Loading AI tools
จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบลราชธานี มักเรียกโดยทั่วไปสั้นๆ ว่า อุบลฯ อักษรย่อ อบ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดนครราชสีมา[ต้องการอ้างอิง] นับเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เก่าแก่ เช่น ภาพเขียนสีที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้คือแห่เทียนพรรษา[2] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา
จังหวัดอุบลราชธานี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Ubon Ratchathani |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์ คนดีศรีอุบล | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15,774.00 ตร.กม. (6,090.38 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 5 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,869,608 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 2 |
• ความหนาแน่น | 118.52 คน/ตร.กม. (307.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 44 |
รหัส ISO 3166 | TH-34 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | อุบล, อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ยางนา |
• ดอกไม้ | บัว |
• สัตว์น้ำ | ปลาเทโพ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ถนนแจ้งสนิท ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 |
• โทรศัพท์ | 0 4525 4539, 0 4531 9700 |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งโคราช โดยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งภูมิประเทศแบบที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขาสลับซับซ้อนในชายแดนตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณอำเภอน้ำยืนและนาจะหลวย โดยมีเทือกเขาที่สำคัญคือทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างตัวจังหวัดและประเทศลาว และมีแม่น้ำสำคัญ ๆ ได้แก่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำที่สำคัญ ๆ หลายสาย มีลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ และลำโดมน้อยเป็นอาทิ
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนมากนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักโดยมีการทำนาข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ปอแก้ว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง มีการเลี้ยงปศุสัตว์ และทำการประมงอยู่เล็กน้อย และยังมีอาชีพอื่น ๆ ที่สำคัญด้วย อาทิ อุตสาหกรรมและการค้าการบริการ จังหวัดอุบลราชธานีได้รับขนานนามว่า" เมืองนักปราชญ์ เมืองศิลปินแห่งชาติ"[3]
อุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางสุดลูกหูลูกตา ครอบคลุมพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่าง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายสำคัญถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น โดยแม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง ให้ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล[4]
ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นของอาณาจักรพระนคร จนกระทั่งพระเจ้าฟ้างุ้มได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง และสืบต่อมาเป็นอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 กลุ่มเจ้าพระวอ พร้อมด้วยท้าวคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) ได้อพยพมาจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน มาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณดอนมดแดง ต่อมาได้เกิดน้ำท่วมเกาะนั้น จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บริเวณตัวจังหวัดในปัจจุบัน และได้ตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2335 จนกระทั่งถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอีสานและมณฑลอุบล ก่อนจะถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2469
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออกในปี พ.ศ. 2515 อำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดยโสธร และต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ
แนวพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120-140 เมตร (395-460 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ห้วยตุงลุง และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ลักษณะภูมิสัณฐานของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
ทรัพยากร ดิน จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีประชากรมาก ดินเป็นทรัพยากรคิด เป็นร้อยละ 86.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือประมาณ 10,299,063 ไร่ ด้านป่าไม้มีทั้งป่าเต็งรัง หรือป่าแดงมีอยู่ทั่วไป มีเขตป่าดงดิบในเขตอำเภอน้ำยืน และป่าผสม ส่วนป่าเบญจพรรณมีอยู่ในอำเภอเขมราฐ อำเภอบุณฑริก และอำเภอพิบูลมังสาหาร ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตระแบก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เคี่ยม ไม้ชุมแพรก ไม้กันเกรา สภาพพื้นที่ป่าไม้จากการสำรวจเมื่อปี 2538 มีเนื้อป่าประมาณ 2,495 ตร.กม. หรือประมาณ 1.56 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.49 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งได้ดังนี้ ป่าถาวร ตามมติ ครม.จำนวน 1 ป่า เนื้อที่ 77,312.50 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 46 ป่า เนื้อที่ 3,396,009.163 ไร่ พื้นที่ป่า สปก. จำนวน 40 ป่า เนื้อที่ 1,665,543.30 ไร่ ป่าอนุรักษ์ ตาม มติ ครม. จำนวน 10 ป่า เนื้อที่ 1,439,998.402 ไร่ ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย จำนวน 5 ป่า เนื้อที่ 880,220.00 ไร่ สวนป่า จำนวน 15 ป่า เนื้อที่ 20,985.73 ไร่ พื้นที่ป่าธรรมชาติ (รวม จ.อำนาจเจริญ) เนื้อที่ 24,292,656 ไร่
แร่ธาตุ จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีแร่อโลหะเพียงชนิดเดียว คือ เกลือหิน ซึ่งเจาะพบแล้ว 2 แห่งคือ อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอตระการพืชผล นอกจากนี้ มีทรัพยากรแร่ที่อยู่ในรูปของหินชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และห้วยตุงลุง
จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2704 หมู่บ้าน ได้แก่
|
มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 239 องค์กรแบ่งออกเป็น 1 เทศบาลนคร 4 เทศบาลเมือง 54 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 179 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมือง
อำเภอพิบูลมังสาหาร
อำเภอวารินชำราบ
อำเภอเดชอุดม
อำเภอเขื่องใน
|
อำเภอเขมราฐ
อำเภอนาจะหลวย
อำเภอน้ำยืน
อำเภอบุณฑริก
อำเภอนาเยีย
อำเภอสว่างวีระวงศ์
อำเภอสำโรง
อำเภอโขงเจียม
|
อำเภอตระการพืชผล
อำเภอกุดข้าวปุ้น
อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอตาลสุม อำเภอโพธิ์ไทร
อำเภอสิรินธร
อำเภอเหล่าเสือโก้ก
อำเภอน้ำขุ่น
อำเภอศรีเมืองใหม่
|
ลำดับ | ชื่อ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
ข้าหลวงกำกับราชการเมืองอุบลราชธานี[5] | ||
1 | หลวงจินดารัตน์ (ถนัด กัปตัน) | พ.ศ. 2425–2426 |
2 | พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2426–2436 |
3 | พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2436–2441 |
4 | พระโยธีบริรักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2441–2443 |
ผู้ว่าราชการเมืองอุบลราชธานี[5] | ||
1 | พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) | ไม่ทราบข้อมูล |
2 | พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) | ไม่ทราบข้อมูล |
3 | หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) | พ.ศ. 2450[6]–2451[7] |
4 | อำมาตย์เอกพระภิรมย์ราชา (พร้อม วาจรัต) | พ.ศ. 2456–2458 |
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี[5] | ||
1 | อำมาตย์เอกพระยาปทุมเทพภักดี (อ่วม บุณยรัตพันธุ์) | พ.ศ. 2458–2465 |
2 | อำมาตย์โทพระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) | พ.ศ. 2465–2469 |
3 | อำมาตย์เอกพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) | พ.ศ. 2469–2471 |
4 | อำมาตย์โทพระยาสิงหบุรานุรักษ์ (สวาสดิ์ บุรณสมภพ) | พ.ศ. 2471–2473 |
5 | อำมาตย์โทพระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาส) | พ.ศ. 2473–2476 |
6 | พ.ต.อ.พระขจัดทารุณกรรม (เงิน หนุนภักดี) | พ.ศ. 2476–2478 |
7 | อำมาตย์เอกพระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) | พ.ศ. 2478–2481 |
8 | อำมาตย์เอกพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) | พ.ศ. 2481–2481 |
9 | อำมาตย์เอกพระพรหมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) | พ.ศ. 2481–2482 |
10 | อำมาตย์โทพระยาอนุมานสารกรรม (โต่ง สารักคานนท์) | พ.ศ. 2482–2483 |
11 | พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงษ์ไกร) | พ.ศ. 2483–2484 |
12 | หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) | พ.ศ. 2484–2487 |
13 | หลวงนรัตถรักษา (ชื่น นรัตถรักษา) | พ.ศ. 2487–2489 |
14 | นายเชื้อ พิทักษากร | พ.ศ. 2489–2490 |
15 | หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร) | พ.ศ. 2490–2492 |
16 | นายชอบ ชัยประภา | พ.ศ. 2492–2494 |
17 | นายยุทธ จัณยานนท์ | พ.ศ. 2494–2495 |
18 | นายสง่า สุขรัตน์ | พ.ศ. 2495–2497 |
19 | นายเกียรติ ธนกุล | พ.ศ. 2497–2498 |
20 | นายสนิท วิไลจิตต์ | พ.ศ. 2498–2499 |
21 | นายประสงค์ อิศรภักดี | พ.ศ. 2499–2501 |
22 | นายกำจัด ผาติสุวัณณ์ | พ.ศ. 2501–2509 |
23 | นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ | พ.ศ. 2509–2513 |
24 | พลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร | พ.ศ. 2513–2516 |
25 | นายเจริญ ปานทอง | พ.ศ. 2516–2518 |
26 | นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ | พ.ศ. 2519–2520 |
27 | นายประมูล จันทรจำนง | พ.ศ. 2520–2522 |
28 | นายบุญช่วย ศรีสารคาม | พ.ศ. 2522–2526 |
29 | นายเจริญสุข ศิลาพันธุ์ | พ.ศ. 2526–2528 |
30 | เรือตรีดนัย เกตุสิริ | พ.ศ. 2528–2532 |
31 | นายสายสิทธิ พรแก้ว | พ.ศ. 2532–2535 |
32 | นายไมตรี ไนยกูล | พ.ศ. 2535–2537 |
33 | นายนิธิศักดิ์ ราชพิธ | พ.ศ. 2537–2538 |
34 | ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี | พ.ศ. 2538–2540 |
35 | นายชาติสง่า โมฬีชาติ | พ.ศ. 2540–2541 |
36 | นายศิวะ แสงมณี | พ.ศ. 2541–2543 |
37 | นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ | พ.ศ. 2543–2544 |
38 | นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ | พ.ศ. 2544–2546 |
39 | นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร | พ.ศ. 2546–2548 |
40 | นายสุธี มากบุญ | พ.ศ. 2548–2550 |
41 | นายชวน ศิรินันท์พร | พ.ศ. 2550–2553 |
42 | นายสุรพล สายพันธ์ | พ.ศ. 2553–2555 |
43 | นายวันชัย สุทธิวรชัย | พ.ศ. 2555–2557 |
44 | นายเสริม ไชยณรงค์ | พ.ศ. 2557–2558 |
45 | นายประทีป กีรติเรขา | พ.ศ. 2558–2558 |
46 | นายสมศักดิ์ จังตระกุล | พ.ศ. 2558–2560 |
47 | นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ | พ.ศ. 2560–2564 |
48 | นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ | พ.ศ. 2564–2565 |
49 | นายชลธี ยังตรง | พ.ศ. 2565–2566 |
50 | นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ | พ.ศ. 2566–2567 |
51 | ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ | พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน |
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2550 | 1,785,709 | — |
2551 | 1,795,453 | +0.5% |
2552 | 1,803,754 | +0.5% |
2553 | 1,813,088 | +0.5% |
2554 | 1,816,057 | +0.2% |
2555 | 1,826,920 | +0.6% |
2556 | 1,836,523 | +0.5% |
2557 | 1,844,669 | +0.4% |
2558 | 1,857,429 | +0.7% |
2559 | 1,862,965 | +0.3% |
2560 | 1,869,633 | +0.4% |
2561 | 1,874,548 | +0.3% |
2562 | 1,878,146 | +0.2% |
2563 | 1,866,682 | −0.6% |
2564 | 1,868,519 | +0.1% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8] |
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี
มีรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถท้องถิ่น และรถเร็วเสริมเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีรถไฟเล็ก ๆ อีก 2 แห่ง คือ สถานีบุ่งหวาย และสถานีห้วยขะยุง
การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดอุบลราชธานีโดยรถโดยสารประจำทางทั้งชนิดรถธรรมดาและรถปรับอากาศนั้น จะออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิตใหม่) มายังสถานีปลายทางคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซของประเทศลาวทุกวัน[9]
ส่วนรถประจำทางระหว่างจังหวัดนั้น มีเดินรถระหว่างอุบลราชธานีไปถึงจังหวัดปลายทางต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคของประเทศ นอกจากนี้แล้ว กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศถึงการเปิดเดินรถสายอุบลราชธานี –เกาะสมุย เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต และอีกในอนาคตข้างหน้า กรมการขนส่งทางบกยังมีแผนการที่จะเปิดเดินรถสายสายเหนืออีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางอุบลราชธานี – เชียงราย – แม่สาย โดยอาจดำเนินการบริษัทนครชัยแอร์ เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต ส่วนแผนการเปิดเส้นทางเดินรถระหว่างประเทศของกรมการขนส่งทางบกนั้น ในปัจจุบันมีอยู่ 3 เส้นทาง คือ สายอุบลราชธานี–จำปาศักดิ์ อุบลราชธานี–คอนพะเพ็ง และ อุบลราชธานี–เสียมราฐ
จังหวัดอุบลราชธานี มีท่าอากาศยานนานาชาติจำนวน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โดยมีสายการบินจากจังหวัดอุบลราชธานีสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ดังนี้[10]
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ในปัจจุบัน การเดินทางภายในเขตตัวเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ และบริเวณโดยรอบนั้นมีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทางขนาดเล็กที่ให้การบริการโดยเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้[11]
สำหรับการเดินทางในเขตเมืองอุบลราชธานีและวารินชำราบนั้น ในปัจจุบันมีแท็กซีมีเตอร์ให้บริการประมาณ 500 คัน ภาคเอกชนที่เปิดให้บริการเดินรถแท็กซี่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับสมญานามว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ และเมืองศิลปินแห่งชาติ ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.