จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด[ก] (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด[ข]) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

ข้อมูลเบื้องต้น จังหวัดของประเทศไทย, หมวดหมู่ ...
จังหวัดของประเทศไทย
หมวดหมู่รัฐเดี่ยว
ที่ตั้งราชอาณาจักรไทย
จำนวน76 จังหวัด
1 เขตปกครองพิเศษ
ประชากรจังหวัดสมุทรสงคราม 192,052 คน กรุงเทพมหานคร 5,588,222 คน (2563)[1]
พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม 414 ตารางกิโลเมตร (160 ตารางไมล์) จังหวัดเชียงใหม่ 22,436 ตารางกิโลเมตร (8,663 ตารางไมล์)
ความหนาแน่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน 22.43 คน/ตารางกิโลเมตร (58.11 คน/ตารางไมล์) กรุงเทพมหานคร 3,562.24 คน/ตารางกิโลเมตร (1,141.32 คน/ตารางไมล์) (2563)
การปกครองหน่วยราชการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส่วนท้องถิ่น)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร)
หน่วยการปกครองอำเภอ
เขต
ปิด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

สมัยก่อนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435

แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458

พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี

เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นใน พ.ศ. 2437 โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูงสุดไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลางสามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และลิดรอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าว ทำให้ขุนนางท้องถิ่นที่ต้องการรักษาฐานอำนาจและอิทธิพลของตนไว้ ก่อการกบฏต่อต้านอำนาจรัฐในบางภูมิภาค เหตุการณ์กบฏครั้งสำคัญคือกบฏผู้มีบุญ (หรือ "กบฏผีบาปผีบุญ") ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยอาศัยความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ ขบวนการผู้มีบุญได้เคลื่อนไหวตามทั่วภาคอีสาน แต่ที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มกบฏได้ก่อการถึงขั้นเผาเมืองเขมราฐและบังคับให้เจ้าเมืองเขมราฐร่วมขบวนการ แต่ที่สุดแล้วกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา

หลัง พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด[2]

เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลาออกจาตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ. 2458 นั้น ประเทศสยามได้แบ่งการปกครองออกเป็น 19 มณฑล 72 จังหวัด ทั้งนี้ ได้รวมถึงจังหวัดพระนคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนครบาลจนถึง พ.ศ. 2465

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "อุปราช" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง พ.ศ. 2465 อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงใน พ.ศ. 2468 และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีมาจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2520 มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงรายมาจัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครพนมมาตั้งเป็นจังหวัดจังหวัดมุกดาหาร ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการตั้งจังหวัดขึ้นมาพร้อมกัน 3 จังหวัดคือจังหวัดหนองบัวลำภู (แยกจากจังหวัดอุดรธานี) จังหวัดสระแก้ว (แยกจากจังหวัดปราจีนบุรี) และจังหวัดอำนาจเจริญ (แยกจากจังหวัดอุบลราชธานี) และจังหวัดล่าสุดของประเทศไทยคือจังหวัดบึงกาฬ (แยกจากจังหวัดหนองคาย) ในปี พ.ศ. 2554

ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้นมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอย่างผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับเหตุการณ์

การแบ่งภาคตามเกณฑ์ราชบัณฑิตยสถาน

สรุป
มุมมอง

ราชบัณฑิตยสถานแบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค โดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์[15] ซึ่งเป็นการแบ่งที่ใช้อย่างเป็นทางการและมีใช้ทั่วไปในแบบเรียน

Thumb
แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ
(คลิกที่จังหวัดเพื่อไปยังบทความจังหวัดนั้นได้)
  ภาคเหนือ
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  ภาคกลาง
  ภาคตะวันออก
  ภาคตะวันตก
  ภาคใต้

ภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม ตราประจำจังหวัด, ธงประจำจังหวัด ...
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
Thumb เชียงราย Chiang Rai 1,287,615 11,678.4 110.3 0.716 ชร CRI TH-57 TH03
Thumb เชียงใหม่ Chiang Mai 1,640,479 20,107.0 81.6 0.904 ชม CMI TH-50 TH02
Thumb น่าน Nan 476,363 11,472.1 41.5 0.705 นน NAN TH-55 TH04
Thumb พะเยา Phayao 486,304 6,335.1 76.8 0.722 พย PYO TH-56 TH41
Thumb แพร่ Phrae 447,564 6,538.6 70.5 0.702 พร PRE TH-54 TH07
Thumb แม่ฮ่องสอน Mae Hong Son 242,742 12,681.3 19.1 0.704 มส MSN TH-58 TH01
Thumb
ลำปาง Lampang 761,949 12,534.0 60.8 0.748 ลป LPG TH-52 TH06
Thumb
ลำพูน Lamphun 404,560 4,505.9 90.0 0.729 ลพ LPN TH-51 TH05
Thumb อุตรดิตถ์ Uttaradit 462,618 7,838.6 59.0 0.711 อต UTD TH-53 TH10
ปิด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม ตราประจำจังหวัด, ธงประจำจังหวัด ...
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
Thumb กาฬสินธุ์ Kalasin 982,578 6,946.7 141.4 0.718 กส KSN TH-46 TH23
Thumb ขอนแก่น Khon Kaen 1,767,601 10,886.0 162.4 0.850 ขก KKN TH-40 TH22
Thumb ชัยภูมิ Chaiyaphum 1,127,423 12,778.3 88.2 0.748 ชย CPM TH-36 TH26
Thumb นครพนม Nakhon Phanom 703,392 5,512.7 127.6 0.778 นพ NPM TH-48 TH73
Thumb นครราชสีมา Nakhon Ratchasima 2,628,818 20,494.0 128.27 0.815 นม NMA TH-30 TH27
Thumb บึงกาฬ Bueng Kan 385,053 4,305 89.4 --- บก BKN TH-38 TH81
Thumb บุรีรัมย์ Buri Ram 1,553,765 10,322.9 150.5 0.729 บร BRM TH-31 TH28
Thumb มหาสารคาม Maha Sarakham 940,911 5,291.7 177.8 0.729 มค MKM TH-44 TH24
Thumb มุกดาหาร Mukdahan 339,575 4,339.8 78.2 0.728 มห MDH TH-49 TH78
Thumb ยโสธร Yasothon 539,542 4,161.7 129.6 0.782 ยส YST TH-35 TH72
Thumb ร้อยเอ็ด Roi Et 1,309,708 8,299.4 157.8 0.732 รอ RET TH-45 TH25
Thumb เลย Loei 624,066 11,424.6 54.6 0.731 ลย LEI TH-42 TH18
Thumb ศรีสะเกษ Si Sa Ket 1,452,471 8,840.0 164.3 0.734 ศก SSK TH-33 TH30
Thumb สกลนคร Sakon Nakhon 1,122,905 9,605.8 116.9 0.705 สน SNK TH-47 TH20
Thumb สุรินทร์ Surin 1,381,761 8,124.1 170.1 0.751 สร SRN TH-32 TH29
Thumb หนองคาย Nong Khai 509,395 3,027.0 168.3 0.755 นค NKI TH-43 TH17
Thumb หนองบัวลำภู Nong Bua Lam Phu 502,868 3,859.0 130.3 0.714 นภ NBP TH-39 TH79
Thumb อุดรธานี Udon Thani 1,544,786 11,730.3 131.7 0.907 อด UDN TH-41 TH76
Thumb อุบลราชธานี Ubon Ratchathani 1,813,088 15,744.8 115.2 0.800 อบ UBN TH-34 TH75
Thumb อำนาจเจริญ Amnat Charoen 372,137 3,161.2 117.7 0.712 อจ ACR TH-37 TH77
ปิด

ภาคกลาง

ข้อมูลเพิ่มเติม ตราประจำจังหวัด, ธงประจำจังหวัด ...
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
Thumb กรุงเทพมหานคร Bangkok 5,682,415 1,568.7 1,400 0.933 กท BKK TH-10 TH40
  Thumb กำแพงเพชร Kamphaeng Phet 729,133 8,607.5 84.5 0.725 กพ KPT TH-62 TH11
  Thumb ชัยนาท Chai Nat 329,722 2,469.7 135.6 0.756 ชน CNT TH-18 TH32
  Thumb นครนายก Nakhon Nayok 259,342 2,122.0 119.1 0.758 นย NYK TH-26 TH43
  Thumb นครปฐม Nakhon Pathom 911,492 2,168.3 396.7 0.682 นฐ NPT TH-73 TH53
  Thumb นครสวรรค์ Nakhon Sawan 1,065,334 9,597.7 111.8 0.752 นว NSN TH-60 TH16
  Thumb นนทบุรี Nonthaburi 1,229,735 622.3 1,770.4 0.743 นบ NBI TH-12 TH38
  Thumb ปทุมธานี Pathum Thani 1,129,115 1,525.9 739.9 0.805 ปท PTE TH-13 TH39
  Thumb พระนครศรีอยุธยา Phra Nakhon Si Ayutthaya 808,360 2,556.6 305.9 0.729 อย AYA TH-14 TH36
  Thumb พิจิตร Phichit 541,868 4,531.0 122.0 0.693 พจ PCT TH-66 TH13
  Thumb พิษณุโลก Phitsanulok 813,852 10,815.8 78.6 0.724 พล PLK TH-65 TH12
  Thumb เพชรบูรณ์ Phetchabun 996,031 12,668.4 78.6 0.745 พช PNB TH-67 TH14
  Thumb ลพบุรี Lop Buri 755,854 6,199.8 121.9 0.742 ลบ LRI TH-16 TH34
  Thumb สมุทรปราการ Samut Prakan 1,310,766 1,004.1 1,180.3 0.825 สป SPK TH-11 TH42
  Thumb สมุทรสงคราม Samut Songkhram 194,057 416.7 465.7 0.762 สส SKM TH-75 TH54
  Thumb สมุทรสาคร Samut Sakhon 491,887 872.3 563.9 0.758 สค SKN TH-74 TH55
  Thumb สระบุรี Saraburi 617,384 3,576.5 172.6 0.798 สบ SRI TH-19 TH37
  Thumb สิงห์บุรี Sing Buri 214,661 822.5 261.0 0.739 สห SBR TH-17 TH33
  Thumb สุโขทัย Sukhothai 601,778 6,596.1 91.2 0.738 สท STI TH-64 TH09
  Thumb สุพรรณบุรี Suphan Buri 845,950 5,358.0 157.9 0.744 สพ SPB TH-72 TH51
  Thumb อ่างทอง Ang Thong 284,970 968.4 294.3 0.720 อท ATG TH-15 TH35
  Thumb อุทัยธานี Uthai Thani 327,959 6,730.3 48.7 0.704 อน UTI TH-61 TH15
ปิด

ภาคตะวันออก

ข้อมูลเพิ่มเติม ตราประจำจังหวัด, ธงประจำจังหวัด ...
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
Thumb จันทบุรี Chanthaburi 514,616 6,338.0 81.2 0.754 จบ CTI TH-22 TH48
Thumb ฉะเชิงเทรา Chachoengsao 673,933 5,351.0 125.9 0.708 ฉช CCO TH-24 TH44
Thumb ชลบุรี Chon Buri 1,509,125 4,363.0 345.8 0.889 ชบ CBI TH-20 TH46
Thumb ตราด Trat 220,921 2,819.0 78.4 0.675 ตร TRT TH-23 TH49
Thumb ปราจีนบุรี Prachin Buri 466,572 4,762.4 98.0 0.755 ปจ PRI TH-25 TH74
  Thumb ระยอง Rayong 626,402 3,552.0 176.4 0.802 รย RYG TH-21 TH47
  Thumb สระแก้ว Sa Kaeo 485,632 7,195.1 75.6 0.688 สก SKW TH-27 TH80
ปิด

ภาคตะวันตก

ข้อมูลเพิ่มเติม ตราประจำจังหวัด, ธงประจำจังหวัด ...
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
  Thumb กาญจนบุรี Kanchanaburi 839,776 19,483.2 43.1 0.733 กจ KRI TH-71 TH50
  Thumb ตาก Tak 525,684 16,406.6 32.0 0.735 ตก TAK TH-63 TH08
  Thumb ประจวบคีรีขันธ์ Prachuap Khiri Khan 509,134 6,367.6 80.0 0.868 ปข PKN TH-77 TH57
  Thumb เพชรบุรี Phetchaburi 464,033 6,225.1 74.5 0.798 พบ PBI TH-76 TH56
  Thumb ราชบุรี Ratchaburi 839,075 5,196.5 161.5 0.726 รบ RBR TH-70 TH52
ปิด

ภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม ตราประจำจังหวัด, ธงประจำจังหวัด ...
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
  Thumb กระบี่ Krabi 469,769 4,708.5 99.8 0.805 กบ KBI TH-81 TH63
  Thumb ชุมพร Chumphon 509,650 6,010.8 84.8 0.710 ชพ CPN TH-86 TH58
  Thumb ตรัง Trang 643,072 4,917.5 130.8 0.692 ตง TRG TH-92 TH65
  Thumb นครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat 1,557,482 9,942.5 156.6 0.769 นศ NRT TH-80 TH64
  Thumb นราธิวาส Narathiwat 796,239 4,475.4 177.9 0.636 นธ NWT TH-96 TH31
  Thumb ปัตตานี Pattani 709,796 1,940.4 365.8 0.698 ปน PTN TH-94 TH69
  Thumb พังงา Phangnga 267,491 4,170.9 64.1 0.758 พง PNA TH-82 TH61
  Thumb พัทลุง Phatthalung 524,857 3,424.5 153.3 0.713 พท PLG TH-93 TH66
  Thumb ภูเก็ต Phuket 402,017 543.0 740.3 0.921 ภก PKT TH-83 TH62
  Thumb ยะลา Yala 527,295 4,521.1 116.6 0.687 ยล YLA TH-95 TH70
  Thumb ระนอง Ranong 190,399 3,298.0 57.7 0.678 รน RNG TH-85 TH59
  Thumb สตูล Satun 319,700 2,479.0 129.0 0.655 สต STN TH-91 TH67
  Thumb สงขลา Songkhla 1,424,230 7,393.9 192.6 0.681 สข SKA TH-90 TH68
  Thumb สุราษฎร์ธานี Surat Thani 1,057,581 12,891.5 82.0 0.849 สฎ SNI TH-84 TH60
ปิด

การบริหารราชการ

จังหวัดเป็นราชการส่วนภูมิภาค โดยมีส่วนราชการระดับจังหวัดซึ่งรับคำสั่งจากราชการส่วนกลาง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค

ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตำแหน่งราชการฝ่ายพลเรือน มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหาร ระดับสูง สายงานบริหารงานปกครอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย โดยผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้[17]

  1. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
  2. ดำรงตำแหน่งในตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังนี้
    • ประเภทบริหาร ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี
    • ประเภทบริหาร ระดับต้น และประเภทอำนวยการ รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ[18]

การตั้งจังหวัดใหม่

สรุป
มุมมอง

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยให้พิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้[19]

  1. เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ตร.ก.ม. จังหวัดตั้งใหม่ควรมีเนื้อที่ 5,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป
  2. จำนวนอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครอง จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีอำเภอในเขตการปกครองจำนวนไม่น้อยกว่า 12 อำเภอ และกิ่งอำเภอ และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้ว จังหวัดเดิมควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครองไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ ส่วนจังหวัดที่ตั้งใหม่ควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ
  3. จำนวนประชากร จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 600,000 คน และเมื่อแยกไปแล้ว จังหวัดเดิมควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน จังหวัดตั้งใหม่ควรมีประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน
  4. ลักษณะพิเศษของจังหวัด
  5. ผลดีในการให้บริการประชาชน
  6. ปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ราชการที่มีอยู่แล้วและความพร้อมในด้านอื่น
  7. ปัจจัยเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
  8. ความคิดเห็นของประชาชนและจังหวัด
  9. รายได้ของจังหวัดเดิม เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีสรรพากร เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท และเมื่อแยกไปจัดตั้งจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีรายได้คงเหลือไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ส่วนรายได้ของจังหวัดใหม่ก็ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาทเช่นกัน
  10. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น เหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

การเสนอตั้งจังหวัดใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา

ข้อมูลเพิ่มเติม จังหวัดที่เสนอขอ, ปีที่เสนอขอ ...
จังหวัดที่เสนอขอ ปีที่เสนอขอ แยกออกจากจังหวัด องค์ประกอบ พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร (คน) อ้างอิง
ทุ่งสง 2563 นครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสง อำเภอบางขัน อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอฉวาง อำเภอช้างกลาง อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอพิปูน 3,536.116 451,907 [20]
แม่สะเรียง 2564 แม่ฮ่องสอน อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย 4,000.10 100,984 [21]
ปิด

รายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนและความหนาแน่นของประชากร

สรุป
มุมมอง

รายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนประชากร

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2553 ประชากรจังหวัดหนองคายลดลงเนื่องจากการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลเพิ่มเติม รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี) ข้อมูลจาก สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, อันดับ (ปีล่าสุด) ...
ปิด

รายชื่อจังหวัดเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

หน่วย: คนต่อตารางกิโลเมตร

วิธีคิด นำจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดมาหารกับพื้นที่
ข้อมูลเพิ่มเติม รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามความหนาแน่นของประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี) ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, อันดับ (ปีล่าสุด) ...
ปิด

เชิงอรรถ

. ^ ตามข้อมูลของกรมการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยแบ่งการปกครองออกเป็น 75 จังหวัด[49] และต่อมา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ทำให้จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 76 ของไทย[50]

. ^ กรุงเทพมหานครเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานครเคยเป็นจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค แต่บัดนี้มิใช่แล้ว

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.