Loading AI tools
อดีตนายกรัฐมนตรีไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพล ถนอม กิตติขจร ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๓ ภ.ป.ร. ๑ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 ตั้งแต่มกราคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2501 และ พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2516 ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ก่อรัฐประหารตนเองใน พ.ศ. 2514 จนกระทั่งเกิดการประท้วงในที่สาธารณะซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงทำให้เขาต้องลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัยออกนอกประเทศ พร้อมกับจอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชาย ภายหลังเหตุการณ์นี้ จอมพล ถนอม ได้เดินทางกลับประเทศ แล้วบวชเป็นพระภิกษุ เป็นชนวนไปสู่การขับไล่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ซึ่งมีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก[1]
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ถนอม กิตติขจร | |
---|---|
ถนอมใน พ.ศ. 2511 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (9 ปี 10 เดือน 5 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | ประภาส จารุเสถียร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พจน์ สารสิน |
ก่อนหน้า | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (9 เดือน 19 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | ประภาส จารุเสถียร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ |
ก่อนหน้า | พจน์ สารสิน |
ถัดไป | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (4 ปี 9 เดือน 29 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | |
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินทร์ |
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (16 ปี 21 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตนเอง |
ก่อนหน้า | แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | ทวี จุลละทรัพย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (9 เดือน 25 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ถัดไป | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516 (9 ปี 9 เดือน 19 วัน) | |
ก่อนหน้า | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (9 เดือน 20 วัน) | |
ก่อนหน้า | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | จอมพล ประภาส จารุเสถียร |
นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (7 ปี 11 เดือน 30 วัน) | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งมหาวิทยาลัย |
ถัดไป | สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ถนอม 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เมืองตาก ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (92 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติสังคม (2500) สหประชาไทย (2511) |
คู่สมรส | จงกล ถนัดรบ (สมรส 2473) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | สง่า กิตติขจร (น้องชาย) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2472–2516 |
ยศ | จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
ผ่านศึก | |
จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ ได้ชื่อว่าเป็น "จอมพลคนสุดท้าย"[2] ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์ไทย ภายหลังเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี 309 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ณ บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางลิ้นจี่ โสภิตบรรณลักษณ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน ได้แก่
จอมพล ถนอม กิตติขจร มีแซ่ในภาษาจีนว่า ฝู (จีน: 符; พินอิน: fú) เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก, โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ
จอมพล ถนอม ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2504[3] จอมพล ถนอม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2503[4] - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506[5]
จอมพล ถนอม กิตติขจร สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ) บุตรีของ พันตรี หลวง จบกระบวนยุทธ์ (แช่ม ถนัดรบ) และคุณหญิงเครือวัลย์ จบกระบวนยุทธ์ ท่านผู้หญิงจงกลเป็นอดีตประธานกรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอดีตประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทั้งสองคนมีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่
นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดู ได้แก่
ถนอมรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวด ในกรมทหารราบที่ 8 กองพันทหารราบที่ 1 (ร.8 พัน.1) จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหารซึ่งผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยไม่ถูกลงโทษแต่อย่างใด
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็น "พันโท" และดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 (พล.ร.1) รองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และเป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาโดยลำดับจนกระทั่งวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พลเอก ถนอม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด[7] สืบต่อจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เสียชีวิต
ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 พลเอก ถนอม ได้รับพระราชทานยศ จอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ [8]
และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอม ได้สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้แก่พลเอก ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรักษาราชการรองผู้บัญชาการทหารบก โดยเหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว[9]
จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของพจน์ สารสิน สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้จอมพล ถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่หลังบริหารประเทศแค่ 9 เดือนเศษ เขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อจอมพล สฤษดิ์เสียชีวิต จอมพล ถนอมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่ถนอมเป็นนายกรัฐมนตรี มีการสร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย โดยได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสหรัฐในช่วงสงครามเย็นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสร้างเขื่อน เช่น เขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนอุบลรัตน์
ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วยในฐานะพันธมิตรของสหรัฐหรือฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย โดยหลัก ๆ มี สหรัฐ, เกาหลีใต้, ไทย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ เพื่อไปสนับสนุนเวียดนามใต้ให้เป็นประชาธิปไตย และเป็นการต่อต้านคอมมิวนิสต์
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย จอมพล ถนอม ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.) สร้างความไม่พอใจและกระแสต่อต้านในสังคมระยะหนึ่ง ถึงกับมีการอภิปรายในสภาและกังวลกันว่าอาจเป็นชนวนเหตุให้เกิดเหตุร้ายซ้ำอีก[10] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม จอมพลถนอมจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว[11]
หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในปี พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 ถนอม กิตติขจรได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองผลประโยชน์และความทะเยอทะยานของตนเอง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจเถื่อน ได้แก่ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายในนามนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึง ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง (หมายถึงจอมพล ถนอม นั่นเอง)
จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายต่อความทะเยอทะยานที่ปราศจากความชอบธรรมในหลักการประชาธิปไตย
จอมพล ถนอม พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพล ถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพล ถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก
จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2501 สมัยที่ 2 - 4 หลังจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล ถนอม จึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม เดินทางกลับประเทศในฐานะสามเณร เนื่องจากสมัคร สุนทรเวชแจ้งว่าราชสำนักอนุญาต[12]: 234 และได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นผู้อุปสมบทให้: 248 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จฯ เยี่ยมพระถนอมที่วัดด้วย[13]: 151
จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ ดังนี้
ลำดับสาแหรกของถนอม กิตติขจร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.