ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง (IATA: PEK, ICAO: ZBAA) เป็นสนามบินระหว่างประเทศสนามบินหลักของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 32 km (20 mi) ในเขตเฉาหยาง และบางส่วนของ เขตซุ่นอี้[5] บริหารงานโดย บริษัทท่าอากาศยานปักกิ่งแคปิตอล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking)[a]
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง 北京首都国际机场 | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง | |||||||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||||||
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงาน | Beijing Capital International Airport Company Limited | ||||||||||||||||||
พื้นที่บริการ | จิง-จิน-จี้ | ||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ชุ่นอี้ ปักกิ่ง ประเทศจีน | ||||||||||||||||||
เปิดใช้งาน | 1 มีนาคม 1958 | ||||||||||||||||||
ฐานการบิน |
| ||||||||||||||||||
เมืองสำคัญ |
| ||||||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 116 ฟุต / 35 เมตร | ||||||||||||||||||
พิกัด | 40°04′21″N 116°35′51″E | ||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | www en | ||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
สถิติ (2023) | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง | |||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 北京首都国际机场 | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 北京首都國際機場 | ||||||||||||||||||||||
|
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน ซึ่งมีเที่ยวบินจากที่นี่มากกว่า 120 เส้นทาง (ไม่รวมเที่ยวบินส่งสินค้า) ทั้งนี้ยังมี ไห่หนานแอร์ไลน์ และ ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ที่ใช้สนามบินนี้เป็นสนามบินหลักอีกด้วย
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เพิ่มอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ในปี พ.ศ. 2551 ในช่วงงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถือเป็นอาคารผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของ ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ และถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ใช้พื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับ 6 ซึ่งกินเนื้อที่ราว 1,480 เฮกตาร์
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เติบโตอย่างรวดเร็วโดยติดอันดับสนามบินที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และกลายมาเป็นสนามบินที่คับคั่งที่สุดในเอเซียจากจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินในปี พ.ศ. 2542 และได้ถือเป็นสนามบินที่มีผู้โดยสารคับคั่งที่สุดอันดับ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง ได้บันทึกว่ามีเครื่องบินเข้าออกทั้งหมด 557,167 ครั้ง (นับจากเครื่องบินขึ้นและลง) ติดอันดับ 6 ของโลกในปี พ.ศ. 2555[3] ด้านเที่ยวบินขนส่งสินค้าก็เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2555 สนามบินถูกจัดอันดับที่ 13 ของสนามบินที่มีเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่คับครั้งที่สุดในโลก โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 1,787,027 ตัน[3]
ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เที่ยวบินของสมาชิกวันเวิลด์ และสกายทีม ทั้งหมดจะถูกถ่ายโอนจากท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งไปยังท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งต้าซิงแห่งใหม่ ยกเว้นคาเธ่ย์แปซิฟิก และ คาเธ่ย์ดรากอน
ประวัติ
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นสนามบินมีเพียงอาคารขนาดเล็กที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งใช้รองรับผู้โดยสารวีไอพี และ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ วันที่ 1 มกราคม 2523 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 โดยมีท่าเทียบ และรองรับเครื่องบินได้ 10-12 ลำ อาคารใหม่นี้ ใหญ่กว่าอาคารเก่าที่สร้างในช่วงปี พ.ศ. 2500 มาก
เที่ยวบินแรกที่บินมาสู่จีน และ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งคือเที่ยวบินของปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์จากเมืองอิสลามาบาด
ช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 เป็นช่วงครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งได้ขยายอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 เปิดให้บริการในวันที่ 1 พศจิกายนในปีเดียวกัน โดยอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 ถูกปิดช่วงคราวเพื่อปรับปรุงหลังจากเปิดอาคาร 2 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2547 อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 จึงกลับมาเปิดอีกครั้ง หลังปรับปรุงเสร็จแล้ว ซึ่งในตอนนั้นเปิดให้ใช้เฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศของสายการบินไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ เท่านั้น[6] ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศของสายการบินอื่นๆ ยังคงให้บริการจากอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งได้ขยายสนามบินอีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 โดยเปิดให้บริการทางวิ่งที่ 3 ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เพื่อลดปัญหาความคับคั่งของอีกสองทางวิ่ง[7] อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 (T3) สร้างเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ในช่วงโอลิมปิกปักกิ่ง การขยายสนามบินครั้งนี้ยังได้เพิ่มทางรถไฟวิ่งเข้าไปสู่กลางกรุงปักกิ่งด้วย ในขณะที่เปิดใช้บริการนั้น อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ใช้พื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นสถานที่สำคัญที่บ่งบอกการเจริญเติบโตของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน การขยายครั้งนี้ได้ระดมทุนกว่า 3 หมื่นล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่น และอีก 5 ร้อยล้านยูโรจาก ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (EIB) การกู้ครั้งนี้ถือเป็นการกู้ครั้งใหญ่ที่สุดในเอเซ๊ยของ EIB ซึ่งได้ลงนามความตกลงกันในงาน การประชุมผู้นำจีนและกลุ่มประเทศยุโรปครั้งที่ 8 เมื่อเดือนกันยายน 2558[8]
หลังจากงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2008และเพิ่มอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่แล้ว ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งได้ยึดตำแหน่งสนามบินที่คับคั่งที่สุดในเอเชียนับจากจำนวนที่นั่ง จากท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว[9]
และเนื่องด้วยปัญหาด้านการขยายด้วยของท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง จึงได้มีแผนที่จะเปิดสนามบินใหม่ที่ต้าซิง ซึ่งผ่านการอนุมัติแล้วในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2558 และแล้วเสร็จในปี 2562[10] สนามบินแห่งใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของสายการบินพันธมิตร สกายทีม (ยกเว้นสายการบิน ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์)[11] ส่วนสมาชิกของ สตาร์อัลไลแอนซ์ จะยังคงอยู่ที่สนามบินนานาชาติปักกิ่ง ไห่หนานแอร์ไลน์ซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารคิดเป็น 10% ของผู้ใช้บริการสนามบินปักกิ่ง ในปี พ.ศ. 2559 แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรหลักใด ๆ จะอยู่ที่สนามบินเดิม[12]
อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน
อาคารผู้โดยสาร 1
- ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์
- เซี่ยเหมินแอร์ไลน์
อาคารผู้โดยสาร 2
- กาตาร์แอร์เวย์
- กัมพูชาอังกอร์แอร์
- การบินไทย
- การูดาอินโดนีเซีย
- โกเรียนแอร์
- คอนติเนนตัล แอร์ไลน์
- คาเธ่ย์แปซิฟิก
- คาเธ่ย์ดรากอน
- เคอร์กิซสถานแอร์ไลน์
- เคแอลเอ็ม
- แควนตัส
- เจแปนแอร์ไลน์
- ฉางซีแอร์ไลน์
- ฉานซีแอร์ไลน์
- ชางดองแอร์ไลน์
- ชิตาเอเวีย
- ไชน่าเกรตวอล์คอร์ปอเรชั่น
- ไชน่าซิงหัวแอร์ไลน์
- ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์
- ไชน่าเนชั่นเนลเอวิเอชั่น
- ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์
- ไชน่าแอร์ไลน์
- ซีฉวนแอร์ไลน์
- เซินเจินแอร์ไลน์
- เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์
- เดลตาแอร์ไลน์
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์
- บริติช แอร์เวย์
- ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นเนลแอร์ไลน์
- ฟาร์อีสเทิร์นแอร์ทรานสปอร์ต
- ฟินน์แอร์
- ฟิลิปปินแอร์ไลน์
- มาเลเซียแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
- รอสสิยาแอร์ไลน์
- ลุฟต์ฮันซา
- วลาดิโวสโตกเอเวีย
- วูหานแอร์ไลน์
- เวียดนามแอร์ไลน์
- โวลกา-ดเนปร์
- ศรีลังกันแอร์ไลน์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- ไห่หนานแอร์ไลน์
- ออลนิปปอนแอร์เวย์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อิหร่านแอร์
- อียิปต์แอร์
- อีวาแอร์
- อเมริกันแอร์ไลน์
- อุซเบกิสถานแอร์เวย์
- เอเชียน่าแอร์ไลน์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- เอ็มไอเอที มองโกเลียนแอร์ไลน์
- เอมิเรตส์
- เอล อัล
- เอส7แอร์ไลน์
- อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
- แอร์เกียวโต
- แอร์แคนาดา
- แอร์ไชน่า
- แอร์ซิมบับเว
- แอร์ฟรานซ์
- แอร์มาเก๊า
- แอร์อัลจีเรีย
- แอร์แอสทานา
- แอร์อัสตานา
- แอโรฟลอต
- แอโรเม็กซิโก
- แอโรสวิตแอร์ไลน์
- แอลโอทีโปลิชแอร์ไลน์
อาคารผู้โดยสาร 3
เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2551
สายการบินขนส่งสินค้า
- โกเรียนแอร์คาร์โก
- คาร์โกลักซ์
- เฟดเอกซ์
- มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก
- สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม
- แอร์ไชน่าคาร์โก
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.