Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (อังกฤษ: Shanghai Cooperation Organisation, ย่อ: SCO; จีนตัวย่อ: 上海合作组织; จีนตัวเต็ม: 上海合作組織; พินอิน: Shànghǎi hézuò zǔzhī) มีอีกชื่อว่า กติกาเซี่ยงไฮ้[3] เป็นองค์การการเมือง เศรษฐกิจและการทหารระหว่างทวีป ซึ่งเป็นองค์การภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดตามด้านภูมิศาสตร์และประชากร โดยกินพื้นที่ยูเรเชียประมาณ 60% ประชากรโลก 40% และจีดีพีทั่วโลกที่มากกว่า 30%[4]
จีน: 上海合作组织 รัสเซีย: Шанхайская организация сотрудничества | |
สมาชิก สังเกตการณ์ คู่ค้า | |
ชื่อย่อ | SCO |
---|---|
ก่อนหน้า | เซี่ยงไฮ้ไฟฟ์ |
ก่อตั้ง | 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 |
ประเภท | องค์กรทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความปลอดภัย |
สํานักงานใหญ่ | ปักกิ่ง ประเทศจีน (สำนักเลขาธิการ) ทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน (คณะกรรมการบริหาร RATS) |
สมาชิก | 10 ชาติสมาชิก
2 ชาติสังเกตการณ์ 14 ชาติคู่ค้า 4 ชาติรับเชิญ |
ภาษาทางการ | |
เลขาธิการทั่วไป | จาง หมิง |
รองเลขาธิการทั่วไป |
|
คณะกรรมการบริหาร RATS | รุสลัน มีร์ซาเอฟ |
เว็บไซต์ | sectsco ecrats |
SCO สืบต่อจาก เซี่ยงไฮ้ไฟฟ์ ซึ่งเป็นข้อตกลงความมั่นคงร่วมกันที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1996 ที่มีสามชิกเป็นประเทศจีน, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, รัสเซีย และทาจิกิสถาน ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ผู้นำจากชาติเหล่านี้กับอุซเบกิสถานพบปะกันที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อประกาศจัดตั้งองค์การใหม่ที่เน้นถึงการร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจให้มากกว่าเดิม มีการลงนามกฎบัตร SCO ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และนำไปใช้งานในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2003 สมาชิกในองค์การนี้เพิ่มขึ้นเป็นแปดประเทศ โดยอินเดียและปากีสถานเข้าร่วมในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2017 อิหร่านกลายเป็นสมาชิกเต็มตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 ที่การประชุมดูชานเบ (ทาจิกิสถาน) ประเทศอื่น ๆ บางส่วนนำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์หรือคู่ค้า
ประเทศ | เข้าร่วม | เป็นสมาชิกตั้งแต่ |
---|---|---|
จีน | — | 15 มกราคม ค.ศ. 2001[a] |
คาซัคสถาน | ||
คีร์กีซสถาน | ||
รัสเซีย | ||
ทาจิกิสถาน | ||
อุซเบกิสถาน | ||
อินเดีย | 10 มิถุนายน ค.ศ. 2015 | 9 มิถุนายน ค.ศ. 2017 |
ปากีสถาน | ||
เข้าเป็นสมาชิก | ||
อิหร่าน | 17 กันยายน ค.ศ. 2021 | ไม่เกินเดือนเมษายน ค.ศ. 2023 |
เบลารุส | 16 กันยายน ค.ศ. 2022 | TBA |
มีการจัดตั้งสถานะคู่ค้าใน ค.ศ. 2008.[9]
ประเทศ | ยอมรับสถานะ | ได้รับสถานะ[b] |
---|---|---|
ศรีลังกา | 15 หรือ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2009[10][11] | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2010[12] |
ตุรกี | 7 มิถุนายน ค.ศ. 2012[7] | 26 เมษายน ค.ศ. 2013[13] |
กัมพูชา | 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2015[14] | 24 กันยายน ค.ศ. 2015[15] |
อาเซอร์ไบจาน | 14 มีนาคม ค.ศ. 2016[16] | |
เนปาล | 22 มีนาคม ค.ศ. 2016[17] | |
อาร์มีเนีย | 16 เมษายน ค.ศ. 2016[18] | |
อียิปต์ | 16 กันยายน ค.ศ. 2021 | 14 กันยายน ค.ศ. 2022[19][20] |
กาตาร์ | ||
ซาอุดีอาระเบีย | ||
คู่ค้าในเร็ววัน[c] | ||
บาห์เรน | 16 กันยายน ค.ศ. 2022[20] | TBA |
คูเวต | ||
มัลดีฟส์ | ||
พม่า | ||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | ||
อดีตคู่ค้า | ||
เบลารุส | 15 หรือ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2009 | 28 เมษายน ค.ศ. 2010 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.