Remove ads
สายการบินแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท สายการบินญี่ปุ่น มหาชนจำกัด (ญี่ปุ่น: 日本航空株式会社; โรมาจิ: Nihon Kōkū Kabushiki-gaisha) ดำเนินการในชื่อ เจแปนแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Japan Airlines) หรือย่อว่า เจเอแอล (JAL) เป็นสายการบินประจำชาติญี่ปุ่น ที่มีฐานการบินอยู่สองแห่งในโตเกียวคือท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะกับท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (ฮาเนดะ) และอีกสองแห่งในจังหวัดโอซากะคือท่าอากาศยานนานาชาติคันไซและท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (อิตามิ) ปัจจุบันมีเส้นทางบินระหว่างประเทศ 33 จุดหมายในทวีปเอเชีย, อเมริกา, ยุโรป และโอเชียเนีย และมีเส้นทางบินในประเทศ 59 จุดหมาย และสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่น รองจากออล นิปปอน แอร์เวย์
| |||||||
ก่อตั้ง | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1951 (73 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | |||||||
ท่ารอง | |||||||
เมืองสำคัญ | |||||||
สะสมไมล์ |
| ||||||
พันธมิตรการบิน | วันเวิลด์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 146 | ||||||
จุดหมาย | 125 | ||||||
บริษัทแม่ | เจแปนแอร์ไลน์ คอร์ปปอเรชั่น | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เขตชินางาวะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
รายได้ | 1.37 ล้านล้านเยน (ค.ศ. 2022)[2] | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | 64.56 พันล้านเยน (ค.ศ. 2022)[2] | ||||||
รายได้สุทธิ | 33.87 พันล้านเยน (ค.ศ. 2022)[2] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
สายการบินก่อตั้งในรูปแบบบริษัทเอกชนเมื่อ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1951 จากการผลักดันของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเริ่มบินเส้นทางภายในประเทศจากเครื่องบินที่เช่ามา ถือเป็นสายการบินภายในประเทศแห่งแรกของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาในปีค.ศ. 1953 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตรากฎหมายอนุมัติให้แจแปนแอร์ไลน์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยโอนทรัพย์และหนี้จากบริษัทเดิมทั้งหมด ตั้งแต่นั้นมาสายการบินนี้ก็ได้กลายเป็นสายการบินประจำชาติของญี่ปุ่น หลังดำเนินกิจการได้กว่าสามทศวรรษก็มีการแปรรูปสายการบินให้เป็นเอกชนเต็มตัวในปีค.ศ. 1987 เจแปนแอร์ไลน์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชินางาวะ กรุงโตเกียว
สายการบินเจแปนแอร์ไลน์มีประวัติเสียเครื่องบินทุกประเภทรวม 11 ลำแบ่งเป็นเครื่องขนส่งอากาศยานหนึ่งลำ เครื่องบินใช้ฝึกอบรม 2 ลำ[3] [4] เครื่องขนส่งผู้โดยสารและสินค้า 8 ลำ ในจำนวน 8 ลำ มีหนึ่งลำที่เสียเครื่องบินไปโดยไม่มีผู้โดยสารอยู่บินเครื่องได้แก่ เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 404
เจแปนแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ โดยต่อไปนี้:[5][6]
เจแปนแอร์ไลน์ได้มีข้อตกลงกิจการร่วมค้ากับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 เจแปนแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[29][30][31]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | J | W | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | — | 11 | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบในปี 2028[32] | ||||
แอร์บัส เอ350-900 | 15 | 3 | 12 | 94 | — | 263 | 369 | สั่งซื้อพร้อม 25 ตัวเลือก[33] หนึ่งลำจะส่งมอบในการจัดเรียงแบบภายในประเทศในปี 2025 เพื่อทดแทนอากาศยานที่เกิดเหตุเที่ยวบินที่ 516[32] |
56 | 323 | 391 | ||||||
— | 20 | รอประกาศ | ใช้การจัดเรียงแบบระหว่างประเทศ เริ่มส่งมอบในปี 2027[32] | |||||
แอร์บัส เอ350-1000 | 5 | 8[34] | 6 | 54 | 24 | 155 | 239[35] | ทดแทนโบอิง 777-300อีอาร์ |
โบอิง 737-800 | 42 | — | — | 12 | — | 132 | 144 | |
20 | 145 | 165 | การจัดเรียงแบบภายในประเทศ | |||||
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | — | 21 | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบในปี 2026[36] | ||||
โบอิง 767-300อีอาร์ | 25 | — | — | 24 | — | 175 | 199 | |
42 | 219 | 261 | การจัดเรียงแบบภายในประเทศ | |||||
5 | 205 | 252 | ||||||
โบอิง 777-300อีอาร์ | 12 | — | 8 | 49 | 40 | 147 | 244 | จะปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350-1000 รวมโบอิง 777-300อีอาร์ลำต้นแบบ (JA731J และ JA732J) |
โบอิง 787-8 | 19 | — | — | 30 | — | 156 | 186 | |
176 | 206 | |||||||
4 | 6 | 58 | 227 | 291 | การจัดเรียงแบบภายในประเทศ | |||
โบอิง 787-9 | 22 | 10 | — | 44 | 35 | 116 | 195 | ส่งมอบจนถึงปี ค.ศ. 2027[32] สั่งซื้อพร้อม 10 ตัวเลือก[37] |
52 | 203 | |||||||
28 | 21 | 190 | 239 | |||||
ฝูงบินของเจเอแอลคาร์โก | ||||||||
โบอิง 767-300บีซีเอฟ | 2 | 1 | สินค้า | [38] | ||||
รวม | 146 | 84 | ||||||
เจแปนแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.8 ปี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.