังกัดอยู่กับเมืองนครราชสีมา
ครั้นถึง สมัยพระยานครภักดี (ทองดี) บุตรหลวงปลัดหรือเจ้าเมืองแปะคนที่ 3 (บุตรของพระยานครภักดีหงษ์) เป็นเจ้าเมืองบุรีรัมย์คนสุดท้ายก่อนจะเปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง นอกจากนี้ภายหลังท่านยังได้รักษาการเมืองนางรอง ในราว พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า "บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง ภายหลังยุบตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองมีพระรังสรรค์สารกิจ(เลื่อน) เป็นผู้ว่าราชการเมืองท่านแรก พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ ในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา[6]
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ, เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ ซึ่งได้แก่ นางรอง, พุทไธสง, ประโคนชัย (ตะลุง) และรัตนบุรี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์)
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 15 ลิปดาเหนือกับ 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิปดากับ 103 องศา 45 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 412 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียงดังนี้
จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่รวม 10,322.885 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,451,178,125 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.11 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 2.01 ของพื้นที่ประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยเป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาเกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปีเศษ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญได้แก่ พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้, พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด และพื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล
แหล่งน้ำที่สำคัญในจังหวัดบุรีรัมย์ มีดังต่อไปนี้
ที่ | แหล่งน้ำ | อำเภอ | ความจุ (ล้านลูกบาศก์เมตร) |
---|---|---|---|
1 | เขื่อนลำนางรอง | โนนดินแดง | 121 |
2 | อ่างเก็บน้ำลำจังหัน | ละหานทราย | 36 |
3 | อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด | เมืองบุรีรัมย์ | 27.8 |
4 | อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก | เมืองบุรีรัมย์ | 27.2 |
5 | อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย | ละหานทราย | 25.4 |
6 | อ่างเก็บน้ำห้วยยาง | หนองกี่ | 13.8 |
7 | อ่างเก็บน้ำห้วยสวาย | กระสัง | 13.5 |
8 | อ่างเก็บน้ำห้วยเมฆา | บ้านกรวด | 4.6 |
9 | อ่างเก็บน้ำห้วยทะลอก | นางรอง | 3.5 |
10 | ฝายกุดชุมแสง | สตึก | 3.0 |
11 | อ่างเก็บน้ำคลองมะนาว | โนนดินแดง | 2.6 |
12 | อ่างเก็บน้ำหนองตาหมู่ | นางรอง | 2.2 |
13 | ฝายบ้านยางน้อย | พุทไธสง | 1.7 |
14 | อ่างเก็บน้ำห้วยขี้หนู | ลำปลายมาศ | 1.5 |
15 | อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ | ลำปลายมาศ | 1.3 |
16 | อ่างเก็บน้ำห้วยน้อย | ลำปลายมาศ | 1.2 |
17 | ฝายบ้านไพศาล | ประโคนชัย | 1.2 |
ภูมิอากาศในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 ฤดู คือ
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดบุรีรัมย์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.67 (89.01) |
34.02 (93.24) |
36.02 (96.84) |
36.45 (97.61) |
33.87 (92.97) |
34.35 (93.83) |
33.60 (92.48) |
33.07 (91.53) |
32.57 (90.63) |
31.25 (88.25) |
30.52 (86.94) |
29.77 (85.59) |
33.10 (91.58) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 17.65 (63.77) |
20.10 (68.18) |
22.65 (72.77) |
24.47 (76.05) |
24.50 (76.1) |
24.80 (76.64) |
24.37 (75.87) |
24.17 (75.51) |
24.22 (75.6) |
23.32 (73.98) |
20.87 (69.57) |
18.30 (64.94) |
22.45 (72.41) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 0.07 (0.0028) |
7.10 (0.2795) |
42.02 (1.6543) |
113.75 (4.4783) |
241.87 (9.5224) |
100.82 (3.9693) |
176.10 (6.9331) |
109.87 (4.3256) |
288.90 (11.374) |
177.50 (6.9882) |
94.27 (3.7114) |
6.00 (0.2362) |
1,358.27 (53.4752) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 0 | 2 | 5 | 10 | 20 | 14 | 18 | 12 | 18 | 14 | 5 | 2 | 120 |
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ |
ในจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถพบนกที่หายากได้หลายสายพันธุ์ แหล่งดูนกที่สำคัญมักอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ อาทิ อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก, อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด และอ่างเก็บน้ำสนามบิน[7] โดยเฉพาะที่อ่างเก็บน้ำสนามบินนั้น สามารถพบนกใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น นกปากห่าง, นกกาน้ำเล็ก และนกกระจาบทอง เป็นต้น นกเหล่านี้สามารถพบได้ในช่วงฤดูฝนแม้ว่าจะไม่ใช่ฤดูที่นกอพยพก็ตาม[8]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้ค้นพบนกกระเรียนพันธ์ไทยซึ่งคาดว่าสูญพันธุ์จากธรรมชาติมาแล้ว 50 ปี ที่พื้นที่ชุ่มน้ำหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแสงเหนือ[9]
นอกจากนั้นบริเวณตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณพื้นที่เทือกเขาเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ และอุทยานแห่งชาติตาพระยา อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่มรดกโลกทางธรรมชาติ มีสัตว์ป่าหายากหลากชนิดอาศัย เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย ไหลลงแม่น้ำมูล อันเป็นแม่น้ำสำคัญของภาคอีสานที่ไหลผ่านจังหวัดบุรีรัมย์
การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 189 ตำบล 2,212 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 23 อำเภอมีดังนี้
ชั้น | หมายเลข | อำเภอ | ประชากร[10] (พ.ศ. 2567) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
รหัสไปรษณีย์ | ระยะห่างจากตัวจังหวัด |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 | เมืองบุรีรัมย์ | 220,334 | 716.235 | 307.62 | 31000 | - |
2 | 2 | คูเมือง | 67,162 | 442.000 | 151.95 | 31190 | 36 |
2 | 3 | กระสัง | 104,027 | 652.700 | 159.37 | 31160 | 31 |
1 | 4 | นางรอง | 112,852 | 769.800 | 146.59 | 31110 | 55 |
2 | 5 | หนองกี่ | 69,999 | 385.000 | 181.81 | 31210 | 85 |
3 | 6 | ละหานทราย | 73,472 | 735.000 | 99.96 | 31170 | 83 |
1 | 7 | ประโคนชัย | 133,622 | 890.121 | 150.11 | 31140 | 44 |
2 | 8 | บ้านกรวด | 76,760 | 583.900 | 131.46 | 31180 | 68 |
2 | 9 | พุทไธสง | 45,080 | 330.000 | 136.60 | 31120 | 77 |
1 | 10 | ลำปลายมาศ | 130,482 | 802.500 | 162.59 | 31130 | 33 |
1 | 11 | สตึก | 108,649 | 803.000 | 135.30 | 31150 | 43 |
4 | 12 | ปะคำ | 45,136 | 296.029 | 152.47 | 31220 | 79 |
4 | 13 | นาโพธิ์ | 31,569 | 255.000 | 123.80 | 31230 | 82 |
3 | 14 | หนองหงส์ | 49,524 | 335.000 | 147.83 | 31240 | 58 |
4 | 15 | พลับพลาชัย | 44,777 | 306.670 | 146.01 | 31250 | 43 |
4 | 16 | ห้วยราช | 37,378 | 182.120 | 205.23 | 31000 | 11 |
4 | 17 | โนนสุวรรณ | 25,055 | 189.630 | 132.12 | 31110 | 81 |
4 | 18 | ชำนิ | 35,086 | 242.000 | 144.98 | 31110 | 45 |
4 | 19 | บ้านใหม่ไชยพจน์ | 25,920 | 175.000 | 148.11 | 31120 | 86 |
3 | 20 | โนนดินแดง | 27,837 | 448.000 | 62.13 | 31260 | 96 |
4 | 21 | บ้านด่าน | 30,537 | 159.100 | 191.93 | 31000 | 16 |
4 | 22 | แคนดง | 32,046 | 298.000 | 107.53 | 31150 | 47 |
4 | 23 | เฉลิมพระเกียรติ | 39,779 | 349.690 | 113.75 | 31110, 31170 | 66 |
รวม | 1,567,083 | 10,322.885 | 151.80 |
ประกอบด้วย 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, 1 เทศบาลนคร, 2 เทศบาลเมือง, 59 เทศบาลตำบล และ 145 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมือง อำเภอนางรอง
อำเภอคูเมือง
อำเภอกระสัง
อำเภอหนองกี่
อำเภอละหานทราย
|
อำเภอประโคนชัย
อำเภอบ้านกรวด
อำเภอพุทไธสง
อำเภอลำปลายมาศ
อำเภอสตึก
อำเภอปะคำ
อำเภอนาโพธิ์
|
อำเภอหนองหงส์
อำเภอพลับพลาชัย
อำเภอห้วยราช
อำเภอโนนสุวรรณ
อำเภอชำนิ
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอโนนดินแดง
อำเภอบ้านด่าน อำเภอแคนดง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
|
จังหวัดบุรีรัมย์มีพรมแดนติดกับประเทศกัมพูชาทางทิศใต้ โดยมีพรมแดนทั้งทางธรรมชาติและการค้าทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่
ในปัจจุบัน ทั้งเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านการเกษตร พืชผลิตผลที่สำคัญของบุรีรัมย์ ได้แก่ ข้าว (มากกว่า 500,000 ไร่), อ้อย (มากกว่า 5,000 ไร่), ยางพารา (มากกว่า 50,000 ไร่) และพืชอื่น ๆ ในสัดส่วนน้อย ส่วนในด้านอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมหลักของบุรีรัมย์อยู่ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ส่วนแหล่งอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ที่อำเภอนางรอง, ลำปลายมาศ และสตึก
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และลงที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ให้บริการ อาทิ กิจการทัวร์, บริษัท ขนส่ง จำกัด, ศิริรัตนพลทัวร์, นครชัยแอร์ นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากกรุงเทพฯ มายังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งโดยตรง
นอกจากเส้นทางกรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ และกรุงเทพฯ – พนมรุ้ง แล้ว ยังมีเส้นทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ไปยังจังหวัดอื่น ๆ และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย
จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลัก 3 แห่ง ได้แก่
ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีรถสองแถวสีชมพูให้บริการทั้งหมด 2 สาย ดังนี้
จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี ผ่านอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ ลำปลายมาศ, เมืองบุรีรัมย์, ห้วยราช และกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟทั้งหมด 9 แห่ง และที่หยุดรถ 1 แห่ง โดยสถานีบุรีรัมย์และสถานีลำปลายมาศ เป็นสองสถานีรถไฟในจังหวัดที่มีขบวนรถโดยสารจอดทุกขบวน โดยที่สถานีบุรีรัมย์นั้น ยังมีทางแยกไปลานเก็บหินโรงโม่หินศิลาชัย ระยะทาง 8 กิโลเมตร
มีขบวนรถโดยสารที่วิ่งจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ไปยังอุบลราชธานีให้บริการหลายขบวน อาทิ รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา (ขบวนที่ 23), รถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 21, รถด่วนดีเซลรางที่ 71 นอกจากนี้ยังมีขบวนรถเร็วซึ่งวิ่งระหว่างกรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานีอีก 3 ขบวน และขบวนรถท้องถิ่น วิ่งระหว่างนครราชสีมา–อุบลราชธานี หลายขบวน
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก สายการบินที่ให้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย[11] และนกแอร์ ปัจจุบันกำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และมีแผนพัฒนาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ[12]
ประชากรในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยชาวไทยเขมร, ไทยลาว, ไทยโคราช และชาวกูย มีภาษาพูดที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันสี่ภาษาด้วยกันดังนี้
จังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่ตั้งของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลใหญ่ในไทยลีก เป็นสโมสรฟุตบอลที่ชนะเลิศไทยลีกมากที่สุดด้วยจำนวน 9 สมัย[17] และเคยทำผลงานระดับทวีปได้ดีที่สุดคือ การเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 โดยมีสยามเหย้าของสโมสร คือ ช้างอารีนา มีความจุ 32,600 ที่นั่ง
นอกจากฟุตบอลแล้ว ยังมีสนามแข่งรถ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งเคยใช้จัดแข่งขันโมโตจีพีมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีการจัดแข่งขันมาราธอนในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
สนามกีฬาอื่น ๆ อาทิ สระว่ายน้ำ, สนามเทนนิส ตั้งอยู่ในตัวเทศบาลนครบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีโรงพลศึกษาของการกีฬาแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.