คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ออสเตรียนแอร์ไลน์
สายการบินแห่งชาติของประเทศออสเตรีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ออสเตรียนแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Austrian Airlines) เป็นสายการบินประจำชาติออสเตรีย โดยมีฐานบินใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา[1] และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา โดยสายการบินเป็นบริษัทลูกของเครือลุฟท์ฮันซ่า[2][3] และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ออสเตรียนแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1957[4] โดยมีเที่ยวบินแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1958 ออสเตรียนแอร์ไลน์เช่าเครื่องบินวิกเกอร์ วิสเคาท์ 779 เพื่อให้บริการในเที่ยวบินระหว่าง เวียนนา - ซือริช- ลอนดอน[5] ก่อนจะซื้อเครื่องบินรุ่นเดียวกันในเวลาต่อมา ออสเตรียนแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของแอร์ออสเตรียและออสเตรียนแอร์เวย์

ออสเตรียนแอร์ไลน์ได้มีการสั่งซื้อเครื่องบินเจ็ตลำแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963 โดยสั่งซื้อเครื่องบินซูว์ดาวียาซียง เอสเอ-210 การาเวล ด้วยเครื่องบินลำใหม่ของสายการบิน เที่ยวบินภายในประเทศเที่ยวเริ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1963 และเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรครั้งแรกของสายการบินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1969 บนเส้นทางเวียนนา - บรัสเซลส์ - นิวยอร์ก โดยร่วมมือกับซาบีนาแอร์ไลน์
ออสเตรียนแอร์ไลน์เข้าเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ในปีค.ศ. 2000 ในปีเดียวกันนั้น สายการบินได้เข้าซื้อกิจการของเลาดาแอร์และไรน์ทัลฟลุก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 อันเป็นผลมาจากการรีแบรนด์ แบรนด์ออสเตรียกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสายการบิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2004 แผนกการบินของออสเตรียนแอร์ไลน์และเลาดาแอร์ ถูกรวมเข้าด้วยกัน อันเป็นผลมาจากการที่แบรนด์เลาดาแอร์ถูกใช้สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำเท่านั้น
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551ได้ทราบมาว่าเอิแอกยืนยันการขายหุ้น 41.6% ในออสเตรียนแอร์ไลน์ให้กับลุฟท์ฮันซ่าใน ราคา 366,268.75 ยูโร
หลังจากการแปรรูปกิจการ ทั้งการขยายฝูงบินและการริเริ่มในการประหยัดต้นทุนได้มีการประกาศใช้เมื่อมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ การเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง การออกแบบองค์กรใหม่ และลวดลายเครื่องบินใหม่ ภายหลังข้อพิพาทด้านแรงงานเกี่ยวกับมาตรการลดต้นทุนหลายประการ เที่ยวบินของออสเตรียนแอร์ไลน์ทั้งหมดถูกย้ายในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ไปยังบริษัทในเครือ ซึ่งดำเนินการภายใต้ชื่อออสเตรีย ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2015 หลังจากบรรลุข้อตกลงด้านแรงงานฉบับใหม่ เที่ยวบินทั้งหมดถูกย้ายกลับไปยังออสเตรีย และ Tyrolean Airways ก็ถูกรวมเข้ากับบริษัทแม่[6] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2020 สายการบินได้ระงับการให้บริการชั่วคราว อันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19[7]
Remove ads
กิจการองค์กร

กรรมสิทธิ์และบริษัทลูก
ลุฟท์ฮันซ่าเป็นเจ้าของกลุ่มสายการบินออสเตรียนทั้งหมด ออสเตรียนแอร์ไลน์เป็นเจ้าของหุ้นใน 24 บริษัท ดังนี้:
- ออสเตรียนเต็กนิกบราติสลาเวีย, บริษัทซ่อมบำรุงในท่าอากาศยานบราติสลาเวีย[8][9]
- กูเลต-ตูโรปา-ทูริสทิค
- อาเฟาเอส-เวอร์ซิเชอเร็น
- ตุยออสเตรียแอร์เวย์
- ทราเวียออสเตรีย
- แอร์พลุส เครดิตอินส์ทิทูด
- วีนเนอร์เบอร์ส อาเก
- เอสซีเอ สเคดดูล คอร์ดิเนชั่น
- เอซีเอส แอร์คอนเทเนอร์เซอร์วิส
- เอวิคอน เอวิเอชั่น คอนเซาลท์
- ออสเตรียน-ลุฟท์ฮันซ่า คาร์โก้
- ออสเตรียนแอร์ไลน์ เทเลเซลแอนด์เซอร์วิส
Remove ads
จุดหมายปลายทาง

ออสเตรียนแอร์ไลน์บินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 6 แห่งและจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศกว่า 120 แห่งตลอดทั้งปีและตามฤดูกาลใน 55 ประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[10]
ข้อตกลงการบินร่วม
ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ออสเตรียนแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่อไปนี้:
- แอร์บอลติก
- แอร์แคนาดา
- แอร์ไชนา
- แอร์ฟรานซ์
- แอร์อินเดีย
- แอร์มอลตา
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
- บางกอกแอร์เวย์ส
- เบลาเวีย
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์
- คาเธ่ย์แปซิฟิค
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- ยูโรวิงส์
- จอร์เจียแอร์เวย์
- อิหร่านแอร์
- อิตาแอร์เวย์
- เคเอ็มมอลตาแอร์ไลน์
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์
- ลุฟท์ฮันซ่า[11]
- ลักซ์แอร์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- ตัปแอร์ปูร์ตูกัล
- ตารอม
- การบินไทย
- ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ฝูงบิน
สรุป
มุมมอง
ฝูงบินปัจจุบัน
ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 ออสเตรียนแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13][14]
ออสเตรียนแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 17.7 ปี
ฝูงบินในอดีต
ออสเตรียนแอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้[29]
- แอร์บัส เอ340-300 สวมลวดลายพิเศษเวียนนาฟิลฮาร์โมนิก
Remove ads
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
- 26 กันยายน ค.ศ. 1960 เวลา 21:40 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินวิกเกอร์ส ไวเคาน์ท (ทะเบียน OE-LAF) ตกระหว่างเข้าใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว ส่งผลให้ผู้โดยสาร 26 คนจากทั้งหมด 31 คนบนเครื่อง รวมทั้งลูกเรือ 5 คนจากทั้งหมด 6 คน เครื่องบินลำดังกล่าวให้บริการเที่ยวบิน 901 จากเวียนนาไปยังมอสโกโดยแวะพักระหว่างทางที่กรุงวอร์ซอ ความผิดปกติของเครื่องวัดความสูงเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งเดียวของสายการบิน[40]
- 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970 เกิดเหตุระเบิดในห้องเก็บสินค้าบนซูว์ดาวียาซียงการาแวลของออสเตรียนแอร์ไลน์ (ทะเบียน OE-LCU) ระหว่างเที่ยวบินจากแฟรงก์เฟิร์ตไปเวียนนาซึ่งมีผู้โดยสาร 33 คนและลูกเรือ 5 คนบนเครื่อง ทำให้เกิดรูในลำตัวเครื่องบิน นักบินสามารถกลับมาลงจอดเครื่องบินได้อย่างปลอดภัยที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต[41] ในวันเดียวกันนั้น มีการวางระเบิดอีกลูกหนึ่งบนเครื่องบินของสายการบินสวิสแอร์ เที่ยวบินที่ 330 ทำให้เกิดอุบัติเหตุ มีผู้เสียชีวิต 47 ราย กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์อ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทั้งสองครั้ง[42]
- 7 มกราคม ค.ศ. 1997 ออสเตรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 104 จากเบอร์ลินไปยังเวียนนาถูกจี้โดยชายชาวบอสเนียที่เข้าไปในห้องนักบินพร้อมอาวุธด้วยมีด (อาวุธมีดที่พกขึ้นไปนั้นมีขนาดเล็ก จึงไม่ถูกกักกันไว้ตามกฏข้อบังคับในเวลานั้น) นักบินปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของผู้กระทำผิดที่จะกลับไปเบอร์ลิน เพื่อที่เขาจะได้เจรจากับหน่วยงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการต่ออายุวีซ่าของเขา เมื่อกลับมาที่ท่าอากาศยานเบอร์ลินเทเกิลเครื่องบินเอ็มดี-87 ถูกกองกำลังตำรวจพิเศษบุกเข้าล้อมก่อนผู้ก่อการร้ายถูกควบุมตัวไป[43]
- 5 มกราคม ค.ศ. 2004 เวลา 08:17 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินฟอกเกอร์ 70 (ทะเบียน OE-LFO) ตกลงบนทุ่งที่ปกคลุมไปด้วยหิมะใกล้กับท่าอากาศยานมิวนิก เครื่องบินลำดังกล่าวดำเนินการเที่ยวบินที่ 111 จากเวียนนาไปยังมิวนิก โดยมีผู้โดยสาร 28 คนและลูกเรือ 4 คนอยู่บนเครื่องในขณะที่เครื่องยนต์ขัดข้องระหว่างการลงจอดเนื่องจากน้ำแข็ง เครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง แต่มีผู้โดยสารเพียงสามคนเท่านั้นที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[44][45][46]
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads