สามโคก เป็นอำเภอที่มีขนาดเล็กที่สุดของจังหวัดปทุมธานี มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางอำเภอ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอสามโคก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sam Khok |
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอสามโคก | |
พิกัด: 14°3′55″N 100°31′21″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 94.967 ตร.กม. (36.667 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 57,064 คน |
• ความหนาแน่น | 600.88 คน/ตร.กม. (1,556.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 12160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1307 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสามโคก หมู่ที่ 7 ถนนสามโคก-เสนา ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160 |
เว็บไซต์ | http://www.samkhok.com/ |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะอิน (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองเชียงรากน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอคลองหลวง มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานี ลำรางสาธารณะ คลองตาหลี คลองบางพูด คลองเชียงรากใหญ่ คลองแม่น้ำอ้อม แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางโพธิ์เหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว มีคลองบางโพธิ์เหนือ คลองบางเตย และคลองลัดวัดบ่อเงินเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
อำเภอสามโคกเดิมเป็น "เมืองสามโคก" เพราะมีโคกโบราณอยู่ในเมือง 3 แห่ง เมืองสามโคกเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ปรากฏหลักฐานเมื่อหลังแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตั้งดั้งเดิมของเมืองสามโคกอยู่ที่บริเวณวัดพญาเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ใกล้ ๆ กับวัดป่างิ้ว) เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 1 ในปีพ.ศ. 2112 เมืองนี้ได้ร้างไป
จนถึงพ.ศ. 2203 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมิงเปอกับพรรคพวกมอญด้วยกัน 11 คน ได้พาครอบครัวมอญประมาณหมื่นคนอพยพหนีการกดขี่ของพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ "บ้านสามโคก" ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (บริเวณระหว่างวัดตำหนักกับวัดสะแก) ชุมชนมอญได้ขยายตัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จึงได้ตั้งเป็นเมืองขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดสิงห์และใช้ชื่อว่า เมืองสามโคก
การอพยพของชาวมอญที่ได้เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารหลังจากรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ได้มีการอพยพครั้งสำคัญอีกสองครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2317 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยมีพญาเจ่ง- ตะละเส่งกับพระยากลางเมืองเป็นหัวหน้า และในปีพ.ศ. 2358 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) โดยมีสมิงรามัญเมืองเมาะตะมะเป็นหัวหน้า ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่อพยพมากทั้งสองครั้งนี้ส่วนหนึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสามโคก และอีกส่วนหนึ่งให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด เมืองนนทบุรี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน)
ปรากฏหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรมหาเสนารักษ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรม ณ ที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเยื้องเมืองสามโคก (บริเวณวัดปทุมทองปัจจุบัน) ทรงรับดอกบัวหลวงจากชาวมอญที่นำมาทูลเกล้าฯ ถวายอย่างมากมาย และประกอบกับในครั้งนั้น เดือน 11 เป็นฤดูน้ำหลาก ดอกบัวบานสะพรั่งอยู่ทั่วไป ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่เพื่อให้เป็นสิริมงคลว่า เมืองประทุมธานี และยกฐานะขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นตรี (ภายหลังเปลี่ยนการสะกดเป็น "ปทุมธานี")
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงตั้งเป็น อำเภอสามโคก ตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งในที่แห่งใหม่ที่ปากคลองบางเตยข้างเหนือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
เมื่อปี พ.ศ. 2524 นายสุนทร ศรีมาเสริม นายอำเภอสามโคกได้พิจารณาเห็นว่า อาคารที่ว่าการอำเภอสามโคกหลังเก่าเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2464 มีสภาพชำรุดทรุดโทรมและตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่คับแคบเนื่องจากถูกน้ำเซาะ ตลิ่งพังเหลือที่ดินน้อยมาก ยากแก่การป้องกัน จึงให้ดำเนินการย้ายไปสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอในที่แห่งใหม่ซึ่งอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (สามโคก-เสนา) เยื้องไปทางทิศใต้ในเขตตำบลบางเตย บนเนื้อที่ 7 ไร่เศษ ซึ่งนายสำรวย พึ่งประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ร.ศ. 201 เวลา 11.56 น.
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
พื้นที่อำเภอสามโคกแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 11 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 58 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[1] |
สี | แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | บางเตย | Bang Toei | 10 หมู่บ้าน | 12,041 | ||
2. | คลองควาย | Khlong Khwai | 8 หมู่บ้าน | 5,282 | ||
3. | สามโคก | Sam Khok | 4 หมู่บ้าน | 7,265 | ||
4. | กระแชง | Krachaeng | 3 หมู่บ้าน | 6,784 | ||
5. | บางโพธิ์เหนือ | Bang Pho Nuea | 3 หมู่บ้าน | 3,199 | ||
6. | เชียงรากใหญ่ | Chiang Rak Yai | 7 หมู่บ้าน | 6,215 | ||
7. | บ้านปทุม | Ban Pathum | 6 หมู่บ้าน | 4,982 | ||
8. | บ้านงิ้ว | Ban Ngio | 5 หมู่บ้าน | 2,267 | ||
9. | เชียงรากน้อย | Chiang Rak Noi | 5 หมู่บ้าน | 3,723 | ||
10. | บางกระบือ | Bang Krabue | 3 หมู่บ้าน | 1,821 | ||
11. | ท้ายเกาะ | Thai Ko | 4 หมู่บ้าน | 2,780 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอสามโคกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางเตย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเตย
- เทศบาลตำบลสามโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามโคกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเชียงรากใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงรากใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางเตย) และตำบลคลองควายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระแชงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางโพธิ์เหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโพธิ์เหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปทุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านปทุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านงิ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงรากน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระบือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายเกาะทั้งตำบล
การคมนาคม
ถนนที่ผ่านอำเภอสามโคก ถนนสายหลัก
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ถนนปทุมธานี-บางปะหัน, ถนนบางปะหัน-ลพบุรี, ถนนปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (ถนนปทุมธานี-สามโคก-เสนา)
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
ถนนสายรอง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 (ถนนคลองหลวง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309
- ถนนเทศบาล1
- ถนนเทศบาล3
สถานที่สำคัญ
สถาบันการศึกษา
- มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- โรงเรียนสามโคก
- โรงเรียนชัยสิทธาวาส "พัฒน์สายบำรุง"
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าปทุมธานี
วัด
- วัดกร่าง
- วัดโกเมศรัตนาราม
- วัดไก่เตี้ย (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดจันทน์กะพ้อ
- วัดเจดีย์ทอง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดแจ้ง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดชัยสิทธาวาส
- วัดเชิงท่า (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดดอกไม้ (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดตำหนัก (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดถั่วทอง
- วัดท้ายเกาะ
- วัดบัวทอง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดบัวหลวง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดบางเตยกลาง
- วัดบางเตยนอก
- วัดบางเตยใน
- วัดบางนา
- วัดบ้านพร้าวนอก
- วัดบ้านพร้าวใน
- วัดโบสถ์ (อำเภอสามโคก)
- วัดปทุมทอง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดป่างิ้ว (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม
- วัดไผ่ล้อม (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดพลับสุทธาวาส
- วัดโพธิ์นิ่มรัตตาราม
- วัดมหิงษาราม (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดเมตารางค์
- วัดศาลาแดงเหนือ
- วัดสวนมะม่วง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดสหราษฎร์บำรุง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดสองพี่น้อง (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดสะแก (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดสามโคก
- วัดสามัคคิยาราม
- วัดสิงห์ (จังหวัดปทุมธานี)
- วัดสุราษฎร์รังสรรค์
- วัดอัมพุวราราม
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.