คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
เขตบางเขน
เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
บางเขน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 รองจากเขตประเวศ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Remove ads
Remove ads
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางเขนตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสายไหม มีถนนพหลโยธิน คลองหนองผักชี (ลำผักชี) คลองหนองจอก คลองหนองตะแคง คลองหนองบัวมน และคลองออเป้ง (บึงพระยาสุเรนทร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) และคลองคู้ชุมเห็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตลาดพร้าว มีคลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองลำชะล่า คลองตาเร่ง คลองโคกคราม คลองสามขา และคลองหลุมไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจตุจักร เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง มีคลองบางบัวและคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
Remove ads
ประวัติศาสตร์
สรุป
มุมมอง
เขตบางเขนเดิมมีฐานะเป็น อำเภอบางเขน จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร เดิมทิศตะวันตกของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีโดยใช้แนวคลองเปรมประชากรเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของคลองนี้ (ได้แก่ ตำบลทุ่งสองห้องจากอำเภอปากเกร็ด และหมู่ที่ 1–3 ของตำบลลาดโตนดจากอำเภอเมืองนนทบุรี) มาอยู่ในท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน เพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชนในท้องที่ดังกล่าว คลองประปาจึงกลายเป็นแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างทั้งสองจังหวัดแทนนับแต่นั้น
เนื่องจากอำเภอบางเขนมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ประกอบกับมีชุมนุมชน ย่านการค้า และอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในท้องที่ ใน พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตำบลสายไหมตั้งเป็นตำบลออเงิน รวมพื้นที่บางส่วนของตำบลอนุสาวรีย์และตำบลตลาดบางเขนตั้งเป็นตำบลคลองถนน และแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือของตำบลทุ่งสองห้องตั้งเป็นตำบลสีกัน และได้จัดตั้งสุขาภิบาลอนุสาวรีย์ขึ้นในบางส่วนของตำบลอนุสาวรีย์เมื่อ พ.ศ. 2499 (ภายหลังได้ขยายเขตครอบคลุมทั้งอำเภอ จนกระทั่งเทศบาลนครกรุงเทพได้โอนเอาตำบลลาดยาวเข้าไปอยู่ในท้องที่ใน พ.ศ. 2507)
ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยุบการปกครองแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งแบ่งหน่วยการปกครองออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางเขนจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางเขน แบ่งออกเป็น 8 แขวง
ต่อมาเมื่อมีประชากรหนาแน่นขึ้นเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค รวมทั้งท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศแบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตดอนเมืองและเขตจตุจักรใน พ.ศ. 2532 และเมื่อ พ.ศ. 2540 ก็ได้แบ่งพื้นที่ทิศเหนือของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตสายไหม แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว มาอยู่ในการปกครอง โดยปัจจุบันมีฐานะเป็นหมู่ที่ 8–10 ของแขวงท่าแร้ง
Remove ads
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางเขนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองกะเฉด คลองแพรเขียว และคลองไผ่เขียวเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตจตุจักร เขตสายไหม เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง
ประชากร
Remove ads
การคมนาคม

- ทางสายหลัก
- ถนนพหลโยธิน
- ถนนกาญจนาภิเษก
- ถนนแจ้งวัฒนะ
- ถนนรามอินทรา
- ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- ถนนวัชรพล
- ถนนสุขาภิบาล 5 (กม.11)
- ถนนลาดปลาเค้า
- ถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช)
- ทางพิเศษฉลองรัช
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีกรมทหารราบที่ 11 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีพหลโยธิน 59 สถานีสายหยุด และสถานีสะพานใหม่)
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีราชภัฎพระนคร สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีรามอินทรา 3 สถานีลาดปลาเค้า สถานีรามอินทรา กม.4 สถานีมัยลาภ และ สถานีวัชรพล)
|
|
- ทางน้ำ
- คลองถนน
- คลองบางบัวใช้สัญจร
Remove ads
สถานที่สำคัญ

สถานพยาบาล
- โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล
- โรงพยาบาลสายหยุด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
สถาบันการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยไทยบริหารธุรกิจและพณิชยการ
- วิทยาลัยวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยสยามบัณฑิต
โรงเรียน
สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน
สังกัดกรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
- โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
- โรงเรียนบ้านคลองบัว
- โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
- โรงเรียนประชาภิบาล
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
- โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์เพชราวุธวิทยา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
- โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา
- โรงเรียนปราโมชวิทยาทาน
- โรงเรียนอมาตยกุล
- โรงเรียนนิเวศน์วารินทร์
- โรงเรียนภูมิไพโรจน์พิทยา
- โรงเรียนธนศิลป์
- โรงเรียนเอี่ยมพานิชวิทยา
- โรงเรียนอุทัยวิทยา
- โรงเรียนไตรรัตนาภิรักษ์
- โรงเรียนสุขฤทัย
สถานรับเลี้ยงเด็ก
- ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads