คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
กาตาร์แอร์เวย์
สายการบินแห่งชาติของประเทศกาตาร์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
กาตาร์แอร์เวย์ (อาหรับ: القطرية; อังกฤษ: Qatar Airways)[1] เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศกาตาร์ที่มีฐานอยู่ที่กรุงโดฮา สายการบินให้บริการบินสู่จุดหมายมากกว่า 173 แห่งทั่วโลก จัดเป็นหนึ่งในสายการบินที่เติบโตเร็วที่สุดเป็น 1 ใน 5 และสายการบินที่ได้รับการจัดอันดับจากสกายแทร็กซ์ให้อยู่ในอันดับ 5 ดาว ซึ่งในแต่ละปีมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 12 ล้านคน กาตาร์แอร์เวย์เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรการบินวันเวิลด์[2]
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2536 สายการบินกาตาร์แอร์เวย์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน เที่ยวบินแรกของสายการบินจากโดฮา, กาตาร์ ไปยัง บอมเบย์, อินเดียเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2537 ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ310 จำนวน 3 ลำ
กิจการองค์กร
สรุป
มุมมอง
บุคลากรหลัก
ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 Akbar Al Baker เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกาตาร์แอร์เวย์[3] ซึ่งได้รับตำแหน่งนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1996[4]
ลาออก 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023
กรรมสิทธิ์และบริษัทลูก
รัฐบาลประเทศกาตาร์เป็นเจ้าของกาตาร์แอร์เวย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[5][6] กาตาร์แอร์เวย์ยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ของอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์กรุ๊ป (IAG) รายใหญ่ที่สุด ด้วยกรรมสิทธิ์ 25.1%[7]
บริษัทลูก
กาตาร์แอร์เวย์มีบริษัทย่อยหลายบริษัท ได้แก่: กาตาร์แอร์คราฟ์แคเตอร์ริ่งคอมปานี, ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา, กาตาร์แอร์เวย์ฮอลิเดย์, ยูไนเต็ดมีเดียอินต์, กาตาร์ดูตี้ฟรี, กาตาร์เอวิเอชันเซอร์วิส, กาตาร์ดิสตรีบิวชั่นคอมปานี, และกาตาร์เอกซ์คลูทีฟ
กาตาร์แอร์เวย์คาร์โก

กาตาร์แอร์เวย์คาร์โก เป็นสายการบินย่อยสำหรับการส่งสินค้าของกาตาร์แอร์เวย์ โดยกาตาร์แอร์เวย์คาร์โก้เป็นสายการบินขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก[8] โดยเริ่มทำการบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติไคโรในปีค.ศ. 2009[9]
กาตาร์แอร์เวย์คาร์โก้ให้บริการเครื่องบินโบอิง 747-8F, และโบอิง 777เอฟ โดยได้สั่งซื้อโบอิง 777-8เอฟ เพิ่มเติม สายการบินเคยให้บริการแอร์บัส เอ330-200เอฟ และแอร์บัส เอ300-600เอฟ ในอดีต[10][11]
กาตาร์เอกซ์คลูทีฟ
กาตาร์เอกซ์คลูทีฟเป็นเครือบริษัทในเครือของกาตาร์แอร์เวย์ โดยมีลวดลายเครื่องบินสีขาวที่มี Oryx ที่เล็กกว่าเล็กน้อย ซึ่งทาสีด้วยสีเบอร์กันดีและสีเทาแบบดั้งเดิมของสายการบิน
เครื่องบินในฝูงบินของกาตาร์อมิริไฟลต์นั้นสวมลวดลายของกาตาร์แอร์เวย์ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสายการบินหรือกาตาร์เอกซ์คลูทีฟ
อัลมาฮาแอร์เวย์

อัลมาฮาแอร์เวย์เป็นสายการบินที่ต้นแบบซึ่งมีฐานอยู่ในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งต่อมามีฐานอยู่ในกาตาร์ โดยมีกาตาร์แอร์เวย์เป็นเจ้าของทั้งหมด ลวดลายของเครื่องบินจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสีเขียวแทนสีเบอร์กันดี มีการวางแผนที่จะเปิดตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 สายการบินได้รับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ320 จำนวน 4 ลำ
Remove ads
จุดหมายปลายทาง
ปัจจุบันกาตาร์แอร์เวย์ให้บริการเที่ยวบินไปยัง 173 จุดหมายปลายทางในตะวันออกกลาง เอเชีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ และออสเตรเลีย
ข้อตกลงการบินร่วม
กาตาร์แอร์เวย์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[12]
- แอร์บอตสวานา
- แอร์แคนาดา[13]
- อะแลสกาแอร์ไลน์
- อเมริกันแอร์ไลน์
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
- บางกอกแอร์เวย์ส
- บริติชแอร์เวย์
- บัลแกเรียแอร์
- คาเธ่ย์แปซิฟิค
- ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์[14]
- คอมแอร์
- ด็อยท์เชอบาน
- ฟินน์แอร์
- โกว์ลีญัสอาแอเรียส
- ไอบีเรีย[15]
- อินดีโก[16]
- เจแปนแอร์ไลน์
- เจ็ตบลูแอร์เวย์
- กลุ่มสายการบินลาตัม[17]
- มาเลเซียแอร์ไลน์
- มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์
- โอมานแอร์[18]
- รัวยาแลร์มาร็อก
- รอยัลจอร์แดเนียน
- รวันแอร์
- เอสเซเวนแอร์ไลน์[19]
- ซันแอร์[20]
- แอ็สแอนเซแอ็ฟ (ทางรถไฟ)[21]
- ศรีลังกันแอร์ไลน์
- บูเอลิง
ฝูงบิน
สรุป
มุมมอง
ฝูงบินปัจจุบัน
ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 กาตาร์แอร์เวย์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[22][23][24][25][26]
กาตาร์แอร์เวย์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.3 ปี
ฝูงบินในอดีต
กาตาร์แอร์เวย์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
Remove ads
การบริการ
โปรแกรมสะสมไมล์
สมาชิกของกาตาร์แอร์เวย์ สามารถสะสมไมล์ร่วมกับ ลุฟท์ฮันซา สายการบินของตะวันออกกลาง ออล นิปปอน แอร์เวย์ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ยูเอสแอร์เวย์และยังสามารถใช้ร่วมกับโรงแรมที่เข้าร่วมและบริษัทเช่ารถยนต์ได้
ห้องโดยสาร

กาตาร์แอร์เวย์ให้บริการที่นั่งสามระดับ: ชั้นหนึ่ง (First Class), ชั้นธุรกิจ (Business Class), และชั้นประหยัด (Economy Class) โดยจะมีระดับการบริการที่แตกต่างกันตามระดับที่นั่ง
Remove ads
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
- 1 มิถุนายน ค.ศ. 2006: เครื่องแอร์บัส เอ330-200 (เที่ยวบิน QR889) ออกจากโดฮาถึงเซี่ยงไฮ้ ประสบเหตุเครื่องยนต์ที่ 2 มีไฟลุกก่อนถึงท่าอากาศยานเซี่ยงไฮ้ นักบินได้ขอลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานเซี่ยงไฮ้[59]
- 19 เมษายน ค.ศ. 2007: แอร์บัส เอ 300-600อาร์ ทะเบียน A7-ABV เกิดไฟไหม้ที่ขณะซ่อมที่ท่าอากาศยานนานาชาติอาบูดาบี ได้รับความเสียหายหนักจนต้องปลดระวางไป[60][61]
- 8 ธันวาคม ค.ศ. 2017: แอร์บัส เอ321-200 ทะเบียน A7-AIB เกิดเพลิงไหม้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด เครื่องบินถูกนำไปซ่อมแซมก่อนนำกลับมาให้บริการอีกครั้งในภายหลัง[62]
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads