Loading AI tools
อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 8 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ อดีตประธานองคมนตรี และอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต | |
---|---|
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |
พระรูปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง | 12 มีนาคม พ.ศ. 2494 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 27 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2506 9 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 |
แต่งตั้งโดย | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ประธานองคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 |
แต่งตั้งโดย | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร |
ดำรงตำแหน่ง | 8 เมษายน พ.ศ. 2495 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 |
แต่งตั้งโดย | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ |
ถัดไป | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
ดำรงตำแหน่ง | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 8 กันยายน พ.ศ. 2517 |
แต่งตั้งโดย | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ |
ถัดไป | หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ |
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ | |
ดำรงตำแหน่ง | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี |
ถัดไป | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี |
ประสูติ | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 8 กันยายน พ.ศ. 2517 (88 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
หม่อม | หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม) |
บุตร | 3 คน
รายชื่อ
|
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | โสณกุล |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา |
พระมารดา | หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา |
ลายพระอภิไธย |
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา; ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง
หม่อมเจ้าธานีนิวัติผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระศีลาจารย์[1] วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[2]
หลังจากลาผนวช ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนรอตติงดีน และโรงเรียนรักบี้ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (B.A.) สาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากวิทยาลัยเมอร์ตันคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2451 แล้วเสด็จกลับมาทรงรับราชการในปีถัดมา ทรงดำรงตำแหน่งปลัดกรมพลำภัง (กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน), ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลกรุงเก่า, [3]ราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ช่วยราชเลขานุการ[4] และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[5]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตเป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 แทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่กราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง[6] แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เต็มตามตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[7] ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการจนถึงปี พ.ศ. 2475 จึงทรงออกจากตำแหน่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้แต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 [8] หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จึงทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[9] และวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรี แทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ที่ทรงย้ายไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[10] ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงศักดินา 11,000[11] เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ รัฐสภาจึงแต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[12] สุดท้ายทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรีอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495[13]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก 2 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน[14] และตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศฟิลิปปินส์[15]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสกสมรสกับหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม) ธิดาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) กับหม่อมโต โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร์) มีพระโอรสธิดา 4 คน ดังนี้[16]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2517 สิริพระชันษา 88 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ และประดิษฐานพระโกศพระศพไว้ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ณ พระเมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาส และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เลี้ยงเพลสามหาบ และทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์อีก 10 รูป สดับปกรณ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
(7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)
(8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 8 กันยายน พ.ศ. 2517)
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.