บ้านกรวด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศใต้ เดิมเคยเป็นพื้นที่การปกครองของอำเภอประโคนชัย
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอบ้านกรวด, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอบ้านกรวด |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Kruat |
---|
คำขวัญ: เมืองโลหกรรมลือเลี่อง เครื่องเคลือบโบราณ ตำนานแหล่งหินตัด ทิวทิศน์ช่องโอบกงามตา เขื่อนเมฆาเย็นสบาย ชายแดนพนมดงรัก |
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอบ้านกรวด |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 583.9 ตร.กม. (225.4 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 76,967 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 131.82 คน/ตร.กม. (341.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 31180 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3108 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด เลขที่ 54 หมู่ที่ 4 ถนนมะลิกรอง ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 31180 |
---|
|
ปิด
อำเภอบ้านกรวด เดิมเป็นท้องที่มีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอประโคนชัย ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยมีเขตการปกครอง 1 ตำบล คือตำบลบ้านกรวด และต่อมาได้มีพระราชกฤษฏีกายกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในช่วงปี พ.ศ. 2518 อยู่ในระหว่างเหตุการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กำลังทำสงครามกองโจรหรือสงครามประชาชนกับกำลังของพลเรือน ตำรวจ ทหารของรัฐบาลไทย โดยกำลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ไทยร่วมกับกัมพูชา (เขมรแดง) เข้ามาก่อกวนเผาบ้านเรือนราษฎร วางกับระเบิดไว้ตามเส้นทางในหมู่บ้านหรือเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ทำกินของราษฎร เพื่อสกัดกั้นการเข้าปราบปรามของกำลังฝ่ายรัฐบาลไทย ซุ่มยิงกำลังฝ่ายรัฐบาลไทยและราษฎรที่เป็นฝ่ายของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและราษฎรได้รับบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้ปรับสภาพหมู่บ้านขึ้นใหม่เป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ 100 หลังคาเรือน แล้วฝึกราษฎรตามโครงการไทยอาสาป้องกันชาติ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - กัมพูชา ใช้กำลังราษฎรเหล่านั้นผสมกับกำลังพลเรือน ตำรวจภูธร ตำรวจตระเวนชายแดน ทหาร อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เข้าปราบปรามและตอบโต้การแทรกซึม บ่อนทำลายของคอมมิวนิสต์ รวมทั้งยับยั้งการรุกล้ำอธิปไตยของไทยจากฝ่ายเขมรแดง จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2525 เหตุการณ์ดังกล่าวจึงค่อยสงบลง และได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ
เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 อำเภอบ้านกรวดเป็นอำเภอแรกในประเทศไทยที่มีการประกาศ "พื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ" ทั้งอำเภอ จากความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
อำเภอบ้านกรวดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบ้านกรวดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | | บ้านกรวด | | (Ban Kruat) | | 16 หมู่บ้าน | | | | 6. | | หินลาด | | (Hin Lat) | | 9 หมู่บ้าน | |
2. | | โนนเจริญ | | (Non Charoen) | | 11 หมู่บ้าน | | | | 7. | | บึงเจริญ | | (Bueng Charoen) | | 13 หมู่บ้าน | |
3. | | หนองไม้งาม | | (Nong Mai Ngam) | | 15 หมู่บ้าน | | | | 8. | | จันทบเพชร | | (Chanthop Phet) | | 13 หมู่บ้าน | |
4. | | ปราสาท | | (Prasat) | | 14 หมู่บ้าน | | | | 9. | | เขาดินเหนือ | | (Khao Din Nuea) | | 11 หมู่บ้าน | |
5. | | สายตะกู | | (Sai Taku) | | 16 หมู่บ้าน | |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอบ้านกรวดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลตลาดนิคมปราสาท ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปราสาท
- เทศบาลตำบลบ้านกรวด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านกรวดและตำบลปราสาท
- เทศบาลตำบลบ้านกรวดปัญญาวัฒน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกรวด (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรวด)
- เทศบาลตำบลหนองไม้งาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไม้งามทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลจันทบเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทบเพชรทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโนนเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลโนนเจริญทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบึงเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงเจริญทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาท (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรวดและเทศบาลตำบลตลาดนิคมปราสาท)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสายตะกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายตะกูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินลาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินเหนือทั้งตำบล
- พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด เปิดทำการวันแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร 144 หมู่ 4 ตำบลปราสาท สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด เก็บรวบรวมเครื่องเคลือบโบราณอายุมากกว่าหนึ่งพันปีที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด และจัดแสดงให้นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ประชาชนผู้สนใจได้เข้าชม และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของอำเภอบ้านกรวด ซึ่งในอดีตอำเภอบ้านกรวดเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบโบราณที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอม
- แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่าง ๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ
- เตานายเจียน เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ และไหต่าง ๆ
- เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกใหญ่ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
- จุดผ่อนปรนชายแดนช่องสายตะกู ตั้งอยู่ในเขต เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นตลาดค้าขายติดชายแดนบนเทือกเขาพนมดงรัก ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าบริเวณชายแดนได้
- สวนป่าบ้านกรวด เป็นผืนป่าที่มีการปลูกขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สามารถชมธรรมชาติได้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติตาพระยา ส่วนหนึ่งของผืนป่ามรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
- เขื่อนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528
- พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตตำบลบึงเจริญ
- ผึ้งร้อยรัง เป็นสถานที่ที่ผึ้งจะมาทำรังบนต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นร้อย ๆ รัง พร้อมทั้งสามารถเรีบนรู้วัฒนธรรมในชุมชน ในโครงการ OTOP นวัตวิถีระดับประเทศ
- ปราสาทถมอ ปราสาทถมอ ปราสาทหินเก่าแก่สันนิษฐานว่าเป็นธรรมศาลา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
- ปราสาททอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดสดเทศบาลตำบลบ้านกรวด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 มีการขุดพบทับหลังในสภาพสมบูรณ์
- ปราสาทละลมทม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16
- ปราสาทบายแบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 5 เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นปราสาทขอมที่ติดชายแดนที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพิเศษคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าทางทิศตะวันตก
- งานเครื่องเคลือบพันปี ประเพณีบ้านกรวด จัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนของทุกปี ที่สนามหน้าอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในงานมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ การประกวดเครื่องเคลือบจำลอง การแสดงวัฒนธรรม ท้องถิ่นไทย-กัมพูชา การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน