Loading AI tools
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนกาญจนาภิเษก (อักษรโรมัน: Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ถนนกาญจนาภิเษก | |
---|---|
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ (ตลอดทั้งสาย) | |
ความยาว | 181 กิโลเมตร (112 ไมล์) ด้านตะวันออก 63 กิโลเมตร (39 ไมล์) ด้านใต้ 34 กิโลเมตร (21 ไมล์) ด้านตะวันตก 70 กิโลเมตร (43 ไมล์)[ต้องการอ้างอิง] |
สร้าง | พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2550 | (ทล.37)
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2521 | –ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ | |
ถนนวงแหวนรอบกรุงเทพมหานคร | |
ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก | |
ความยาว | 64 กิโลเมตร (40 ไมล์) |
ปลายทางทิศเหนือ | ถ.พหลโยธิน ใน อ.วังน้อย จ.อยุธยา |
ทางแยก ที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ทางพิเศษบูรพาวิถี / ถ.เทพรัตน ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ |
ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ | |
ความยาว | 34 กิโลเมตร (21 ไมล์) |
ปลายทางทิศตะวันออก | ทางพิเศษบูรพาวิถี / ถ.เทพรัตน ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ |
ทางแยก ที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันตก | ถ.พระรามที่ 2 / ทล.พ.82 ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ |
ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก | |
ความยาว | 70 กิโลเมตร (43 ไมล์) |
ปลายทางทิศใต้ | ถ.พระรามที่ 2 / ทล.พ.82 ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ |
ทางแยก ที่สำคัญ |
|
ปลายทางทิศเหนือ | ถ.สายเอเชีย / ถ.พหลโยธิน ใน อ.บางปะอิน จ.อยุธยา |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 ในช่วงตลิ่งชัน–บางบัวทอง[1] จนเสร็จสมบูรณ์ครบทุกส่วนในปี พ.ศ. 2550 โดยมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบนถนนสายนี้ทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ สะพานเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสะพานกาญจนาภิเษก จังหวัดสมุทรปราการ
ถนนสายนี้เดิมมักเรียกกันว่า ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 ตัดผ่านฝั่งธนบุรี เข้าสู่จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี ไปสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญชื่อ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีของพระองค์ในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นชื่อเรียกถนนสายนี้ คือ ถนนกาญจนาภิเษก และเดิมกรมทางหลวงได้กำหนดเส้นทางสายนี้ให้เป็น ทางหลวงหมายเลข 37 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนหมายเลขทางหลวงของถนนสายนี้ให้เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตามแผนพัฒนาระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในปี พ.ศ. 2539[2] หลังจากนั้นจึงได้มีการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกและด้านใต้ขึ้นตามมาเป็นตอน ๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสร้างสูงมาก
ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก (บางปะอิน–บางพลี) กรมทางหลวงได้กำหนดเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (อังกฤษ: intercity motorway) ชนิดแบบเก็บค่าผ่านทาง โดยมีขนาด 8 ช่องจราจร ( ช่วงด่านเก็บค่าผ่านทางขนาด 15 ช่องจราจร ) ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 ระยะทาง 64 กิโลเมตร สัญลักษณ์ทางหลวงแสดงด้วยป้ายหมายเลข 9 พื้นหลังสีน้ำเงิน
ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ 55 อำเภอวังน้อย ลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงกิโลเมตรที่ 3.485 (สะพานข้ามคลองระพีพัฒน์) (ต่อแขวงทางหลวงปทุมธานี) ในอนาคตสามารถเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 6
ในเขตจังหวัดปทุมธานี เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 3.485 (ต่อเขตแขวงทางหลวงอยุธยา) ที่ตำบลคลองสอง ข้ามคลองชลประทานเข้าเขตตำบลคลองสาม ข้ามคลองสาม คลองแอนสาม และคลองสี่ ตัดถนนคลองหลวง เลียบคลองชลประทาน เข้าเขตอำเภอธัญบุรี ตัดถนนรังสิต-นครนายก ข้ามคลองรังสิตประยูรศักดิ์และคลองห้า เข้าเขตอำเภอลำลูกกา ลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตัดถนนลำลูกกา และข้ามคลองหกวา ตัดถนนหทัยราษฎร์ จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 32 (ต่อเขตแขวงทางหลวงกรุงเทพ) เป็นระยะทาง 28.515 กิโลเมตร
ในเขตกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 32 (ต่อเขตแขวงทางหลวงปทุมธานี) ที่แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา ตัดทางพิเศษฉลองรัช ข้ามคลองพระยาสุเรนทร์เข้าเขตสายไหม ข้ามคลองบึงพระยาสุเรนทร์ (ออเป้ง) เข้าพื้นที่เขตบางเขน ข้ามคลองหกขุดและคลองคู้บอนเข้าพื้นที่เขตคันนายาว ตัดถนนรามอินทรา ถนนรัชดาภิเษก–รามอินทรา ถนนเสรีไทย ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่ เขตสะพานสูง ตัดถนนรามคำแหง จากนั้นจึงตัดถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ข้ามคลองทับช้างบน ตัดทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เข้าสู่พื้นที่เขตประเวศ ข้ามคลองประเวศบุรีรมย์ ตัดถนนอ่อนนุช จนสุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองต้นตาล
ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ เริ่มตั้งแต่คลองต้นตาล ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี สิ้นสุดที่ถนนเทพรัตน เชื่อมกับทางพิเศษสายบางพลี–สุขสวัสดิ์ และทางพิเศษบูรพาวิถีปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักไปสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมทางหลวงจึงทำการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายตั้งแต่ทางต่างระดับวัดสลุดจนถึงทางต่างระดับบางปะอิน โดยขยายช่องจราจรจากเดิม 4 ช่องจราจรเป็น 6–8 ช่องจราจร โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553
นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างทางบริการชุมชน มีลักษณะเป็นถนนคู่ขนานทั้งสองข้างของทางหลวงพิเศษในบางช่วง อยู่นอกเขตและไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนอื่นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดิน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 และ 3902 ซึ่งเป็นทางบริการด้านนอกและด้านในของทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตามลำดับ
ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก เป็นทางหลวงพิเศษสายแรก ที่นำร่องระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane free flow, M-Flow) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง และลดปัญหาการจราจรติดขัดสะสม บริเวณหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบระบบเสมือนจริง ก่อนเปิดให้บริการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565[3]
ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (บางพลี–บางขุนเทียน) เป็นทางพิเศษเก็บค่าผ่านทาง ระยะทาง 34 กิโลเมตร ได้เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถนนในช่วงนี้ก่อสร้างเป็นลำดับสุดท้าย ทำให้ถนนวงแหวนรอบนอกสามารถใช้งานได้ครบทุกด้าน โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6–8 ช่องจราจร เนื่องจากที่ดินบริเวณแนวการก่อสร้างนั้นอ่อนมาก และแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงบางพลี–สุขสวัสดิ์เป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และช่วงสุขสวัสดิ์–บางขุนเทียนเป็นของกรมทางหลวง
ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) เดิมมีชื่อว่า "ทางพิเศษสายบางพลี–สุขสวัสดิ์" ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อทางพิเศษว่า "ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553[4] เป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (ช่วงถนนพระรามที่ 2 ถึงถนนสุขสวัสดิ์) ทางพิเศษเริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณอำเภอพระประแดง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์ ไปบรรจบกับถนนเทพรัตน (บางนา–หนองไม้แดง) บริเวณทางแยกต่างระดับวัดสลุด อำเภอบางพลี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เปิดให้บริการโดยยกเว้นการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราวในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทาง ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552
ทางพิเศษสายนี้มีการก่อสร้างสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง ที่ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานกาญจนาภิเษก" พร้อมด้วยระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจร ซื่งเป็นระบบปิด เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 รวมจำนวน 29 ด่าน
ทางพิเศษสายนี้ผ่านจังหวัดจังหวัดสมุทรปราการเพียงจังหวัดเดียว เริ่มจากถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก โดยมีทางเชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถีที่ทางแยกต่างระดับวัดสลุด อำเภอบางพลี แล้วไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปยังอำเภอเมืองสมุทรปราการ แล้วไปทางทิศตะวันตก ผ่านทางแยกเชื่อมต่อกับสะพานภูมิพล ผ่านสะพานกาญจนาภิเษกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับสุขสวัสดิ์ เชื่อมต่อกับถนนสุขสวัสดิ์ในอำเภอพระประแดง
ช่วงสุขสวัสดิ์–บางขุนเทียน เป็นของกรมทางหลวงเดิมได้ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง[5] โดยจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2554[6] ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561[7]แต่เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางจริง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[8] โดยต่อจากทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ข้ามคลองรางใหญ่เข้าเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ข้ามถนนประชาอุทิศ ข้ามคลองบางมดเข้าเขตบางขุนเทียน ข้ามถนนบางขุนเทียนชายทะเล และสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2 ที่ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน
ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก (บางปะอิน–บางบัวทอง–บางขุนเทียน) เป็นถนนส่วนที่สร้างขึ้นก่อนด้านอื่น ๆ มีระยะทางรวม 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงต่าง ๆ ได้แก่ ช่วงบางปะอิน–บางบัวทอง เป็นทางขนาด 4–6 ช่องจราจร ระยะทาง 44 กิโลเมตร และช่วงบางบัวทอง−บางขุนเทียน เป็นทางขนาด 10–12 ช่องจราจร ระยะทาง 24 กิโลเมตร[1] สัญลักษณ์ทางหลวงแสดงด้วยป้ายหมายเลข 9 พื้นหลังสีเขียว เนื่องจากมีลักษณะของถนนเป็นทางหลวงพิเศษแต่ไม่มีการเก็บค่าผ่านทาง
ถนนตลิ่งชัน–สุพรรณบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2521 ต่อมาได้สร้างช่วงบางบัวทอง–บางปะอินแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากบางบัวทองไปบรรจบกับถนนพหลโยธิน บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 แล้วได้ยุบรวมกับถนนสายบางขุนเทียน–ตลิ่งชัน เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 จากนั้นมีการขยายทางช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 มีระยะทางรวมตลอดทั้งสาย 70 กิโลเมตร โดยเมื่อรวมช่วงบางขุนเทียน-สุขสวัสดิ์ หรือถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ที่เป็นของกรมทางหลวง จะมีระยะทาง 84 กิโลเมตร อยู่ในการดูแลของสำนักทางหลวงที่ 11 (กรุงเทพมหานคร)
ในเขตกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 ที่ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน ตัดทางรถไฟสายแม่กลองเข้าสู่เขตบางบอน ตัดถนนเอกชัยที่กิโลเมตรที่ 15 ข้ามคลองบางโคลัดเข้าสู่พื้นที่เขตบางแค ตัดถนนกัลปพฤกษ์ที่กิโลเมตรที่ 17 ข้ามคลองภาษีเจริญ ตัดถนนเพชรเกษม ที่กิโลเมตรที่ 21 ช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางเชือกหนังถึงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตทวีวัฒนากับเขตตลิ่งชัน (จนถึงกิโลเมตรที่ 29+599) จากนั้นตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่กิโลเมตรที่ 26 จากนั้นตัดถนนบรมราชชนนี ที่กิโลเมตรที่ 28 ส่วนบริเวณคลองมหาสวัสดิ์เชื่อมต่อกับทางพิเศษประจิมรัถยา ช่วงบางซื่อ–วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก บริเวณจุดตัดทางรถไฟสายใต้ ใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ โดยแนวสายทางหลักจะลอดใต้สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ และก่อสร้างทางต่างระดับสำหรับทางขึ้นลงทางพิเศษฯ
ในเขตจังหวัดนนทบุรี เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 30+600 บริเวณคลองมหาสวัสดิ์ ผ่านตำบลปลายบางและตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย ตัดถนนนครอินทร์ที่กิโลเมตรที่ 33 ข้ามคลองบางนาเข้าเขตอำเภอบางใหญ่ ข้ามคลองบางใหญ่ จากนั้นตัดกับถนนรัตนาธิเบศร์ที่กิโลเมตรที่ 39 ก่อนเข้าสู่พื้นที่อำเภอบางบัวทอง ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อยที่กิโลเมตรที่ 44 และตัดกับถนนบางบัวทอง–สุพรรณบุรี และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 ที่กิโลเมตรที่ 46 ข้ามคลองลำโพเข้าสู่เขตอำเภอปากเกร็ด จนถึงกิโลเมตรที่ 51+070 (สะพานข้ามคลองพระอุดม) รวมระยะทางในเขตนี้ประมาณ 22 กิโลเมตร
ในเขตจังหวัดปทุมธานี เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 51+070 ที่ตำบลคลองพระอุดม ผ่านอำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอเมืองปทุมธานี ตัดถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ ที่กิโลเมตรที่ 55 ข้ามคลองบางโพธิ์ใต้ ข้ามคลองพระยามหาโยธา ข้ามคลองบางหลวง ตัดถนนปทุมธานี–บางเลน ที่กิโลเมตรที่ 59 ข้ามคลองบางโพธิ์เหนือเข้าสู่เขตอำเภอสามโคก ข้ามคลองบางเตย คลองควาย ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ที่กิโลเมตรที่ 67 จนถึงกิโลเมตรที่ 71+570 (สะพานเชียงรากใกล้วัดกร่าง)
ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 71+570 ที่ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร ตัดถนนสามโคก–ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309) ที่กิโลเมตรที่ 72 เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางปะอิน ตัดทางพิเศษอุดรรัถยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่กิโลเมตรที่ 77 ข้ามคลองเปรมประชากรและทางรถไฟสายเหนือ ไปบรรจบถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่กิโลเมตรที่ 52–53
กาญจนาภิเษกด้านตะวันตกในช่วงบางขุนเทียนถึงบางบัวทองเป็นช่วงที่ถนนผ่านเขตชุมชน จึงมีการก่อสร้างทางคู่ขนานทั้งด้านนอก (ด้านตะวันตก) และด้านใน (ด้านตะวันออก) ซึ่งปัจจุบันได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 และ 3902 ตามลำดับ และในอนาคต กรมทางหลวงมีโครงการปรับปรุงถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตก โดยปรับปรุงเส้นทางเป็นทางหลวงพิเศษแบบควบคุมการเข้า-ออก ในช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทองจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับเหนือถนนกาญจนาภิเษก ส่วนช่วงบางบัวทอง–บางปะอินจะก่อสร้างเป็นทางระดับดิน โดยนำทางหลวงเดิมมาพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษเต็มรูปแบบ มีขนาด 4–6 ช่องจราจร และมีทางบริการชุมชน[9]
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) | |||||
พระนครศรีอยุธยา | 0+000 | ต่างระดับบางปะอิน (2) | ถนนพหลโยธิน ไปวังน้อย, หินกอง | ถนนพหลโยธิน ไปต่างระดับบางปะอิน (1), ดอนเมือง | |
2+500 | − | ทางเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ไปสระบุรี, นครราชสีมา | ไม่มี | ||
ปทุมธานี | 15+250 | − | ถนนคลองหลวง ไปหนองเสือ | ถนนคลองหลวง ไปบางขันธ์, เชียงราก | |
22+000 | ต่างระดับธัญบุรี | ถนนรังสิต-นครนายก ไปองครักษ์, นครนายก | ถนนรังสิต-นครนายก ไปรังสิต | ||
30+500 | ต่างระดับลำลูกกา | ถนนลำลูกกา ไปลำลูกกา | ถนนลำลูกกา ไปคูคต | ||
31+700 | − | ถนนหทัยราษฎร์ ไปมีนบุรี | ถนนหทัยราษฎร์ ไปสายไหม | ||
กรุงเทพมหานคร | 34+500 | ต่างระดับจตุโชติ | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 62 (โครงการในอนาคต) ไปบรรจบ ถนนมิตรภาพ, แก่งคอย | ทางพิเศษฉลองรัช ไปถนนพระราม 9, เอกมัย | |
43+000 | ต่างระดับรามอินทรา | ถนนรามอินทรา ไปมีนบุรี | ถนนรามอินทรา ไปหลักสี่, ปากเกร็ด | ||
43+900 | − | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 ไปมีนบุรี | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 ไปบรรจบถนนนวมินทร์ | ||
~44+450 | ต่างระดับลาดบัวขาว | ไม่มี | ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (โครงการในอนาคต) ไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
47+000 | ต่างระดับคลองกุ่ม | ถนนเสรีไทย ไปมีนบุรี | ถนนเสรีไทย ไปบางกะปิ | ||
48+000 | ต่างระดับสุขาภิบาล 3 | ถนนรามคำแหง ไปมีนบุรี | ถนนรามคำแหง ไปบางกะปิ | ||
~51+700 | – | ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ไปถนนร่มเกล้า, ถนนเจ้าคุณทหาร | ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ไปถนนกรุงเทพกรีฑา, ถนนศรีนครินทร์ | ||
54+000 | ต่างระดับทับช้าง | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ไปลาดกระบัง, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ไปบรรจบถนนศรีนครินทร์, ห้วยขวาง | ||
55+400 | ต่างระดับอ่อนนุช | ถนนอ่อนนุช ไปลาดกระบัง, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ถนนอ่อนนุช ไปพระโขนง | ||
สมุทรปราการ | 64+000 | ต่างระดับวัดสลุด | ทางพิเศษบูรพาวิถี ไปชลบุรี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ทางพิเศษบูรพาวิถี ไปดินแดง, ดาวคะนอง, แจ้งวัฒนะ | |
ถนนเทพรัตน ไปชลบุรี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, บางปะกง | ถนนเทพรัตน ไปบางนา | ||||
ตรงไป: ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ไปถนนเทพารักษ์, ถนนพระรามที่ 2 | |||||
ทางพิเศษกาญจนาภิเษก | |||||
สมุทรปราการ | 0+000 | ต่างระดับวัดสลุด | เชื่อมต่อจาก: ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) จากบางปะอิน | ||
ถนนเทพรัตน ไปชลบุรี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ถนนเทพรัตน ไปบางนา | ||||
ทางพิเศษบูรพาวิถี ไปชลบุรี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ทางพิเศษบูรพาวิถี ไปบางนา | ||||
5+290 | ต่างระดับเทพารักษ์ | ถนนเทพารักษ์ ไปบางพลี, บางบ่อ | ถนนเทพารักษ์ ไปสำโรง | ||
10+827 | ต่างระดับบางเมือง | ถนนศรีนครินทร์ ไปปากน้ำ, บรรจบถนนสุขุมวิท | ถนนศรีนครินทร์ ไปบางกะปิ | ||
14+623 | ต่างระดับสุขุมวิท | ถนนสุขุมวิท ไปปากน้ำ, บางปู | ถนนสุขุมวิท ไปสำโรง, บางนา | ||
18+900 | ต่างระดับสะพานภูมิพล | ไม่มี | ไปสะพานภูมิพล | ||
20+300 | สะพานกาญจนาภิเษก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | ||||
21+100 | ต่างระดับบางครุ | ถนนสุขสวัสดิ์ ไปพระสมุทรเจดีย์, ป้อมพระจุลจอมเกล้า | ถนนสุขสวัสดิ์ ไปพระประแดง, ราษฎร์บูรณะ | ||
ตรงไป: ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) ไปถนนพระรามที่ 2 | |||||
ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) | |||||
สมุทรปราการ | 0+000 | ต่างระดับบางครุ | เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษกาญจนาภิเษก จากบางนา | ||
ถนนสุขสวัสดิ์ จากพระสมุทรเจดีย์, ป้อมพระจุลจอมเกล้า | ถนนสุขสวัสดิ์ จากพระประแดง, ราษฎร์บูรณะ | ||||
กรุงเทพมหานคร | 15+569 | ต่างระดับบางขุนเทียน | ถนนพระรามที่ 2 ไปสมุทรสาคร | ถนนพระรามที่ 2 ไปบางปะแก้ว | |
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ไปสมุทรสาคร | ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ไปบางโคล่ | ||||
16+726 | ต่างระดับบางบอน | ถนนเอกชัย ไปสมุทรสาคร | ถนนเอกชัย ไปจอมทอง | ||
20+750 | ต่างระดับบางโคลัด | ถนนกัลปพฤกษ์ ไปกระทุ่มแบน | ถนนกัลปพฤกษ์ ไปถนนราชพฤกษ์, สะพานตากสิน | ||
23+500 | ต่างระดับบางแค | ถนนเพชรเกษม ไปหนองแขม, อ้อมน้อย | ถนนเพชรเกษม ไปบางแค, ท่าพระ | ||
28+106 | ต่างระดับบางเชือกหนัง | ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ไปถนนพุทธมณฑล สาย 2, ถนนพุทธมณฑล สาย 4 | ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ไปพรานนก, วังหลัง | ||
30+056 | ต่างระดับฉิมพลี | ถนนบรมราชชนนี ไปศาลายา, นครชัยศรี | ถนนบรมราชชนนี ไปตลิ่งชัน, พระปิ่นเกล้า | ||
~32+000 | – | ไม่มี | กท.1003 ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ จากถนนราชพฤกษ์, สะพานพระราม 7 | ||
ไม่มี | ทางพิเศษประจิมรัถยา ไปบรรจบ ทางพิเศษศรีรัช | ||||
ไม่มี | กท.1002 ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปถนนราชพฤกษ์, สะพานพระราม 7 | ||||
นนทบุรี | 35+300 | ต่างระดับบางคูเวียง | ถนนนครอินทร์ ไปบรรจบทางหลวงชนบท นฐ.3004 | ถนนนครอินทร์ ไปสะพานพระราม 5, แยกติวานนท์ | |
ไม่มี | ทางหลวงชนบท นบ.5038 ไปถนนราชพฤกษ์, สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ | ||||
41+108 | ต่างระดับบางใหญ่ | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ไปนครปฐม, กาญจนบุรี | ถนนรัตนาธิเบศร์ ไปสะพานพระนั่งเกล้า, แคราย | ||
48+196 | แยกบางบัวทอง | ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปไทรน้อย | ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปบางบัวทอง, ถนนชัยพฤกษ์ | ||
51+053 | ต่างระดับบางบัวทอง | ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ไปสุพรรณบุรี, ชัยนาท | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 ไปปทุมธานี | ||
ตรงไป: ถนนกาญจนาภิเษก ไปบางปะอิน | |||||
ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) | |||||
นนทบุรี | 51+053 | ต่างระดับบางบัวทอง | เชื่อมต่อจาก: ถนนกาญจนาภิเษก จากพระรามที่ 2 | ||
ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ไปสุพรรณบุรี, ชัยนาท | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 ไปปทุมธานี | ||||
ปทุมธานี | ~56+275 | ต่างระดับบางโพธิ์ใต้ | ไม่มี | ถนนราชพฤกษ์ (ถนนรวมและกระจายการจราจร) ไปปทุมธานี, ปากเกร็ด | |
61+553 | ต่างระดับลาดหลุมแก้ว | ถนนปทุมธานี-บางเลน ไปบางเลน | ถนนปทุมธานี-บางเลน ไปปทุมธานี, รังสิต | ||
71+206 | ต่างระดับสามโคก | ถนนสามโคก-เสนา ไปเสนา | ถนนสามโคก-เสนา ไปสามโคก, เข้าเมืองปทุมธานี | ||
74+675 | สะพานเชียงราก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | ||||
พระนครศรีอยุธยา | 75+956 | − | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ไปบางไทร | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ไปปทุมธานี | |
78+800 | ต่างระดับวงแหวนกาญจนาภิเษก | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 53 (โครงการในอนาคต) ไปบรรจบ ถนนสายเอเชีย, บางปะหัน | ทางพิเศษอุดรรัถยา ไปปากเกร็ด, แจ้งวัฒนะ | ||
80+516 | ต่างระดับเชียงรากน้อย | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ไปบางปะหัน | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ไปปทุมธานี | ||
82+764 | − | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ไป สระบุรี, นครราชสีมา | ไม่มี | ||
84+127 | ต่างระดับบางปะอิน (1) | ถนนสายเอเชีย ไปอยุธยา, อ่างทอง | ไม่มี | ||
ถนนพหลโยธิน ไปต่างระดับบางปะอิน (2), วังน้อย, หินกอง | ถนนพหลโยธิน ไปรังสิต, ดอนเมือง | ||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.