คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ประเทศทาจิกิสถาน
ประเทศในเอเชียกลาง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ทาจิกิสถาน (อังกฤษ: Tajikistan; ทาจิก: Тоҷикистон; รัสเซีย: Таджикистан) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (อังกฤษ: Republic of Tajikistan; ทาจิก: Ҷумҳурии Тоҷикистон) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีพื้นที่ 143,100 ตารางกิโลเมตร (55,300 ตารางไมล์)[6][7][8] และประชากรประมาณ 9,537,645 คน[15] มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
Remove ads
Remove ads
ศัพทมูลวิทยา
ทาจิกิสถาน หมายถึง "ดินแดนของชาวทาจิก" โดยคำว่าทาจิกแปลว่า "ไม่ใช่เติร์ก"[16][17] และ "-สถาน" เป็นคำลงท้ายภาษาเปอร์เซียที่มีความหมายว่า "ดินแดนของ" หรือ "ประเทศของ"[18]
พจนานุกรมแอมีด หนึ่งในพจนานุกรมเปอร์เซียที่โดดเด่นที่สุด ให้คำนิยามทาจิกจากข้อมูลหลายแหล่งว่า:[19]
- ไม่ใช่ทั้งชาวอาหรับหรือเติร์ก เขาผู้พูดภาษาเปอร์เซีย ผู้ที่พูดภาษาเปอร์เซีย
- เด็กที่เกิดในเปอร์เซีย และดังนั้นจึงพูดภาษาเปอร์เซีย
ฆียอส แอลลูฆอต พจนานุกรมเก่าแก่อีกเล่มให้คำนิยามทาจิกว่า "ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมองโกลหรือเติร์ก"[17]
ในภาษาอังกฤษก่อน ค.ศ. 1991 ทาจิกิสถานมักเขียนในรูปของ Tadjikistan หรือ Tadzhikistan เนื่องจากการทับศัพท์คำว่า "Таджикистан" ในภาษารัสเซีย ไม่มีอักษร "j" เดี่ยวที่แสดงหน่วยเสียง /ʤ/ และดังนั้นจึงเขียนเป็น дж หรือ dzh Tadzhikistan เป็นรูปเขียนหนึ่งที่นิยมเขียนกันมากที่สุด และถูกใช้อย่างกว้างขวางในวรรณกรรมอังกฤษที่นำข้อมูลมาจากรัสเซีย[20] ส่วน "Tadjikistan" เป็นรูปการสะกดตามภาษาฝรั่งเศส และสามารถพบในข้อความภาษาอังกฤษบางส่วน ประเทศทาจิกิสถานเขียนในแบบอักษรเปอร์เซีย-อาหรับเป็น تاجیکستان
Remove ads
ประวัติศาสตร์
สรุป
มุมมอง
ทาจิกิสถานของรัสเซีย
ลัทธิจักรวรรดินิยมรัสเซียนำไปสู่การพิชิตเอเชียกลางของจักรวรรดิรัสเซียในช่วงปลายยุคจักรวรรดิของศตวรรษที่ 19 ระหว่างปี พ.ศ. 2407 - 2428 รัสเซียค่อย ๆ เข้าควบคุมดินแดนทั้งหมดของเตอร์กิสถานรัสเซียส่วนทาจิกิสถานซึ่งถูกควบคุมโดยเอมิเรตแห่งบูคาราและคานาเตะแห่งโคกันด์ รัสเซียสนใจที่จะเข้าถึงแหล่งผลิตฝ้าย และในช่วงทศวรรษที่ 1870 พยายามที่จะเปลี่ยนการเพาะปลูกในภูมิภาคจากเมล็ดพืชเป็นฝ้าย (กลยุทธ์ที่ถูกคัดลอกและขยายโดยโซเวียตในภายหลัง) ในปี พ.ศ. 2428 ดินแดนของทาจิกิสถานถูกปกครองโดยจักรวรรดิรัสเซียหรือรัฐข้าราชบริพารเอมิเรตบูฆอรอ แต่ทาจิกิสถานรู้สึกได้ถึงอิทธิพลของรัสเซียเพียงเล็กน้อย
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พวกทาจิก ได้จัดตั้งตัวเองเป็นขบวนการทางสังคมอิสลามทั่วทั้งภูมิภาค แม้ว่าทาจิกจะเป็นผู้ที่สนับสนุนความทันสมัยและไม่จำเป็นต้องต่อต้านรัสเซีย แต่ชาวรัสเซียมองว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นภัยคุกคามเนื่องจากจักรวรรดิรัสเซียนับถือศาสนาคริสต์เป็นหลัก กองกำลังรัสเซียจำเป็นต้องฟื้นฟูคำสั่งซื้อในระหว่างการลุกฮือต่อต้านรัฐข่านโคกันด์ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2456 ความรุนแรงเพิ่มเติมเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 เมื่อผู้ประท้วงโจมตีทหารรัสเซียในฆูจันด์จากการขู่บังคับเกณฑ์ทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้กองทัพรัสเซียจะนำฆูจันด์กลับอย่างรวดเร็ว ภายใต้การควบคุมการปะทะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปีในสถานที่ต่าง ๆ ในทาจิกิสถาน
หลังได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ทาจิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่มนีโอ-คอมมิวนิสต์ และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี เอมอแมลี แรฮ์มอนอฟ กับนาย แซยิด แอบดุลลอห์ นูรี ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)
Remove ads
การแบ่งเขตการปกครอง
ทาจิกิสถานแบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครองย่อย ได้แก่แคว้นซุฆด์กับฆัตลอน แคว้นปกครองตนเองเคอฮิสทอนีบาดัฆชอน และเขตภายใต้การบริหารของสาธารณรัฐ แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็นอำเภอ (ทาจิก: Ноҳия) ซึ่งแบ่งออกเป็น จามออัต (หน่วยปกครองตนเองระดับหมู่บ้าน) ข้อมูลเมื่อ 2006[update] ประเทศทาจิกิสถานมี 58 อำเภอและ 367 จามออัต[21]
วัฒนธรรม
วันหยุด
- 1 มกราคม – วันปีใหม่ "Yangi Yil Bayrami"
- 14 มกราคม – วันกองทัพอุซเบกิสถาน Vatan Himoyachilari kuni
- 8 มีนาคม – วันสตรีสากล – "Xalqaro Xotin-Qizlar kuni"
- 21 มีนาคม – วันปีใหม่ของชาวเตอร์กิซ – "Navro'z Bayrami"
- 1 พฤษภาคม – วันแรงงานสากล
- 9 พฤษภาคม – ชัยชนะเหนือเยอรมนี – "Xotira va Qadirlash kuni"
- 1 กันยายน – วันประกาศเอกราช – "Mustaqillik kuni"
- 1 ตุลาคม – วันครู – "O'qituvchi va Murabbiylar"
- 8 ธันวาคม – วันรัฐธรรมนูญ – Konstitutsiya kuni
วันหยุดนอกเหนือจากทางราชการ
- End of Ramazon Ramazon Hayit Eid al-Fitr
- 70 days later Qurbon Hayit Eid al-Adha
Remove ads
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads