Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดชอุดม เป็นอำเภอขนาดใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน อำเภอเดชอุดม เดิมชื่อ "เมืองเดชอุดม ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2388 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้ยุบเมืองเดชอุดม และตั้งเป็นอำเภอเดชอุดม อำเภอเดชอุดมเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การศึกษา คมนาคม สังคมและวัฒนธรรมทางตอนใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี
อำเภอเดชอุดม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Det Udom |
เจดีย์อนุสรณ์สถานพระครูถาวรกิตติคุณ (หลวงปู่มึ้ม ถาวโร) ภายในวัดจันทร์ทุมมาวาส ตำบลบัวงาม | |
คำขวัญ: ศาลหลักเมืองสง่างาม ลือนามข้าวปลาอุดม สมถิ่นภูมินทร์ตั้งเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม เย็นฉ่ำลำน้ำโดม คนเดชอุดมน้ำใจงาม | |
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอเดชอุดม | |
พิกัด: 14°54′12″N 105°4′36″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,158.375 ตร.กม. (447.251 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 177,837 คน |
• ความหนาแน่น | 153.52 คน/ตร.กม. (397.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 34160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3407 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | หมู่ที่ 1 ถนนประชา บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 34160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอเดชอุดมตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ที่ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) เรียบเรียงปรากฏที่เกี่ยวข้องกับเมืองเดชอุดม ดังนี้
ในระหว่างนั้น หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย หลวงอภัย กรมการเมือง ศรีสะเกษ ร้องไม่สมัครที่จะทำราชการกับพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศรีสะเกษ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าจารย์เเก้ว[1] จึงอพยพครอบครัวไปอยู่บ้านโดมใหญ่ ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างเมืองจำปา ศักดิ์ เมืองอุบล เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ ต่อกันมีจำนวนเลข ฉกรรจ์ 606 คน สัมโนครัว 2,150 คน ครั้นวัน ปี มะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1207 (พ.ศ. 2388) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก บ้านโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ตั้งหลวงธิเบศร์ เป็นพระศรีสุระเจ้าเมือง ให้หลวงมหาดไทยเป็นอุปฮาด ให้หลวงอภัยเป็นราชวงศ์ ให้หลวงวิเศษเป็นราชบุตร รักษาราชการแขวง เมืองเดชอุดมทิศเหนือตั้งแต่ลำห้วยเท้าสารฝั่งใต้ ทิศตะวันตกตั้งแต่ลำห้วย เท้าสารไปถึงเชิงเขาเพียงลำน้ำซอง (ฤๅซอม) โอบตามเชิงเขาไปถึงโดมน้อย ทิศ ตะวันออกตั้งแต่ลำโดมน้อยฟากทิศตะวันตกไปจนถึงลำน้ำมูล คณะกรรมการเมืองก่อน นี้ประกอบด้วยเจ้าเมืองอุปฮาดราชบุตรแลราชวงศ์ เมื่อยุบเมืองมาเป็นอำเภอจึง เทียบตำแหน่งคล้ายคลึงกัน ดังนี้ เจ้าเมือง (นายอำเภอ) อุปฮาด (ปลัด ขวา) ราชวงศ์ (ปลัดซ้าย) และราชบุตร (สมุห์บัญชี) "
เจ้าเมืองเดชอุดมนั้นมีตำแหน่งเป็นพระศรีสุระทุกคน พอถึงสมัยเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นระบอบเทศาภิบาล ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450) เมืองเดชอุดมขึ้นกับมณฑล อีสาน พระสุรเดชอุดมมาภิรักษ์ (ทองปัญญา) เป็นผู้ว่าราชการเมือง จึงแบ่ง เมืองเดชอุดมออกเป็น 3 อำเภอ คือ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ให้ยุบเมืองเดชอุดม และอำเภอต่างๆ รวมเรียกว่า อำเภอ เดชอุดมขึ้นต่อจังหวัดศรีสะเกษ เพิ่งโอนมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี ใน ปี พ.ศ. 2472 แรกเริ่มที่ว่าการอำเภอเดชอุดม ตั้งอยู่บ้านเมืองเก่าเป็น เมืองและอำเภอมาหลายปี บ้านเมืองเก่าพื้นที่ลุ่ม เวลาน้ำโดมไหลหลากมาจากทาง เหนือจะเกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรอยู่เสมอและมักจะเกิดน้ำท่วมกะทันหัน บ่อยๆ บางครั้งราษฎรไม่รู้ตัว ในที่ว่าการอำเภอต้องขนหนังสือราชการไปเก็บ ไว้บนขื่อ
พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ่ว บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี เคยได้รับ เรื่องน้ำท่วมจากหนังสือราชการของเจ้าเมืองและนายอำเภอ และสั่งว่าควรจะย้าย ที่ว่าการอำเภอจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งที่ใหม่ที่น้ำท่วมไม่ถึง นายอำเภอหลาย คนได้พยายามไปตั้งที่ว่าการใหม่หลายแห่งแต่ไม่สำเร็จ เพราะราษฎรไม่อยากย้าย จากที่เดิม จนกระทั่งในสมัยหลวงประชากรเกษม(เป้ย ส่งศรี) เป็นนายอำเภอสมุหเทศาภิบาล ได้สั่งการพยายามย้ายให้ได้ หลวงประชากรเกษมจึงปรึกษาข้าราชการ ราษฎร พ่อค้า ประชาชนทั้งหลายเห็นว่า บริเวณ "โนนขามป้อม" เป็นที่สูงน้ำท่าบริบูรณ์เหมาะสมที่จะเป็นที่ว่าการ อำเภอ จึงได้ทำพิธีย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่โนนขามป้อม ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2464 เวลา 10.45 น. โดยมีขบวนแห่อัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ผู้ร่วมขบวนแห่มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน ประมาณ 100 คนเศษ ขบวนถึงที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ (อาคารชั่วคราว) เวลา 11.00 น. (อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน)[2]
อำเภอเดชอุดมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 240 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | ตำบล | อักษรโรมัน | หมู่บ้าน |
---|---|---|---|
1. | เมืองเดช | Mueang Det | 31 หมู่บ้าน |
2. | นาส่วง | Na Suang | 12 หมู่บ้าน |
3. | นาเจริญ | Na Charoen | 11 หมู่บ้าน |
4. | ทุ่งเทิง | Thung Thoeng | 15 หมู่บ้าน |
5. | สมสะอาด | Som Sa-at | 13 หมู่บ้าน |
6. | กุดประทาย | Kut Prathai | 21 หมู่บ้าน |
7. | ตบหู | Top Hu | 22 หมู่บ้าน |
8. | กลาง | Klang | 18 หมู่บ้าน |
9. | แก้ง | Kaeng | 11 หมู่บ้าน |
10. | ท่าโพธิ์ศรี | Tha Pho Si | 11 หมู่บ้าน |
11. | บัวงาม | Bua Ngam | 18 หมู่บ้าน |
12. | คำครั่ง | Kham Khrang | 10 หมู่บ้าน |
13. | นากระแซง | Na Krasaeng | 16 หมู่บ้าน |
14. | โพนงาม | Phon Ngam | 13 หมู่บ้าน |
15. | ป่าโมง | Pa Mong | 10 หมู่บ้าน |
16. | โนนสมบูรณ์ | Non Sombun | 9 หมู่บ้าน |
ท้องที่อำเภอเดชอุดมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.