ปักกิ่ง
เมืองหลวงของประเทศจีน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองหลวงของประเทศจีน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปักกิ่ง ในภาษากวางตุ้ง (จีน: 北京; ยฺหวิดเพ็ง: ) หรือ เป่ย์จิง ในภาษาจีนกลาง (พินอิน: ) เป็นเมืองหลวงของประเทศจีน และเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 22 ล้านคน[8] และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีนรองจากเซี่ยงไฮ้[9] ตั้งอยู่ในภูมิภาคตอนเหนือของจีน อยู่ในฐานะนครที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงโดยรัฐบาลกลาง แบ่งการปกครองออกเป็น 16 เขต[10] นครปักกิ่งถูกล้อมรอบด้วยมณฑลเหอเป่ย์เกือบสมบูรณ์ ยกเว้นทางตะวันออกเฉียงใต้ที่ติดกับนครเทียนจิน ทั้งหมดถูกรวมเรียกเป็นเขตมหานครจิงจินจี ปักกิ่งได้รับการจัดอันดับโดยไนท์แฟรงค์ ผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำให้เป็นหนึ่งในสิบเมืองที่มีความสำคัญที่สุดของโลก[11]
ปักกิ่ง 北京 เป่ย์จิง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
北京市 นครปักกิ่ง | |||||||||||
ที่ตั้งของนครปักกิ่งในประเทศจีน | |||||||||||
พิกัด (เสาธง จัตุรัสเทียนอันเหมิน): 39°54′24″N 116°23′51″E | |||||||||||
ประเทศ | จีน | ||||||||||
ก่อตั้ง | 1045 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||||
ผู้ก่อตั้ง | ราชวงศ์โจว (ราชวงศ์โจวตะวันตก) | ||||||||||
ที่ตั้งที่ทำการ | เขตทงโจว | ||||||||||
เขตการปกครอง • ระดับอำเภอ • ระดับตำบล | 16 เขต 343 เมืองและแขวง | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
• ประเภท | นครปกครองโดยตรง | ||||||||||
• องค์กร | สภาประชาชนแห่งนครปักกิ่ง | ||||||||||
• เลขาธิการพรรคประจำนคร | หยิ่น ลี่ | ||||||||||
• ประธานสภา | หลี่ ซิ่วหลิ่ง | ||||||||||
• นายกเทศมนตรี | ยิน หย่ง | ||||||||||
• ประธานสภาที่ปรึกษาการเมือง | เว่ย์ เสี่ยวตง | ||||||||||
• ตัวแทนสภาประชาชนแห่งชาติ | 54 เขต | ||||||||||
พื้นที่[1] | |||||||||||
• นคร | 16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์) | ||||||||||
• พื้นดิน | 16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์) | ||||||||||
• เขตเมือง | 16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์) | ||||||||||
• รวมปริมณฑล | 12,796.5 ตร.กม. (4,940.8 ตร.ไมล์) | ||||||||||
ความสูง | 43.5 เมตร (142.7 ฟุต) | ||||||||||
ความสูงจุดสูงสุด (หลิงชาน) | 2,303 เมตร (7,556 ฟุต) | ||||||||||
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2020)[2] | |||||||||||
• นคร | 21,893,095 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่น | 1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• เขตเมือง | 21,893,095 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• รวมปริมณฑล | 22,366,547 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,700 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• อันดับในประเทศจีน | ประชากร: ที่ 27; ความหนาแน่น: ที่ 4 | ||||||||||
กลุ่มชาติพันธุ์หลัก | |||||||||||
• ฮั่น | 95% | ||||||||||
• แมนจู | 2% | ||||||||||
• หุย | 2% | ||||||||||
• มองโกล | 0.3% | ||||||||||
• อื่น ๆ | 0.7% | ||||||||||
เขตเวลา | UTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน) | ||||||||||
รหัสไปรษณีย์ | 100000–102629 | ||||||||||
รหัสพื้นที่ | 10 | ||||||||||
รหัส ISO 3166 | CN-BJ | ||||||||||
จีดีพี[3] | ค.ศ. 2021 | ||||||||||
• เฉลี่ย | 4.03 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 634.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย) [4] 965.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[5] | ||||||||||
• ต่อหัว | 184,075 เหรินหมินปี้ 28,975 ดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย)[4] 44,110 ดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[6] | ||||||||||
• การเติบโต | 8.5% | ||||||||||
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.904[7] (ที่ 1) – สูงมาก | ||||||||||
อักษรหน้าป้ายทะเบียน | 京A, C, E, F, H, J, K, L, M, N, P, Q, Y 京B (แท็กซี่) 京G (นอกตัวเมือง) 京O, D (ตำรวจและเจ้าหน้าที่) | ||||||||||
อักษรย่อ | BJ / 京 (jīng) | ||||||||||
ภูมิอากาศ | Dwa | ||||||||||
เว็บไซต์ | beijing.gov.cn english.beijing.gov.cn | ||||||||||
|
ปักกิ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ปักกิ่ง" ในอักษรจีนแบบทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 北京 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Běijīng | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Peking[lower-alpha 1] Peiping (1368–1403; 1928–1937; 1945–1949) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เมืองหลวงทางทิศเหนือ" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ปักกิ่งเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน และเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[12] ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งสืบย้อนหลังไปมากกว่าสามพันปี มีประวัตินับตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของประเทศมาเป็นเวลาเกือบแปดศตวรรษ[13] และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยจำนวนประชากรในช่วงสหัสวรรษที่สองของคริสตศักราช[14] ปักกิ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 จักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ก่อสร้างและออกแบบผังเมืองใหม่ และย้ายฐานราชการชั่วคราวในขณะนั้นจากเมืองหนานจิงมายังปักกิ่งในปัจจุบัน และด้วยทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีภูเขาล้อมรอบเมืองทั้งสามด้าน นอกเหนือจากกำแพงเมืองเก่าด้านใน และด้านนอกแล้ว ปักกิ่งยังมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สงครามตั้งแต่สมัยโบราณ และใช้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิจีน จึงเป็นสถานที่อันสมบูรณ์แบบสำหรับเมืองหลวงของจักรวรรดิจีน เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านพระราชวัง, วัดจีน, สวนสาธารณะ, สวนหย่อม, สุสาน, กำแพง และประตูเมือง ปักกิ่งได้รับการยอมรับได้ด้านการผสมผสานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และสถาปัตยกรรมดั้งเดิม โดยฟากหนึ่งของเมืองได้รับการตกแต่งตามแบบสถาปัตกรรมสมัยใหม่ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งยังคงความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมด้วยสถาปัตยกรรมหู่ท่ง
ปัจจุบันปักกิ่งมีฐานะเป็นเมืองระดับโลก (Global City) และเป็นหนึ่งในผู้นำโลกทางเศรษฐกิจ, วัฒนธรรม, การทูต, การเมือง, การค้าและการลงทุน, การศึกษา, นวัตกรรม, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การคมนาคม และ ศิลปะ ปักกิ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทตา่ง ๆ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในจีน รวมทั้งเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำของโลกโดยฟอร์จูน โกลบอล 500 มากที่สุดในโลก และมีจำนวนสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกวัดตามมูลค่าทรัพย์สินโดยรวม[15] และเป็นที่ตั้งของทางหลวงแผ่นดิน, รถไฟ และระบบขนส่งมวลชนเร็วชั้นนำของประเทศ และเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษก่อนการระบาดทั่วของโควิด-19 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งมีสถานะเป็นท่าอากาศยานที่พลุกพล่านที่สุดในทวีปเอเชีย (ค.ศ. 2009–2019) และใน ค.ศ. 2020 รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เป็นรถไฟใต้ดินที่พลุกพล่านเป็นอันดับสี่และมีเส้นทางการบริการยาวเป็นอันดับสองของโลก ท่าอากาศยานนานาชาติเป่ย์จิงต้าซิง ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองของปักกิ่ง มีอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[16][17] เมืองนี้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพงานสำคัญระดับนานาชาติ และการแข่งขันกีฬาระดับโลกหลายครั้ง รวมถึงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และ พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยใน ค.ศ. 2022 ปักกิ่งกลายเป็นเมืองแรกของโลกที่ได้เป็นเจ้าภาพครบทั้งโอลิมปิกฤดูร้อน และโอลิมปิกฤดูหนาว
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปักกิ่งคิดเป็นจำนวนมากถึงหนึ่งในห้ามหาวิทยาลัยชั้นหนึ่งของโลก (Double First-Class Construction) และหลายแห่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และของโลกอย่างต่อเนื่อง[18][19] และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา และ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีน[20][21][22] ย่านศูนย์กลางธุรกิจของปักกิ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยมีการก่อสร้างตึกระฟ้าหลายแห่งที่กำลังดำเนินการ และที่เพิ่งสร้างแล้่วเสร็จเมื่อไม่นานมานี้ พื้นที่ย่านจงกวนชุนของปักกิ่งถือเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโลก ด้านนวัตกรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการลงทุนจากผู้ประกอบการทั่วโลก ปักกิ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดโดย Nature Index นับตั้งแต่เริ่มจัดอันดับใน ค.ศ. 2016[23] ปักกิ่งมีสถานทูตต่างชาติมากถึง 175 แห่ง ตลอดจนสำนักงานใหญ่ขององค์กรต่าง ๆ รวมถึง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย, องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้, กองทุนเส้นทางสายไหม, สถาบันการศึกษาแห่งชาติ, สถาบันการศึกษาแห่งชาติด้านวิศวกรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน, วิทยาลัยศิลปกรรมกลาง, โรงเรียนการละครกลาง, วิทยาลัยดนตรีกลาง และ สภากาชาดจีน
ปักกิ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก ใน ค.ศ. 2018 เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากเซี่ยงไฮ้[24] มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน, กำแพงเมืองจีน, พระราชวังฤดูร้อน และ พระราชวังต้องห้าม สถานที่อื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ หอสักการะฟ้า, มหาศาลาประชาชน และ โรงละครแห่งชาติ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งเป็นสนามกีฬาหลักที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ปักกิ่งยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณธ์ และภัตตาคารที่มีชื่อเสียง โดยหลายแห่งได้รับการยกย่องโดยมิชลินไกด์[25] ปักกิ่งมีแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกจำนวน 8 แห่ง ซื่อเหอหยวนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่พบได้ทั่วไปทั่วประเทศจีน ยังพบเห็นได้มากที่สุดในปักกิ่ง
ตลอด 3,000 ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งมีชื่อเรียกอื่น ๆ จำนวนมาก ชื่อในภาษาจีนกลางคือ เป่ย์จิง (พินอิน: ) แปลว่า "เมืองหลวงทางทิศเหนือ" (จากอักษรจีน 北 běi ที่แปลว่า "ทิศเหนือ" และ 京 jīng ที่แปลว่า "เมืองหลวง") ซึ่งถูกนำมาใช้เมื่อ ค.ศ. 1403 ในสมัยราชวงศ์หมิง เพื่อแยกความแตกต่างจากหนานจิง ("เมืองหลวงทางทิศใต้")[26] ส่วนคำว่า ปักกิ่ง ที่นิยมเรียกในภาษาไทยเป็นชื่อเรียกในภาษากวางตุ้งมาตรฐาน (ยฺหวิดเพ็ง: ; ปั๊กกิ๊ง)
การสะกดด้วยอักษรโรมัน Beijing มาจากการถอดอักษรจีนเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการของรัฐบาล (นำมาใช้ในคริสต์ทศวรรษ 1980) ตามที่ออกเสียงในภาษาจีนกลางมาตรฐาน การสะกดคำด้วยอักษรโรมันแบบเก่าคือ Peking ถูกใช้โดยมิชชันนารีนิกายเยซุอิตที่ชื่อ มาร์ติโน มาร์ตินี ในแผนที่ที่ใช้แพร่หลายที่ตีพิมพ์ในอัมสเตอร์ดัมใน ค.ศ. 1655[27] แม้ว่าคำว่า Peking จะไม่ใช่ชื่อที่ใช้กันอย่างทั่วไปแล้ว แต่สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เก่าแก่ของเมืองบางแห่ง เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง ซึ่งยังใช้รหัส IATA เป็น PEK และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (อังกฤษ: Peking University) ก็ยังคงรักษาการใช้อักษรโรมันแบบเดิมไว้
ตัวย่ออักษรจีนตัวเดียวสำหรับปักกิ่งคือ 京 (จิง) ซึ่งปรากฏบนป้ายทะเบียนรถยนต์ในปักกิ่ง และตัวย่ออักษรละตินอย่างเป็นทางการของปักกิ่งคือ "BJ"[28]
ปักกิ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี เป็นเมืองหลวงโบราณของจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวม 5 ราชวงศ์ และเมื่อสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 ก็ได้ตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน เมื่อ 110 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นที่ตั้งของแคว้นจี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซีโจว ต่อมาเมื่อถึงกลางของยุคชุนชิว (770–476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แคว้นเยียนได้รวมดินแดนของแคว้นจี้เข้าไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นแคว้นฉินก็ได้ตีเอาดินแดนมาเป็นของตนเมื่อ 226 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 1481 ดินแดนของแคว้นจี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวงของแคว้นเหลียวซึ่งก่อตั้ง ขึ้นโดยชนชาติชี่ตัน และตั้งชื่อใหม่ว่าหนานจิง หรือเยียนจิง
ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่เยียนจิงใน ค.ศ. 1696 โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงใน ค.ศ. 1810 จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมากมาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีนและของโลก
ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคแรกสุดในเขตนครปักกิ่งถูกพบในถ้ำเขากระดูกมังกร หรือหลงกู่ชาน (龙骨山) บริเวณพื้นที่โจวโข่วเตี้ยน ในเขตฝางชาน ซึ่งเป็นถ้ำที่มนุษย์ปักกิ่งอาศัยอยู่ ฟอสซิล Homo erectus จากถ้ำนี้มีอายุ 230,000 ถึง 250,000 ปี Homo sapiens ในยุคหินเก่าก็อาศัยอยู่ที่นั่นเช่นกันเมื่อประมาณ 27,000 ปีก่อน[29] นักโบราณคดีได้ค้นพบการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ทั่วทั้งเขตนครปักกิ่ง แม้แต่ในหวางฝูจิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางปักกิ่ง
เมืองที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบแห่งแรกในปักกิ่งคือ จี้เฉิง เมืองหลวงของรัฐจี้ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 1,045 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อเทียบกับปักกิ่งในปัจจุบัน จี้เฉิงจะตั้งอยู่รอบ ๆ พื้นที่กว่างอันเหมิน ทางตอนใต้ของเขตซีเฉิง[30] จี้เฉิงถูกยึดครองโดยรัฐยานในเวลาต่อมาและได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวง[31]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตัวเอ๋อร์กุ่นได้สถาปนาราชวงศ์ชิงในฐานะที่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง (ลดความชอบธรรมของหลี่ จื้อเฉิง และเหล่าผู้ติดตาม)[32] และปักกิ่งก็กลายเป็นเมืองหลวงเพียงแห่งเดียวของจีน[33] จักรพรรดิราชวงศ์ชิงทรงได้ทำการปรับเปลี่ยนที่ประทับของจักรพรรดิบางส่วน แต่อาคารส่วนใหญ่และการวางผังทั่วไปที่มีมาตั้งแต่ราชวงศ์หมิงยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มีการนำสิ่งของและประเพณีต่าง ๆ ตามแบบวัฒนธรรมของชาวแมนจูมาใช้ แต่ก็ยังคงประเพณีของชาวฮั่นไว้บางส่วน มีการเขียนป้ายทั้งแบบภาษาจีนและแบบสองภาษา ปักกิ่งในยุคราชวงศ์ชิงตอนต้นนี้ในเวลาต่อมาได้มาเป็นฉากท้องเรื่องในนวนิยายจีนเรื่อง ความฝันในหอแดง จักรพรรดิราชวงศ์ชิงทรงสร้างสวนขนาดใหญ่หลายแห่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง เช่น พระราชวังฤดูร้อนเดิม และพระราชวังฤดูร้อน
ในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กองกำลังทหารอังกฤษและฝรั่งเศสยึดครองพื้นที่ชานเมือง โดยได้ทำการปล้นสะดมและเผาพระราชวังฤดูร้อนเดิมใน ค.ศ. 1860 เพื่อในการยุติสงครามดังกล่าว มหาอำนาจตะวันตกจะได้รับสิทธิเป็นครั้งแรกในการสถาปนาสถานทูตถาวรภายในเมืองภายใต้อนุสัญญาปักกิ่ง (Convention of Peking)[lower-alpha 2] ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 15 สิงหาคม ค.ศ. 1900 ยุทธการที่ปักกิ่งได้เกิดขึ้น ซึ่งการสู้รบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์กบฏนักมวย เป็นความพยายามของเหล่านักมวยที่จะกำจัดการเข้ามาอยู่ของต่างชาติ รวมถึงชาวจีนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ในระหว่างการสู้รบ มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญหลายแห่งที่ถูกทำลาย เช่น สถาบันฮั่นหลิน และพระราชวังฤดูร้อน (แห่งใหม่) ท้ายที่สุดนำไปสู่การยึดครองปักกิ่งโดยพันธมิตรแปดชาติ[36] ได้มีการลงนามพิธีสารนักมวย ซึ่งเป็นข้อตกลงระงับความวุ่นวายที่ลงนามกันระหว่างพันธมิตรแปดชาติ กับตัวแทนของรัฐบาลจีน หลี่ หงจาง และอี้ควาง เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1901 พิธีสารดังกล่าวกำหนดให้จีนต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) พร้อมดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา 39 ปี และต้องมีการประหารชีวิตหรือเนรเทศผู้สนับสนุนนักมวยและต้องรื้อถอนป้อมปราการและการป้องกันอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของจีน สิบวันหลังจากการลงนามในพิธีสาร กองทัพต่างประเทศได้ถอนออกไปจากปักกิ่ง แต่หน่วยคุ้มกันคณะทูตยังคงอยู่ที่นั่นจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง[37]
หลังจากการลงนามในพิธีสาร ซูสีไทเฮาเสด็จกลับปักกิ่งเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1902 หลังจากทรงลี้ภัยที่ซีอาน และดำเนินการปฏิรูปการเมืองการปกครองของราชวงศ์ชิง แม้ว่าจะอ่อนแอลงมากจากความพ่ายแพ้ที่ได้รับหลังจากเหตุการณ์กบฏนักมวยและจากการชดใช้ตามข้อกำหนดของข้อตกลงสันติภาพ[38] พระนางสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1908 และราชวงศ์ชิงล่มสลายลงเมื่อ ค.ศ. 1911
ผู้ก่อการปฏิวัติซินไฮ่ใน ค.ศ. 1911 พยายามเปลี่ยนการปกครองของจักรวรรดิชิงเป็นสาธารณรัฐ และผู้นำอย่างซุน ยัตเซ็น เดิมตั้งใจที่จะย้ายเมืองหลวงไปที่หนานจิง หลังจากที่แม่ทัพราชวงศ์ชิง ยฺเหวียน ชื่อไข่ บังคับจักรพรรดิชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติและรับรองความสำเร็จของการปฏิวัติ เหล่านักปฏิวัติก็ยอมรับเขาในฐานะประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน ยฺเหวียนรักษาเมืองหลวงของเขาไว้ที่ปักกิ่งและรวมอำนาจอย่างรวดเร็วแล้วสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 1915 การเสียชีวิตของเขาในอีกไม่ถึงหนึ่งปีต่อมา[39] ทำให้จีนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกที่สั่งการกองทัพตามภูมิภาคต่าง ๆ หลังจากความสำเร็จของการกรีธาทัพขึ้นเหนือของพรรคก๊กมินตั๋ง เมืองหลวงก็ถูกย้ายไปที่หนานจิงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1928 และในวันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกันนั้น ชื่อของปักกิ่งก็ถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นชื่อ "เป่ย์ผิง" (ในขณะนั้นเขียนว่า "Peiping")[40][41]
ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองพลที่ 29 ของจีนและกองทัพญี่ปุ่นในจีนได้ยิงปะทะกันที่สะพานมาร์โก โปโล ใกล้กับป้อมหว่านผิง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโลนี้กระตุ้นให้เกิดสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามโลกครั้งที่สองตามที่รับรู้ในประเทศจีน[40] ระหว่างสงคราม ปักกิ่งพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1937[42] และปักกิ่งก็กลายเป็นฐานที่ตั้งของรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ปกครองพื้นที่ทางตอนเหนือของจีน[43] ต่อมารัฐบาลนี้ก็ถูกรวมเข้ากับรัฐบาลวาง จิงเว่ย์ที่ใหญ่กว่าซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในหนานจิง[44]
ในช่วงสุดท้ายของสงครามกลางเมืองจีน กองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้ายึดควบคุมเมืองอย่างสันติเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของยุทธการผิงจิน ในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน เหมา เจ๋อตงได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนบนเทียนอันเหมิน เขาได้เปลี่ยนชื่อเมืองซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ของจีนให้กลับมาชื่อปักกิ่งดังเดิม[45] ซึ่งเป็นการตัดสินใจของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้
ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ตัวเมืองเริ่มขยายตัวเกินกว่าเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบเก่าและบริเวณใกล้เคียง โดยมีอุตสาหกรรมหนักทางตะวันตกและย่านที่อยู่อาศัยทางตอนเหนือ กำแพงเมืองปักกิ่งหลายแห่งถูกทำลายลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อเปิดทางให้มีการก่อสร้างรถไฟใต้ดินปักกิ่งและถนนวงแหวนรอบที่ 2
ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมระหว่าง ค.ศ. 1966 ถึง 1976 ขบวนการยุวชนแดงได้เริ่มขึ้นในปักกิ่ง และรัฐบาลของเมืองตกเป็นเหยื่อของการกวาดล้างครั้งแรก เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1966 โรงเรียนในเมืองทั้งหมดถูกปิดลง และยุวชนแดงกว่าล้านคนจากทั่วประเทศมารวมตัวกันในปักกิ่งเพื่อชุมนุมแปดครั้งในจัตุรัสเทียนอันเหมินกับเหมา[46] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1976 มีการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อประชาชนปักกิ่งที่รวมตัวกันครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านแก๊งสี่คนและการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1976 แก๊งสี่คนถูกจับกุมในจงหนานไห่ และการปฏิวัติทางวัฒนธรรมก็ได้สิ้นสุดลง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 ที่ประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 แห่งคณะกรรมการกลางพรรรคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ในปักกิ่งภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้กลับคำตัดสินต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการปฏิวัติวัฒนธรรม และเริ่มต้น "นโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง"
นับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ตัวเมืองปักกิ่งได้ขยายตัวอย่างมาก มีการสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 2 แล้วเสร็จใน ค.ศ. 1981 และได้มีการเพิ่มถนนวงแหวนรอบที่ 3, 4, 5 และ 6 ในเวลาต่อมา[47][48] จากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งใน ค.ศ. 2005 รายงานว่า ขนาดของปักกิ่งที่พัฒนาใหม่นั้นใหญ่กว่าเมื่อก่อนถึงหนึ่งเท่าครึ่ง[49] ย่านหวางฝูจิ่งและซีตันได้พัฒนาจนกลายเป็นย่านช็อปปิงที่เจริญรุ่งเรือง[50] ในขณะที่ย่านจงกวนชุนกลายเป็นศูนย์กลางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในจีน[51] ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การขยายตัวของปักกิ่งยังนำมาซึ่งปัญหาบางประการ เช่น การจราจรหนาแน่น คุณภาพอากาศไม่ดี การสูญเสียย่านประวัติศาสตร์ และการหลั่งไหลเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญของแรงงานอพยพจากพื้นที่ชนบทของประเทศที่มีการพัฒนาน้อย[52] ปักกิ่งยังเป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มากมายในประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ โดยเฉพาะเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989[53] ปักกิ่งยังเป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญระดับนานาชาติอีกด้วย เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2008, กรีฑาชิงแชมป์โลก 2015 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ทำให้เป็นเมืองแรกที่เคยเป็นเจ้าภาพทั้งโอลิมปิกฤดูหนาวและฤดูร้อน[54]
ปักกิ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของที่ราบจีนตอนเหนือที่มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเปิดโล่งไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเมือง ภูเขาที่รายล้อมอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก เป็นปราการปกป้องตัวเมืองและพื้นที่เกษตรกรรมทางตอนเหนือของจีนจากการรุกล้ำของทะเลทรายและทุ่งหญ้าสเตปป์ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง โดยเฉพาะเขตหยานชิ่งและเขตหฺวายโหรว เป็นพื้นที่ที่มีเทือกเขาจฺวินตูปกคลุม ในขณะที่ส่วนตะวันตกล้อมรอบด้วยซีชานหรือเนินเขาตะวันตก กำแพงเมืองจีนที่อยู่ทางตอนเหนือของเขตนครปักกิ่งถูกสร้างขึ้นบนภูมิประเทศที่ขรุขระเพื่อป้องกันการรุกรานของกลุ่มชนเร่ร่อนจากพื้นที่ทุ่งหญ้าสเตปป์ จุดที่สูงที่สุดในนครปักกิ่งอยู่ที่เขาตงหลิง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เนินเขาตะวันตกและคาบเกี่ยวกับอาณาเขตของมณฑลเหอเป่ย์ โดยมีระดับความสูง 2,303 เมตร (7,556 ฟุต)
แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านเขตนครปักกิ่ง ได้แก่ แม่น้ำเฉาไป๋ แม่น้ำหย่งติ้ง แม่น้ำจฺวี้หม่า ล้วนเป็นแม่น้ำสาขาในระบบแม่น้ำไห่ และไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อ่างเก็บน้ำมี่ยฺหวินที่อยู่บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำเฉาไป๋เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเขตนครปักกิ่ง ปักกิ่งยังเป็นที่ตั้งของจุดเริ่มต้นทางทิศเหนือของคลองใหญ่ (ต้า-ยฺวิ่นเหอ) ที่ทอดยาวไปถึงหางโจว ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 1,400 ปีก่อนเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคม และโครงการผันน้ำใต้–เหนือ ซึ่งสร้างขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมาเพื่อผันน้ำจากลุ่มแม่น้ำแยงซี
พื้นที่ตัวเมืองของปักกิ่งตั้งอยู่บนที่ราบทางตอนใต้ของเขตนครปักกิ่ง มีระดับความสูง 40 ถึง 60 เมตร (130 ถึง 200 ฟุต) ครอบครองพื้นที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดเขตนครปักกิ่งที่มีพื้นที่โดยรอบไว้เพื่อรองรับขยายตัวของเมือง ตัวเมืองแผ่กระจายออกไปตามถนนวงแหวนที่ล้อมรอบศูนย์กลางเมือง ถนนวงแหวนรอบที่สองมีเส้นทางไปตามกำแพงเมืองเก่า และถนนวงแหวนรอบที่หกเป็นเส้นทางเชื่อมต่อเมืองบริวารในแถบชานเมืองโดยรอบ ที่ใจกลางปักกิ่งเป็นที่ตั้งของเทียนอันเหมินและจัตุรัสเทียนอันเหมิน อยู่ทางทิศใต้ของพระราชวังต้องห้าม ซึ่งเป็นที่ประทับเดิมของจักรพรรดิจีน และทางทิศตะวันตกของเทียนอันเหมินคือจงหนานไห่ ซึ่งเป็นที่พำนักของผู้นำคนปัจจุบันของจีน มีถนนฉางอาน ซึ่งตัดคั่นกลางระหว่างเทียนอันเหมินกับจัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นแนวถนนที่ทำให้เกิดแกนหลักในแนวตะวันออก–ตะวันตกหลักของเมือง
รูปแบบการพัฒนาของปักกิ่งจากเมืองเก่าชั้นในไปจนถึงชายขอบเมืองมักถูกเรียกว่า "แพร่กระจายเหมือนแพนเค้ก" (tan da bing)[55]: 135 รูปแบบของการพัฒนาแบบนี้มักถูกอ้างถึงว่าเป็นสาเหตุของปัญหาในเมืองปักกิ่ง[55]: 135
นครปักกิ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ข้อมูลภูมิอากาศของปักกิ่ง | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 12.9 (55.2) |
19.8 (67.6) |
26.4 (79.5) |
33.0 (91.4) |
38.3 (100.9) |
40.6 (105.1) |
41.9 (107.4) |
36.1 (97) |
34.4 (93.9) |
29.8 (85.6) |
22.0 (71.6) |
19.5 (67.1) |
42.6 (108.7) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 1.8 (35.2) |
5.0 (41) |
11.6 (52.9) |
20.3 (68.5) |
26.0 (78.8) |
30.2 (86.4) |
30.9 (87.6) |
29.7 (85.5) |
25.8 (78.4) |
19.1 (66.4) |
10.1 (50.2) |
3.7 (38.7) |
17.9 (64.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −8.4 (16.9) |
−5.6 (21.9) |
0.4 (32.7) |
7.9 (46.2) |
13.6 (56.5) |
18.8 (65.8) |
22.0 (71.6) |
20.8 (69.4) |
14.8 (58.6) |
7.9 (46.2) |
0.0 (32) |
−5.8 (21.6) |
7.2 (45) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −18.3 (-0.9) |
−27.4 (-17.3) |
−15.0 (5) |
−3.2 (26.2) |
2.5 (36.5) |
9.8 (49.6) |
15.3 (59.5) |
11.4 (52.5) |
3.7 (38.7) |
-3.5 (25.7) |
-12.5 (9.5) |
-18.5 (-1.3) |
−27.4 (−17.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 2.7 (0.106) |
4.9 (0.193) |
8.3 (0.327) |
21.2 (0.835) |
34.2 (1.346) |
78.1 (3.075) |
185.2 (7.291) |
159.7 (6.287) |
45.5 (1.791) |
21.8 (0.858) |
7.4 (0.291) |
2.8 (0.11) |
571.8 (22.512) |
ความชื้นร้อยละ | 44 | 44 | 46 | 46 | 53 | 61 | 75 | 77 | 68 | 61 | 57 | 49 | 56.8 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 1.8 | 2.3 | 3.3 | 4.3 | 5.8 | 9.7 | 13.6 | 12.0 | 7.6 | 5.0 | 3.5 | 1.7 | 70.6 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 194.1 | 194.7 | 231.8 | 251.9 | 283.4 | 261.4 | 212.4 | 220.9 | 232.1 | 222.1 | 185.3 | 180.7 | 2,670.8 |
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration [56], all-time extreme temperature[57] |
องค์การที่บริหารนครปักกิ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำนครปักกิ่ง ซึ่งนำโดยเลขาธิการพรรคประจำนครปักกิ่ง คณะกรรมการพรรคประจำนครจะออกคำสั่งการบริหาร เก็บภาษี จัดการเศรษฐกิจ และกำกับดูแลคณะกรรมาธิการสามัญของสภาประชาชนประจำนครในการตัดสินใจเชิงนโยบายและกำกับดูแลหน่วยงานในท้องถิ่น โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1987 เลขาธิการพรรคประจำนครปักกิ่งทั้งหมดต่างเป็นสมาชิกกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี มีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านกฎหมาย ความมั่นคงสาธารณะ และกิจการอื่น ๆ นอกจากนี้ ในฐานะเมืองหลวงของประเทศจีน ปักกิ่งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันทางการเมืองและการปกครองระดับชาติที่สำคัญ รวมถึงสภาประชาชนแห่งชาติด้วย[58]
นครปักกิ่งปัจจุบันประกอบด้วยเขตการปกครองระดับอำเภอ 16 แห่ง ทั้งหมดมีสถานะเป็นเขต โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 เขตฉงเหวินและเขตเซฺวียนอู่ได้รวมเข้ากับเขตตงเฉิงและเขตซีเฉิงตามลำดับ และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 อำเภอมี่ยฺหวินและอำเภอหยานชิ่งได้รับการยกฐานะเป็นเขต
เขตการปกครองของปักกิ่ง | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตงเฉิง
ซีเฉิง
เฉาหยาง
เฟิงไถ
ฉือจิ่งชาน
ไห่เตี้ยน
เหมินโถวโกว
ฝางชาน
ทงโจว
ชุ่นอี้
ชางผิง
ต้าซิง
หฺวายโหรว
ผิงกู่
มี่ยฺหวิน
หยานชิ่ง
| ||||||||||||||
รหัสเขตการปกครอง[59] | ชื่อเขต | พื้นที่ (ตร.กม.)[60] | ประชากรทั้งหมด ค.ศ. 2020[61] | ประชากร พื้นที่เมือง ค.ศ. 2020[61] |
ที่ตั้งที่ทำการ | รหัสไปรษณีย์ | เขตการปกครองย่อย[62] | |||||||
แขวง | เมือง | ตำบล [n 1] |
ชุมชน | หมู่บ้าน | ||||||||||
110000 | นครปักกิ่ง | 16406.16 | 21,893,095 | 19,166,433 | เขตตงเฉิง / เขตทงโจว | 100000 | 149 | 143 | 38 | 2538 | 3857 | |||
110101 | ตงเฉิง | 41.82 | 708,829 | แขวงจิ่งชาน | 100000 | 17 | 216 | |||||||
110102 | ซีเฉิง | 50.33 | 1,106,214 | แขวงจินหรงเจีย | 100000 | 15 | 259 | |||||||
110105 | เฉาหยาง | 454.78 | 3,452,460 | แขวงเฉาไว่ | 100000 | 24 | 19 | 358 | 5 | |||||
110106 | เฟิงไถ | 305.53 | 2,019,764 | 2,003,652 | แขวงเฟิงไถ | 100000 | 16 | 2 | 3 | 254 | 73 | |||
110107 | ฉือจิ่งชาน | 84.38 | 567,851 | แขวงหลูกู่ | 100000 | 9 | 130 | |||||||
110108 | ไห่เตี้ยน | 430.77 | 3,133,469 | 3,058,731 | แขวงไห่เตี้ยน | 100000 | 22 | 7 | 603 | 84 | ||||
110109 | เหมินโถวโกว | 1447.85 | 392,606 | 358,945 | แขวงต้ายฺวี่ | 102300 | 4 | 9 | 124 | 179 | ||||
110111 | ฝางชาน | 1994.73 | 1,312,778 | 1,025,320 | แขวงก่งเฉิน | 102400 | 8 | 14 | 6 | 108 | 462 | |||
110112 | ทงโจว | 905.79 | 1,840,295 | 1,361,403 | แขวงเป่ย์เยฺวี่ยน | 101100 | 6 | 10 | 1 | 40 | 480 | |||
110113 | ชุ่นอี้ | 1019.51 | 1,324,044 | 875,261 | แขวงเชิ่งลี่ | 101300 | 6 | 19 | 61 | 449 | ||||
110114 | ชางผิง | 1342.47 | 2,269,487 | 1,856,115 | แขวงเฉิงเป่ย์ | 102200 | 8 | 14 | 180 | 303 | ||||
110115 | ต้าซิง | 1036.34 | 1,993,591 | 1,622,382 | แขวงซิ่งเฟิง | 102600 | 5 | 14 | 64 | 547 | ||||
110116 | หฺวายโหรว | 2122.82 | 441,040 | 334,682 | แขวงหลงชาน | 101400 | 2 | 12 | 2 | 27 | 286 | |||
110117 | ผิงกู่ | 948.24 | 457,313 | 278,501 | แขวงปินเหอ | 101200 | 2 | 14 | 2 | 23 | 275 | |||
110118 | มี่ยฺหวิน | 2225.92 | 527,683 | 350,398 | แขวงกู่โหลว | 101500 | 2 | 17 | 1 | 57 | 338 | |||
110119 | หยานชิ่ง | 1994.89 | 345,671 | 205,689 | แขวงหรูหลิน | 102100 | 3 | 11 | 4 | 34 | 376 |
ชื่อเขตการปกครองในภาษาจีน | ||||
---|---|---|---|---|
ภาษาไทย | ภาษาจีน | พินอิน | ||
นครปักกิ่ง | 北京市 | Běijīng Shì | ||
เขตตงเฉิง | 东城区 | Dōngchéng Qū | ||
เขตซีเฉิง | 西城区 | Xīchéng Qū | ||
เขตเฉาหยาง | 朝阳区 | Cháoyáng Qū | ||
เขตเฟิงไถ | 丰台区 | Fēngtái Qū | ||
เขตฉือจิ่งชาน | 石景山区 | Shíjǐngshān Qū | ||
เขตไห่เตี้ยน | 海淀区 | Hǎidiàn Qū | ||
เขตเหมินโถวโกว | 门头沟区 | Méntóugōu Qū | ||
เขตฝางชาน | 房山区 | Fángshān Qū | ||
เขตทงโจว | 通州区 | Tōngzhōu Qū | ||
เขตชุ่นอี้ | 顺义区 | Shùnyì Qū | ||
เขตชางผิง | 昌平区 | Chāngpíng Qū | ||
เขตต้าซิง | 大兴区 | Dàxīng Qū | ||
เขตหฺวายโหรว | 怀柔区 | Huáiróu Qū | ||
เขตผิงกู่ | 平谷区 | Pínggǔ Qū | ||
เขตมี่ยฺหวิน | 密云区 | Mìyún Qū | ||
เขตหยานชิ่ง | 延庆区 | Yánqìng Qū |
ปี | ประชากร | ±% p.a. |
---|---|---|
1953 | 2,768,149 | — |
1964 | 7,568,495 | +9.57% |
1982 | 9,230,687 | +1.11% |
1990 | 10,819,407 | +2.00% |
2000 | 13,569,194 | +2.29% |
2010 | 19,612,368 | +3.75% |
2020[63] | 21,893,095 | +1.11% |
ขนาดประชากรอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง |
ใน ค.ศ. 2021 ปักกิ่งมีประชากรในเขตนครทั้งหมด 21.89 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตในเมืองหรือเขตชานเมือง 19.16 ล้านคน (ร้อยละ 87.5) และอาศัยอยู่ในเขตชนบท 2.73 ล้านคน (ร้อยละ 12.5)[64] OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) ประเมินว่าใน ค.ศ. 2010 เขตมหานครที่ครอบคลุมทั้งปักกิ่งและปริมณฑลมีจำนวนประชากร 24.9 ล้านคน[65][66]
ภายในประเทศจีน ปักกิ่งมีจำนวนประชากรเฉพาะพื้นที่เมืองมากเป็นอันดับที่สองรองจากเซี่ยงไฮ้ และมีจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตนครมากเป็นอันดับที่สามรองจากเซี่ยงไฮ้และฉงชิ่ง ปักกิ่งยังติดอันดับเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ซึ่งถือเป็นเมืองที่โดดเด่นตลอด 800 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 15 ถึงต้นศตวรรษที่ 19
ใน ค.ศ. 2013 ผู้อยู่อาศัยในเมืองประมาณ 13 ล้านคนได้รับใบอนุญาตในท้องถิ่นที่เรียกว่า ฮู่โข่ว ซึ่งให้สิทธิแก่พลเมืองในการพำนักในปักกิ่งอย่างถาวร[67] ผู้อยู่อาศัยที่เหลืออีก 8 ล้านคนได้รับใบอนุญาตฮู่โข่วในท้องที่อื่น ซึ่งจะไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทางสังคมบางอย่างที่ทางการนครปักกิ่งมอบให้[67]
ประชากรใน ค.ศ. 2013 ได้เพิ่มขึ้นจำนวน 455,000 คนหรือประมาณร้อยละ 7 จากปีก่อนหน้า และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง[67] การเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นเป็นส่วนใหญ่ อัตราการเพิ่มตามธรรมชาติของประชากรใน ค.ศ. 2013 อยู่ที่เพียงร้อยละ 0.441 โดยอิงจากอัตราเกิดที่ 8.93 และอัตราตายที่ 4.52[67] อัตราส่วนเพศแบ่งเป็นชายร้อยละ 51.6 และหญิงร้อยละ 48.4[67]
กรุงปักกิ่ง มีการจัดการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เริ่มก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 และเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1971 โดยมีสถานีรถไฟทั้งหมด 370 แห่งและมีระยะทางทั้งหมด 608 กิโลเมตร (ข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2017 )
ปักกิ่ง ถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศจีน โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 70 แห่ง และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 4,000 แห่ง[68]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.