คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

โดฮา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โดฮาmap
Remove ads

โดฮา (อังกฤษ: Doha; อาหรับ: الدوحة) เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางทางการเงินหลักของประเทศกาตาร์ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกของประเทศ ทางเหนือของอัลวักเราะฮ์และทางใต้ของอัลเคาร์ นครนี้เป็นที่ตั้งของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ[2] และยังเป้นนครที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศ โดยประชากรมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศอาศัยอยู่ในโดฮาหรือชานเมืองรอบนคร[1]

ข้อมูลเบื้องต้น โดฮา الدوحة, ประเทศ ...
Remove ads

โดฮาได้รับการสถาปนาในคริสต์ทศวรรษ 1820 ในฐานะเมืองสาขาของอัลบิดดะอ์ เมื่อกาตาร์ประกาศเอกราชจากรัฐในอารักขาของบริติช โดฮาจึงได้รับการประกาศเป็นเมืองหลวงของประเทศใน ค.ศ. 1971[3]

นครนี้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการพัฒนารอบโดฮาระดับรัฐมนตรีครั้งแรกขององค์การการค้าโลก และยังได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพกีฬาหลายครั้ง เช่น เอเชียนเกมส์ 2006, แพนอาหรับเกมส์ 2011, เวิลด์บีชเกมส์ 2019, กีฬาทางน้ำชิงแชมป์โลก, วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์สโมสรโลก, ดับเบิลยูทีเอ รอบชิงชนะเลิศ และเกมส่วนใหญ่ในเอเชียนคัพ 2011 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 World Petroleum Council จัดการประชุมปิโตรเลียมโลกครั้งที่ 20 ที่โดฮา[4] นอกจากนี้ ตัวนครยังเป็นที่จัดงานการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 2012 และฟุตบอลโลก 2022[5]

Remove ads

ศัพทมูลวิทยา

กระทรวงเทศบาลและสิ่งแวดล้อมโดฮารายงานว่า ชื่อ "โดฮา" มีต้นตอจากศัพท์ภาษาอาหรับว่า เดาฮะฮ์ หมายถึง "ความกลม" ซึ่งสื่อถึงอ่าวโค้งมนล้อมรอบแนวชายฝั่งของนคร[6]

ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

สรุป
มุมมอง
Thumb
โดฮาถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติใน ค.ศ. 2010 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของนครนับตั้งแต่การค้นพบน้ำมันในคริสต์ทศวรรษ 1960

โดฮาตั้งอยู่บริเวณส่วนกลาง-ตะวันออกของประเทศกาตาร์ โดยชายฝั่งติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีความสูง 10 เมตร (33 ฟุต)[7] โดฮามีความเป็นนครอย่างมาก การถมที่ดินนอกชายฝั่งเพิ่มพื้นผิวที่ไป 400 เฮกตาร์และชายฝั่ง 30 กิโลเมตร[8] มีการสร้างท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัดขึ้นบนบริเวณที่ถมดินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ผิว 22 ตารางกิโลเมตร[9]

ภูมิอากาศ

โดฮามีสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน BWh) ที่มีฤดูร้อนยาวนานและร้อนจัด และฤดูหนาวที่อบอุ่นเล็กน้อยถึงอบอุ่นและสั้น อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) และมักถึง 45 องศาเซลเซียส (113 องศาฟาเรนไฮต์) ความชื้นมักต่ำสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในช่วงฤดูร้อน จุดน้ำค้างอาจสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) ตลอดช่วงฤดูร้อนโดยเฉลี่ย ตัวนครเกือบไม่มีหยาดน้ำฟ้า ส่วนในช่วงเดือนอื่นมีน้อยกว่า 20 มิลลิเมตร (0.79 นิ้ว)[10] อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่บันทึกมาอยู่ที่ 50.4 องศาเซลเซียส (122.7 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2010[11]

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลภูมิอากาศของโดฮา (ค.ศ. 1962–2013, สูงสุด ค.ศ. 1962–2013), เดือน ...
Remove ads

ประชากร

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, ประชากร ...
ข้อมูลเพิ่มเติม ประชากรทั้งหมดในเขตมหานครโดฮา, ปี ...

ประชากรในประเทศกาตาร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในโดฮาและในเขตมหานคร[27] เขตที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดคืออันนะญาดะฮ์ ซึ่งก็เป็นบริเวณที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ ความหนาแน่นประชากรทั่วเขตมหานครโดฮาอยู่ในช่วง 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตรถึง 25-50 คนต่อตารางกิโลเมตร[28] โดฮาเผชิญกับอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งดึงดูดประชากรส่วนใหญ่หลายพันคนที่อพยพไปยังกาตาร์ทุกเดือน[29]:6

กลุ่มชาติพันธุ์และภาษา

ประชากรในโดฮาเต็มไปด้วยชาวต่างชาติ ส่วนชาวกาตาร์เป็นชนกลุ่มน้อย ชาวต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุดมาจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนใหญ่มาจากอินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, เนปาล, ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ และมีชาวต่างชาติจำนวนมากประเทศอาหรับแถบลิแวนต์, จิบูตี, โซมาเลีย, แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก โดฮายังเป้นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติหลายคนจากยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย[30]

Thumb
ป้ายจราจรสองภาษาในโดฮาระบุหมายเลขโซน ชื่อถนน และหมายเลขถนนของถนนสองเส้นที่ตั้งฉากกัน

ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการในประเทศกาตาร์ ส่วนภาษาอังกฤษโดยทั่วไปใช้เป็นภาษาที่สอง[31] และเริ่มกลายเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในด้านการค้า[32] เนื่องจากมีประชากรต่างชาติจำนวนมาก มำให้ภาษาอย่างมลยาฬัม, ทมิฬ, เบงกอล, ตากาล็อก, สเปน, สิงหล, ฝรั่งเศส, อูรดู และฮินดีมีผู้พูดอย่างแพร่หลาย[30]

ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, ชาวกาตาร์ ...

ศาสนา

พลเมืองในโดฮาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม[37] ส่วนประชากรชาวคริสต์ 150,000 คนในโดฮา แบ่งออกเป็นผู้ที่นับถือโรมันคาทอลิกมากกว่า 90%[38] หลังเอมีร์ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาในการจัดสรรที่ดินแก่โบสถ์ โบสถ์แม่พระแห่งลูกประคำเปิดให้สักการะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 โครงสร้างโบสถ์เป็นแบบพินิจพิเคราะห์ และไม่มีการแสดงสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ที่ด้านนอกอาคาร[39]

Remove ads

เขตการปกครอง

เขต

ในช่วงที่เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดฮามีเพียง 9 เขตหลัก[40] ในสำมะโน ค.ศ. 2010 มีบันทึกเขตในเทศบาลโดฮามากกว่า 60 เขต[41] จำนวนเขตด้านล่างคือตัวอย่างบางส่วน ดังนี้:

  • อัลบิดดะอ์ (البدع)
  • อัดดัฟนะฮ์ (الدفنة)
  • อัลฆอนิม (الغانم)
  • อัลมัรคียะฮ์ (المرخية)
  • อัสซัดด์ (السد)
  • อัลวะอับ (الوعب)
  • ฟะรีจญ์ บิน มะห์มูด (فريج بن محمود)
  • มะดีนะฮ์ เคาะลีฟะฮ์ (مدينة خليفة)
  • มุชัยริบ (مشيرب)
  • นัจญ์มะฮ์ (نجمه)
  • ท่าอากาศยานเก่า (المطار القديم)
  • อัลกุฏ็อยฟียะฮ์ (القطيفية)
  • รอสอะบูอะบูด (راس أبو عبود)
  • อัรรุมัยละฮ์ (الرميلة)
  • อุมม์ฆุวัยลีนะฮ์ (ام غو يلينه)
  • เวสต์เบย์ (الخليج الغربي)

หลังกาตาร์เป็นเอกราชไม่นาน มาหลายเขตในโดฮาเก่า ซึ่งรวมไปถึงอันนะญาดะฮ์, Al Asmakh และอัลฮิตมีเก่าเผชิญกับการเสื่อมถอยทีละน้อยและเป็นผลให้สถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถูกทำลาย[42] ส่วนรัฐบาลหันไปมุ่งเน้นในพื้นที่อ่าวโดฮา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตอัดดัฟนะฮ์และเวสต์เบย์[42]

Remove ads

เศรษฐกิจ

น้ำมันและแก๊สธรรมชาติของกาตาร์ส่วนมาก เป็นตัวสำคัญทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า และโดฮายังเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกด้วย เศรษฐกิจโดฮาสร้างรายได้กับประเทศได้อย่างมหาศาล รัฐบาลกาตาร์พยายามที่จะกระจายการลงทุนในการสั่งซื้อน้ำมันอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการขยายตัวเมืองขึ้นมาก

สายการบิน กาตาร์แอร์เวย์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโดฮา

การคมนาคม

Thumb
ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาเก่า

โดฮา มีการพัฒนาการคมนาคมอย่างมาก เช่น การสร้างทางหลวงสายใหม่ การสร้างท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาใหม่ และวางแผนสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งการคมนาคมของโดฮาเติบโตในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น

การศึกษา

Thumb
มหาวิทยาลัยกาตาร์

สถานบันอุดมศึกษาในโดฮา

สถานบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในโดฮา

  • มหาวิทยาลัยกาตาร์
  • College of the North Atlantic
  • มหาวิทยาลัยซีเอชเอ็น
  • มหาวิทยาลัยคาลการี
Remove ads

กีฬา

ฟุตบอล

Thumb
อัสซัดด์เป้นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในกาตาร์สตาร์ลีก

ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมที่สุดในโดฮา โดยมีสโมสรฟุตบอลจากโดฮาถึง 6 ทีมในกาตาร์สตาร์ลีก ลีกฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ ได้แก่ อัลอะฮ์ลี, อัลอะเราะบี, อัสซัดด์, อัดดุฮัยล์ และกาตาร์[43] อัสซัดด์ อัลอะเราะบี และกาตาร์เป็น 3 สโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ลีก[44]

มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในโดฮาหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดคือเอเชียนคัพใน ค.ศ. 1988 และ2011[45] กับฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก 1995[46]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 กาตาร์ชนะสิทธิ์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022[47]

เมืองพี่น้อง

เมืองพี่น้องของนครโดฮา ได้แก่:

Remove ads

ห้องแสดงภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads