องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Civil Aviation Organization - ICAO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ มีสมาชิก 193 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา[2] ส่วนสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งอยู่ที่ ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[3] ตั้งอยู่ใกล้กับสวนวชิรเบญจทัศ สวนจตุจักร และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อย่อ, ก่อตั้ง ...
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ชื่อย่อไอเคโอ (ICAO)
ก่อตั้ง4 เมษายน 1947; 77 ปีก่อน (1947-04-04)
ประเภททบวงชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่มอนทรีออล รัฐเกแบ็ก ประเทศแคนาดา
ภาษาทางการ
  • อาหรับ
  • จีน
  • อังกฤษ
  • ฝรั่งเศส
  • รัสเซีย
  • สเปน
เลขาธิการ
Juan Carlos Salazar Gómez[1]
ประธานสภา
ซัลวาโตเร สซีอัคคิตาโน
องค์กรแม่
  • สมัชชารอบสามปี
  • สภาไอเคโอ
  • สำนักงานเลขาธิการไอเคโอ
เว็บไซต์icao.int
ปิด

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวางระเบียบข้อบังคับ สำหรับกิจกรรมการบินระหว่างประเทศระหว่างชาติ เป็นหน่วยงานชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ โครงการเร่งพัฒนาการบินพลเรือนนี้ เริ่มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการจัดตั้งคณะกรรมการเดินอากาศระหว่างประเทศ (International commission for Air Navigation - ICAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1947

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อประกันการขยายตัวของการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ให้เป็นไปด้วยความปลอดภัยและเป็นระเบียบเพื่อส่งเสริมศิลปะการออกแบบอากาศยานและการดำเนินการบินให้ไปสู่จุดมุ่งหมายในทางสันติ
  2. เพื่อส่งเสริมวิวัฒนาการการบิน ท่าอากาศยานและเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
  3. เพื่อสนองความต้องการของประชาคมของโลกในการขนส่งทางอากาศที่ปลอดภัย สม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพและถูกหลักเศรษฐกิจ
  4. ป้องกันการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการแข่งขันอันไม่ชอบธรรมระหว่างบริษัทการบิน
  5. เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการบินสำหรับการเดินอากาศระหว่างประเทศ
  6. ประกันบรรดาสิทธิระหว่างรัฐผู้ทำสัญญาจะได้รับการเคารพ และประกันสิทธิจะได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่ในการดำเนินการสายการบินระหว่างประเทศ
  7. หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติระหว่างรัฐผู้ทำสัญญา
  8. ส่งเสริมวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งหมดแห่งการบินของการเดินอากาศระหว่างประเทศ

หน้าที่

องค์กรนี้เป็นผู้จัดการกำหนดมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่ใช้ในกิจการการบินทุกประเภท โดยได้จัดทำในลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างนานาประเทศ รวมทั้งออกระเบียบข้อบังคับการเดินอากาศ การออกประกาศนียบัตรและการตรวจสอบเครื่องบิน การกำหนดคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินและเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างเครื่อง กำหนดลักษณะของท่าอากาศยาน กำหนดมาตรฐานระบบสื่อสารและวิทยุช่วยบิน กิจการศุลกากร คนเข้าเมือง ตลอดจนข้อบังคับว่าด้วยสุขภาพของผู้โดยสารเครื่องบิน สินค้า และพัสดุลำเลียงโดยทางเครื่องบิน และทำหน้าที่สอบสวนเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินเกิดขึ้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.