Remove ads
อำเภอในจังหวัดตาก ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองตาก เป็นอำเภอในจังหวัดตาก ศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และจุดเชื่อมต่อไปยังอำเภอแม่สอด ศูนย์กลางค้าชายแดนไทย-พม่า อำเภอเมืองตากเดิมชื่อ "เมืองระแหง" อดีตมีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่[ต้องการอ้างอิง] ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านฝั่งตะวันตก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวาของแม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
อำเภอเมืองตาก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Tak |
คำขวัญ: ต้นกระบากใหญ่ ริมน้ำปิงประทับใจ แกรนิต ไม้ แร่เฟลสปาร์ | |
แผนที่จังหวัดตาก เน้นอำเภอเมืองตาก | |
พิกัด: 16°52′54″N 99°7′25″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตาก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,599.356 ตร.กม. (617.515 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 102,166 คน |
• ความหนาแน่น | 63.88 คน/ตร.กม. (165.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 63000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6301 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองตาก ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 63000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุค นั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่อง กันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย
เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก
เมืองตากมีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก”
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร
ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ
กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2
ทุกวันนี้มีผู้อธิบายที่มาของนามเมืองจังหวัดตากใหม่แล้ว โดยอ้างอิงจากหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทย บรรพชนของชาวตากเป็นมอญ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเอาไว้ใน “อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง” ว่าเมืองตากเก่านี้พวกมอญเข้ามาตั้งเป็นแน่ไม่ต้องสงสัย เพราะอยู่ทางฝั่งตะวันตก (ของแม่น้ำปิง) และอยู่ตรงปากน้ำวัง ทางไปเมืองนครลำปางออกลำน้ำพิงเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในทางคมนาคม มีวัดและพระเจดีย์องค์หนึ่งเรียกว่าพระมหาธาตุเมืองตากจากนั้นประวัติศาสตร์จังหวัดตากในสมัยสุโขทัยยังบ่งบอกว่าเมืองตากเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญเมืองหนึ่งในสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากนั้นไม่นานขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็ยกทัพมาตีเมืองตากแต่ก็พ่ายแพ้ให้แก่พ่อขุนรามคำแหง (ซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ในสมัยนั้น)เมืองตากดูเหมือนจะถูกลดความสำคัญลงในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะไม่ปรากฏหลักฐานหรือเอกสารใดๆ ที่ระบุถึงเมืองตากเป็นเพียงแค่หัวเมืองทางเหนือที่บางครั้งก็เป็นเส้นทางผ่านของกองทัพพม่าในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพให้แก่กรุงศรีอยุธยา เมืองตากถูกย้ายมาอยู่ที่บ้านป่ามะม่วง กลายเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกอีกครั้งหนึ่ง และยังเป็นเมืองที่ใช้ชุมนุมพลไปตีเมืองเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้วยเหตุที่ประวัติศาสตร์ของเมืองตากเกี่ยวพันอยู่กับเรื่องรบพุ่ง ทำสงครามมาตั้งแต่อดีต นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบางคนจึงสันนิษฐานว่านามเมือง “ตาก” น่าจะแปลว่า “ตี” ในภาษามอญโดยที่ไม่น่าจะข้องเกี่ยวกับเรื่องดินฟ้าอากาศแต่อย่างใด
งานประเพณีลอยกระทงของไทย มีประวัติยาวนานเท่าที่มีบันทึกเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีแนวความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาขอขมาต่อแม่พระคงคา ได้มีการพัฒนากระทงเป็นรูปดอกบัวบาน โดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศคนแรกในประวัติศาสตร์การลอยกระทง และกลายเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงนั้น มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตมาว่า มีสามเณรน้อยชอบทำบาป ยิงนกตกปลา ทำร้ายไก่ วัว เต่า และพญานาค ตาย จึงเกิดสำนึกในบาปที่ตัวเองได้ทำ จึงขออธิษฐานให้ได้เกิดมาเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ต่อมาเกิดมาเป็นไข่ของกาขาวคู่หนึ่ง และฟักออกมาเป็นเด็กทารก 5 คน คือ เณรน้อย ไก่ วัว เต่า และพญานาค กาขาวที่ตายลงจึงได้เข้าฝันลูก ๆ ทั้ง 5 ว่าถ้าระลึกถึงพ่อแม่ก็ให้นำด้ายมาฟั่นเป็น รูปตีนกา แล้วลอยแม่น้ำคงคาไป ต่อมาเด็กทั้ง 5 คนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ดังนั้นการลอยฟั่นด้ายไปเปรียบเสมือนเป็นการบูชาพระคุณของบิดามารดา และเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ด้วย หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาวัสดุการทำกระทงสายเป็นกะลามะพร้าวที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เนื่องจากชาวเมืองตากนั้นนิยมรับประทานเมี่ยงเป็นอาหารว่าง ถ้าเหลือก็นำมาจำหน่าย “เมี่ยง” ทำจากมะพร้าวใช้เฉพาะส่วนเนื้อ ถั่วลิสง และใบเมี่ยงเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลาที่เหลือจากการทำเมี่ยงเป็นจำนวนมาก จึงเกิดความคิดนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นกระทง โดยขัดทำความสะอาดเลือกเฉพาะด้านที่สมบูรณ์ไม่มีรู มาตกแต่งให้สวยงาม ภายในใส่ฟั่นด้ายรูปตีนกาตามตำนานประเพณีที่สืบต่อกันมา โดยเทียนขี้ผึ้งที่ใช้ยึดฟั่นด้ายนำมาจากเทียนจำนำพรรษาของพระสงฆ์ที่ไม่ได้ใช้หลังจากช่วงออกพรรษาไปแล้ว จึงถือว่าเป็นศิริมงคลสำหรับตนเอง งานประเพณีกระทงสายไหลประทีปพันดวง เดิมเป็นเพียงการสาธิตการลอยกระทงสายในแม่น้ำปิงเท่านั้น จนปี 2540 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเกิดเป็นประเพณีการแข่งขันลอยกระทงสายชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กิจกรรมภายในงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงนั้น เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าที่มีการกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ ของเด็กนักเรียนจากชุมชมต่าง ๆ มีการจัดแสดงกระทงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จัดการประกวดกระทงนำ กระทงสาย และกระทงตามจากตัวแทนชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก และกระทงเหล่านี้จะนำไปแข่งลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงในช่วงตอนค่ำด้วย ช่วงค่ำเริ่มจากการขบวนอัญเชิญกระทงพระราชทาน ไปประดิษฐาน ณ เวทีแข่งขันกลางแม่น้ำปิง ตามด้วยขบวนเชิญกระทงสายที่จะเข้าแข่งในวันนั้นจากชุมชนต่าง ๆ เมื่อเข้าประจำการแข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงนั้น จะเริ่มแข่งที่ละชุมชน เริ่มที่ปล่อยกระทงนำอันสวยงาม ตามด้วยกระทงตามที่ทำจากกะลาจุดไฟที่ฟั่นด้ายรูปตีนกาพันใบ และปิดท้ายขบวนกระทงด้วยกระทงปิดท้ายที่มีลักษณะคล้ายกระทงนำ แต่มีขนาดเล็กกว่า ขบวนกระทงสายที่สว่างโดดเด่นไหลยาวต่อเนื่องไปตามลำน้ำปิงอย่างสวยงามตามแนวโค้งของสันทรายใต้น้ำ ดูเป็นเส้นสายธารแห่งความหวังของการดำรงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมที่ควรภาคภูมิใจ ประกอบความตื่นเต้นของกองเชียร์แต่ละชุมชนที่ลุ้นให้ชุมชนของตัวเองมีขบวนกระทงสายที่ต่อเนื่องและงดงามที่สุด
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ทรงได้รับคำต่อท้ายพระนามว่า มหาราชแสดงถึงการประกอบพระราชกรณียกิจ อันเอนกอนันต์ต่อชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจในการกอบกู้เอกราช และการรวบรวมคนไทยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนเราสามารถเป็นชาติมาได้ในปัจจุบัน พระราชประวัติของพระองค์ก่อนเสวยราชสมบัตินั้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์ท่านทรงมีเชื้อสายจีน โดยมีบิดาเป็นคนจีน และมารดาเป็นคนไทย จากความสามารถพระองค์ได้เข้ารับราชการในสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้ประกอบความดีความชอบมากมายจนได้เป็นถึงเจ้าเมืองตาก ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกพระองค์ท่านทางมีมุมมองอันกว้างไกล และคาดเดาเหตุการณ์ได้ถูกต้องว่า ถ้ายังอยู่ในอยุธยาต่อไปก็คงจะไม่รอดแน่ ดังนั้น จึงทรงรวบรวมไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไป แล้วจึงรวบรวมไพร่พลกลับมากู้เอกราชได้ภายในระยะเวลาอันสั้น จากพระราชกรณียกิจดังกล่าว ชาวจังหวัดตาก จึงร่วมใจกันจัดงานตากสินมหาราชานุสรณ์ขึ้น เพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อบ้านเมืองมาในอดีต
วันที่ 28 ธันวาคม ถึง 3 มกราคม ณ บริเวณศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดตาก
ประเพณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากอาชีพส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดตาก คือ ทำนา ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำนา คือ ข้าว นอกจากข้าวเป็นอาหารหลักแล้วยังสามารถแปรรูปได้หลายอย่าง อย่างเช่น ข้าวแคบ หรือ ข้าวเกรียบ โดยเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวเมืองตาก และเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่มีวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เริ่มจากการไล้แผ่นแป้งพร้อมโรยงาดำ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง การรับประทาน สามารถทำได้รูปแบบ เช่น เมี่ยงคำ ยำข้าวเกรียบ ปิ้งหรือทอด รับประทานได้ในทุกเทศกาลและโอกาสต่าง ๆ สถานที่ที่เหมาะสมในการจัดงานประเพณีในครั้งนี้ คือ หาดทรายทอง แม่น้ำปิง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนและเล่นน้ำของชาวเมืองตาก นักท่องเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวและเล่นน้ำได้โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงทะเล โดยมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ห่วงยาง อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการเล่นกีฬาทางน้ำทุกชนิด รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬา เช่น วอลเล่ย์บอลชายหาด ฟุตบอลชายหาด นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตากทุกคน
อำเภอเมืองตากตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดตาก ตามแนวเทือกเขาถนนธงชัย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 52 ลิปดา 54 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 7 ลิปดา 25 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล 116.2 เมตร ณ ที่ตั้งที่ศูนย์ราชการจังหวัดตาก (ศาลากลางจังหวัดตาก) อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,599.356 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 999,597.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของจังหวัดตาก
อำเภอเมืองตากมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 8 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมืองตากมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,599.356 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 999,597.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.75 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406,650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเมืองตาก ประกอบด้วยป่าไม้ และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย พื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง มีอยู่ประมาณร้อยละ 65 ของพื้นที่ ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าไม้โปร่งและป่าเบญจพรรณ และเป็นพื้นที่ราบลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ราบแคบๆ ริม 2 ฝั่งแม่น้ำ
เนื่องจากจังหวัดตากมีสภาพภูมิประเทศแบ่งออกเป็นสองซีก คือ ตะวันออกและตะวันตก โดยมีเทือกเขาถนนธงชัยแบ่งกลาง ทำให้ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดแตกต่างกันไปด้วย เนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ทำให้ซีกตะวันออกจะได้รับความชื้นจากลมมรสุมไม่เต็มที่
โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของจังหวัดตาก ระหว่างปี 2535 ถึง 2545 จะอยู่ ในช่วง 651.10 มม. ถึง 1,556.30 มม. ฝนตกมากที่สุดในปี 2542 วัดได้ถึง 1,556.30 มม. จำนวนวันฝนตก 154 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุด ในปี 2536 วัดได้ 651.10 มม. จำนวนวันฝนตก 93 วัน
ในช่วงระหว่างปี 2535 ถึง 2545 จังหวัดตากมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 27.73 องศาเซลเซียส ถึง 29.31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดค่าเฉลี่ยปานกลาง 18.38 องศาเซลเซียส ถึง 20.23 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 5.7 องศาเซลเซียส เมื่อเดือน มกราคม 2517 และอุณหภูมิสูงสุดค่าเฉลี่ยปานกลาง 36.16 องศาเซลเซียส ถึง 38.38 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อเดือน มีนาคม 2506
ในช่วงระหว่างปี 2535 ถึง 2545 จังหวัดตากมีความชื้นเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 69 เปอร์เซ็นต์ ถึง 71.8 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นเฉลี่ยต่ำสุดปานกลางอยู่ในช่วง 28 เปอร์เซ็นต์ ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นสัมพัทธ์ค่าเฉลี่ยสูงสุดปานกลาง 92 เปอร์เซ็นต์ ถึง 96 เปอร์เซ็นต์
อำเภอเมืองตากแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 102 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1] |
---|---|---|---|
1. | ระแหง | Rahaeng | 5,513 |
2. | หนองหลวง | Nong Luang | 4,630 |
3. | เชียงเงิน | Chiang Ngoen | 2,429 |
4. | หัวเดียด | Hua Diat | 3,002 |
5. | หนองบัวเหนือ | Nong Bua Nuea | 4,587 |
6. | ไม้งาม | Mai Ngam | 11,498 |
7. | โป่งแดง | Pong Daeng | 9,328 |
8. | น้ำรึม | Nam Ruem | 13,998 |
9. | วังหิน | Wang Hin | 9,638 |
10. | แม่ท้อ | Mae Tho | 8,388 |
11. | ป่ามะม่วง | Pa Mamuang | 4,334 |
12. | หนองบัวใต้ | Nong Bua Tai | 6,207 |
13. | วังประจบ | Wang Prachop | 13,443 |
14. | ตลุกกลางทุ่ง | Taluk Klang Thung | 4,570 |
ท้องที่อำเภอเมืองตากประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
จากกรุงเทพมหานคร สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านเข้ากำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.