Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกียรติศักดิ์ ส่องแสง (เกิด 16 ธันวาคม พ.ศ. 2508) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เกียรติศักดิ์ ส่องแสง | |
---|---|
เกียรติศักดิ์ ใน พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2508 จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาราช (?) ประชาธิปัตย์ (2554–2564) เพื่อไทย (2564–2565) พลังประชารัฐ (2565–ปัจจุบัน) |
เกียรติศักดิ์ ส่องแสง เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ที่ อ.ตระการพืชผล[2] จ.อุบลราชธานี[3] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขาการวัดผลการศึกษา ปริญญาเอกสาขาการทดสอบและประเมินผลการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทำงานด้วยการเริ่มรับราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ประจำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2532 ต่อมาได้โอนมารับราชการเป็นนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ในปี พ.ศ. 2537 จากนั้นในปีถัดมาได้โอนไปสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุขมหาเมฆ และย้ายมาประจำที่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
เกียรติศักดิ์ ส่องแสง ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปทุมธานี เขต 4 แต่แพ้ให้กับว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี จากพรรคเพื่อไทย[4]แต่ในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 5 ปทุมธานี พ.ศ. 2555 แทน ว่าที่ ร.ต. สุเมธ ที่ลาออกไปลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555 ดร.เกียรติศักดิ์ สามารถเอาชนะผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย[5] และนับเป็นชัยชนะครั้งแรกในรอบหลายปีของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ดังกล่าว
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] ต่อมาปี 2564 เขาย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[7] และมีกระแสข่าวลือว่าพรรคเพื่อไทยจะวางตัวให้ลงสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่ จ. ปทุมธานี จนทำให้ผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ จ.ปทุมธานีออกมาคัดค้าน เนื่องจากพฤติกรรมในอดีตโดยเฉพาะเมื่อครั้งเคลื่อนไหวกับ กปปส. ที่แสดงตนเป็นปรปักษ์กับพรรคเพื่อไทย และได้ยื่นหนังสือเพื่อให้พรรคเพื่อไทยทบทวนการให้นายเกียรติศักดิ์ลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคเพื่อไทย [8] และในปี 2565 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[9]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เกียรติศักดิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เขต 6 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.