Remove ads
จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชียงราย (ไทยถิ่นเหนือ: ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ, เจียงฮาย) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาวทางทิศเหนือและทิศตะวันออก, จังหวัดพะเยาและจังหวัดลำปางทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ทางทิศตะวันตก จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ประกอบด้วยเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน และ เมืองเชียงราย[4] จังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตและขนส่งฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมมากเป็นอันดับสองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนราว 3,600,000 คน คิดเป็นชาวต่างชาติราว 620,000 คน สร้างรายได้ให้กับจังหวัดราว 28,500 ล้านบาท โดยมีท่าอากาศยานประจำจังหวัดคือท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง[5] เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมาจากการเกษตร การป่าไม้ และประมง ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32,500 ล้านบาท[6]
จังหวัดเชียงราย | |
ชื่อภาษาไทย | |
---|---|
อักษรไทย | เชียงราย |
อักษรโรมัน | Chiang Rai |
ชื่อคำเมือง | |
อักษรธรรมล้านนา | ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ |
อักษรไทย | เจียงฮาย |
จังหวัดเชียงราย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Chiang Rai |
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
| |
คำขวัญ: เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเชียงรายเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ชรินทร์ ทองสุข (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] [2] | |
• ทั้งหมด | 11,678.4 ตร.กม. (4,509.1 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 12 |
ประชากร (พ.ศ. 2565)[3] | |
• ทั้งหมด | 1,298,977 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 14 |
• ความหนาแน่น | 111.22 คน/ตร.กม. (288.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส ISO 3166 | TH-57 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เวียงไชยนารายณ์ และพันธุมติรัตนอณาเขต |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | กาซะลองคำ |
• ดอกไม้ | พวงแสด |
• สัตว์น้ำ | ปลาบึก |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนแม่ฟ้าหลวง ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100 |
• โทรศัพท์ | 0 5371 9143 |
เว็บไซต์ | www |
เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังขึ้นชื่อว่าเป็น "เมืองศิลปะ"[7]และเป็นที่เกิดของศิลปินที่มีอิทธิพลอย่างมากในวงการศิลปะไทย โดยเฉพาะ ถวัลย์ ดัชนี ผู้สร้างสรรค์บ้านดำ และเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้สร้างสรรค์วัดร่องขุ่นและหอนาฬิกาเมืองเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงรายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปิน และเป็นแบบอย่างของวัดร่องเสือเต้นซึ่งเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1854 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งน้ำแม่กก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805 [8]
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนครามหรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงครามก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ใน พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง [9] ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย[10]
ตั้งแต่มีการตั้งจังหวัดเชียงราย อาณาเขตของจังหวัดเชียงรายมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ โดยมีการโอนพื้นที่บางส่วน ไปขึ้นกับจังหวัดข้างเคียง และโอนพื้นที่จังหวัดข้างเคียง เข้ามารวมกับจังหวัดเชียงราย รวมถึงการแบ่งพื้นที่บางส่วน ตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ดังนี้
การโอนอำเภอเมืองฝาง ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่
มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอเมืองฝาง จังหวัดเชียงรายไปขึ้นจังหวัดเชียงใหม่[11] ในปี พ.ศ. 2468 เนื่องจากความลำบากในการเดินทางติดต่อราชการ ปัจจุบันคือ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
การโอนหมู่ 7 ตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช 2479 ได้มีการโอนพื้นที่เหนือลำน้ำแม่งามในเขตตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสนในขณะนั้น (อำเภอแม่จันในปัจจุบัน)ไปขึ้นตำบลแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่[12]
การโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย
ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2495 ได้มีการโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน ยกเว้น ตำบลสวด ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองน่านในขณะนั้น (ปัจจุบันคืออำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน) มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย (สีเขียว) และโอนตำบลสะเอียบ (สีส้ม) อำเภอปง ไปขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่[13]
การโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 137 ซึ่งมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติซึ่งออกตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 กำหนดให้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน โดยโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (ปัจจุบันอยู่ในเขต อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน) [14]
การแบ่งพื้นที่บางส่วนตั้งเป็นจังหวัดพะเยา
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา[15]
แผนที่ | ปีที่เปลี่ยนแปลง (พ.ศ.) | การเปลี่ยนแปลง |
---|---|---|
2453-2468 | แผนที่จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2453-2468 | |
2468 | การโอนพื้นที่อำเภอเมืองฝาง (สีแดง) จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ | |
2479 | การโอนพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในขณะนั้น (สีแดง) ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ | |
2495 | การโอนพื้นที่อำเภอปง จังหวัดน่าน ยกเว้น ตำบลสวด(สีเขียว) มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย และโอนตำบลสะเอียบ (สีส้ม) ไปขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่ | |
2515 | โอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง (สีฟ้า) จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด (สีแดง) อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน | |
2520 | การแบ่งพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ ไปตั้งเป็นจังหวัดพะเยา |
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก
จังหวัดเชียงรายมีชายแดนติดกับประเทศพม่าประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวประมาณ 180 กิโลเมตร เป็นเพียงหนึ่งในสองจังหวัดของประเทศไทยที่มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยกันถึงสองประเทศในจังหวัดเดียว
จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่ มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตร[16]บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด
จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์–กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม–กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว เริ่มจากพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างมาก
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเชียงราย | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 27.6 (81.7) |
30.9 (87.6) |
33.5 (92.3) |
34.9 (94.8) |
33.2 (91.8) |
31.7 (89.1) |
30.9 (87.6) |
30.6 (87.1) |
30.6 (87.1) |
29.8 (85.6) |
28.2 (82.8) |
26.5 (79.7) |
30.7 (87.3) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 18.9 (66) |
21.1 (70) |
24.1 (75.4) |
26.8 (80.2) |
27.0 (80.6) |
26.8 (80.2) |
26.4 (79.5) |
26.1 (79) |
25.8 (78.4) |
24.5 (76.1) |
22.0 (71.6) |
18.8 (65.8) |
24.0 (75.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 11.9 (53.4) |
12.9 (55.2) |
15.9 (60.6) |
19.7 (67.5) |
22.0 (71.6) |
22.9 (73.2) |
22.8 (73) |
22.6 (72.7) |
22.0 (71.6) |
20.3 (68.5) |
17.0 (62.6) |
12.8 (55) |
18.6 (65.5) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 12.2 (0.48) |
7.8 (0.307) |
19.1 (0.752) |
89.8 (3.535) |
203.9 (8.028) |
211.2 (8.315) |
308.2 (12.134) |
385.4 (15.173) |
268.4 (10.567) |
142.4 (5.606) |
60.5 (2.382) |
24.6 (0.969) |
1,733.5 (68.248) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 2 | 1 | 3 | 10 | 17 | 19 | 22 | 24 | 18 | 12 | 6 | 3 | 137 |
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[17] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory [18] |
พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11.678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่ ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
จังหวัดเชียงราย มีวนอุทยาน (Forest Park) ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่รัฐจัดไว้ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด จำนวน 27 แห่ง ดังนี้
|
|
|
|
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ป่าไม้รูปแบบอื่นอีก ดังต่อไปนี้
จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดเดียวในภาคเหนือที่มีแม่น้ำสายสำคัญส่วนใหญ่จะไหลไปทางทิศเหนือ โดยจะไปรวมกับแม่น้ำโขงทั้งหมดทั้งสิ้น ซึ่งมีแม่น้ำสายสำคัญดังนี้
โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากการเกษตร ป่าไม้ และการประมงเป็นหลัก พืชสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด ชา เลี้ยงสัตว์ สัปปะรด มันสำปะหลัง ส้มโอ ลำไย และลิ้นจี่ ซึ่งทั้งคู่เป็นผลไม้สำคัญที่สามารถปลูกได้ในทุกอำเภอของจังหวัด นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังขึ้นชื่อสำหรับการเพาะปลูกชา อันเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ. 2561[6] นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในเชิงการท่องเที่ยว มีจำนวนผู้เยี่ยมเยียนจังหวัดเชียงรายทั้งหมดราว 3,600,000 คนในปี 2561 มากเป็นอันดับที่สองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับจังหวัดมากกว่า 28,500 บาท[5]
การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ จำนวน 18 อำเภอ ระดับตำบล จำนวน 124 ตำบล และระดับหมู่บ้าน จำนวน 1,753 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่ออำเภอ | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนตำบล | จำนวนประชากร[20] | ระยะห่างจาก ศาลากลางจังหวัด (กม.) |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เมืองเชียงราย | Mueang Chiang Rai | 16 | 223,725 | - | |
2. | เวียงชัย | Wiang Chai | 5 | 44,036 | 13 | |
3. | เชียงของ | Chiang Khong | 7 | 62,328 | 101 | |
4. | เทิง | Thoeng | 10 | 84,018 | 69 | |
5. | พาน | Phan | 15 | 124,364 | 45 | |
6. | ป่าแดด | Pa Daet | 5 | 26,362 | 56 | |
7. | แม่จัน | Mae Chan | 11 | 99,273 | 28 | |
8. | เชียงแสน | Chiang Saen | 6 | 50,323 | 61 | |
9. | แม่สาย | Mae Sai | 8 | 85,266 | 61 | |
10. | แม่สรวย | Mae Suai | 7 | 79,938 | 49 | |
11. | เวียงป่าเป้า | Wiang Pa Pao | 7 | 67,092 | 93 | |
12. | พญาเม็งราย | Phaya Mengrai | 5 | 41,952 | 46 | |
13. | เวียงแก่น | Wiang Kaen | 4 | 31,254 | 116 | |
14. | ขุนตาล | Khun Tan | 3 | 32,341 | 59 | |
15. | แม่ฟ้าหลวง | Mae Fa Luang | 4 | 69,567 | 50 | |
16. | แม่ลาว | Mae Lao | 5 | 30,631 | 23 | |
17. | เวียงเชียงรุ้ง | Wiang Chiang Rung | 3 | 26,740 | 31 | |
18. | ดอยหลวง | Doi Luang | 3 | 19,008 | 48 |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 144 แห่งประกอบด้วย 1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง[21] 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลจำแนกตามอำเภอ ดังนี้ [22]
ตารางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย
ตารางนี้จะปรากฏเฉพาะเทศบาลกับองค์การบริหารส่วนตำบลเท่านั้น ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมีอยู่จุดเดียว
อำเภอ | เทศบาลนคร | เทศบาลเมือง | เทศบาลตำบล | องค์การบริหารส่วนตำบล | รวม |
---|---|---|---|---|---|
เมืองเชียงราย | 1 | - | 10 | 5 | 16 |
แม่สาย | - | 1[23] | 3 | 6 | 10 |
แม่จัน | - | - | 8 | 5 | 13 |
เชียงแสน | - | - | 5 | 2 | 7 |
เชียงของ | - | - | 7 | 1 | 8 |
เทิง | - | - | 6 | 6 | 12 |
ป่าแดด | - | - | 5 | - | 5 |
พาน | - | - | 2 | 14 | 16 |
เวียงชัย | - | - | 5 | 1 | 6 |
แม่สรวย | - | - | 3 | 6 | 9 |
เวียงป่าเป้า | - | - | 4 | 5 | 9 |
พญาเม็งราย | - | - | 3 | 3 | 6 |
แม่ลาว | - | - | 3 | 4 | 7 |
ขุนตาล | - | - | 3 | 1 | 4 |
เวียงเชียงรุ้ง | - | - | 1 | 3 | 4 |
เวียงแก่น | - | - | 3 | 1 | 4 |
แม่ฟ้าหลวง | - | - | - | 4 | 4 |
ดอยหลวง | - | - | - | 3 | 3 |
รวมทั้งสิ้น | 1 | 1 | 71 | 70 | 143 |
รายชื่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย
|
|
|
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายชื่อ | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง | |||||||
1 | พระยารัตนอาณาเขต (เจ้าหนานธรรมลังกา) | พ.ศ. 2386-2407 | |||||||
2 | พระยารัตนอาณาเขต (เจ้าอุ่นเรือน) | พ.ศ. 2407-2419 | |||||||
3 | พระยารัตนอาณาเขต (เจ้าหนานสุริยะ) | พ.ศ. 2419-2433 | |||||||
4 | พระยารัตนาณาเขตร์ (เจ้าน้อยเมืองไชย) | พ.ศ. 2433-2442 | |||||||
5 | พระพลอาษา | พ.ศ. 2442-2445 | |||||||
6 | หลวงอาษาภูธร | พ.ศ. 2445-2446 | |||||||
7 | พระยารามราชภักดี | พ.ศ. 2447-2450 | |||||||
8 | พระยาอุดรกิจพิจารณ์ | พ.ศ. 2450-2453 | |||||||
9 | พระยารามราชเดช (ศุข ดิษยบุตร) | พ.ศ. 2453-2458 | |||||||
10 | พระราชโยธา (เจิม ปันยารชุน) | พ.ศ. 2458-2460 | |||||||
11 | พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) | พ.ศ. 2460-2479 | |||||||
12 | พระพนมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) | พ.ศ. 2479-2482 | |||||||
13 | พันตำรวจเอก พระนรากรบริรักษ์ (เจิม ปิณฑะรุจิ) | พ.ศ. 2482-2485 | |||||||
14 | หลวงรักษ์นราธร (โชค ชมธวัช) | พ.ศ. 2485-2487 | |||||||
15 | ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร กิตยานุกุล) | พ.ศ. 2487-2489 | |||||||
16 | นายชลอ จารุจินดา | พ.ศ. 2489-2490 | |||||||
17 | ขุนวิสิฐอุดรการ (กรี วิสิฐอุดรการ) | พ.ศ. 2490-2491 | |||||||
18 | ขุนสนิทประชาราษฏร์ (สนิท จันทรศัพท์) | พ.ศ. 2491-2491 | |||||||
19 | นายชลอ จารุจินดา | พ.ศ. 2491-2492 | |||||||
20 | พันตำรวจโท ขุนวีรเดชกำแหง (ชม จารุสิทธิ์) | พ.ศ. 2492-2493 | |||||||
21 | พันตรี เล็ก ทองสุนทร | พ.ศ. 2493-2497 | |||||||
22 | พันเอก จำรูญ จำรูญรณสิทธิ์ | พ.ศ. 2497-2498 | |||||||
23 | พันตำรวจเอก เลื่อน กฤษณามระ | พ.ศ. 2498-2500 | |||||||
24 | พันตำรวจเอก เนื่อง รายะนาค | พ.ศ. 2500-2501 | |||||||
25 | นายเครือ สุวรรณสิงห์ | พ.ศ. 2501-2504 | |||||||
26 | นายชูสง่า ไชยพันธุ์ (ฤทธิประศาสน์) | พ.ศ. 2504-2512 | |||||||
27 | นายสิทธิ์ สงวนน้อย | 20 พฤษภาคม 2512 - 30 เมษายน 2513 | |||||||
28 | นายประหยัด สมานมิตร | 1 พฤษภาคม 2513 - 20 กันยายน 2513 | |||||||
29 | นายศรศักดิ์ สุวรรณเทศ | 1 ตุลาคม 2513 - 30 กันยายน 2514 | |||||||
30 | พลตรี วิทย์ นิ่มนวล | 1 ตุลาคม 2514 - 30 กันยายน 2516 | |||||||
31 | นายชุ่ม บุญเรือง | 1 ตุลาคม 2516 - 27 สิงหาคม 2522 | |||||||
32 | นายศักดา อ้อพงษ์ | 1 ตุลาคม 2522 - 30 กรกฎาคม 2525 | |||||||
33 | นายมนตรี ตระหง่าน | 1 ตุลาคม 2525 - 30 กันยายน 2528 | |||||||
34 | นายอร่าม เอี่ยมอรุณ | 1 ตุลาคม 2528 - 30 กันยายน 2531 | |||||||
35 | นายบรรณสิทธิ์ สลับแสง | 1 ตุลาคม 2531 - 30 เมษายน 2534 | |||||||
36 | นายคำรณ บุณเชิด | 1 ตุลาคม 2534 - 30 กันยายน 2539 | |||||||
37 | นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ | 1 ตุลาคม 2539 - 30 กันยายน 2542 | |||||||
38 | นายสำเริง ปุณโยปกรณ์ | 1 ตุลาคม 2542 - 30 กันยายน 2544 | |||||||
39 | นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ | 1 ตุลาคม 2544 - 27 ตุลาคม 2545 | |||||||
40 | นายนรินทร์ พานิชกิจ | 28 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2547 | |||||||
41 | นายวรเกียรติ สมสร้อย | 1 ตุลาคม 2547 - 28 กุมภาพันธ์ 2549 | |||||||
42 | นายอุดม พัวสกุล | 5 มิถุนายน 2549 - 12 พฤศจิกายน 2549 | |||||||
43 | นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ | 13 พฤศจิกายน 2549 - 30 กันยายน 2550 | |||||||
44 | นายปรีชา กมลบุตร | 1 ตุลาคม 2550 - 5 พฤษภาคม 2551 | |||||||
45 | นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง | 6 พฤษภาคม 2551 - 15 มีนาคม 2552 | |||||||
46 | นายสุเมธ แสงนิ่มนวล | 16 มีนาคม 2552 - 30 กันยายน 2553 | |||||||
47 | นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ | 1 ตุลาคม 2553 - 27 พฤศจิกายน 2554 | |||||||
48 | นายธานินทร์ สุภาแสน | 29 ธันวาคม 2554 - 7 ตุลาคม 2555 | |||||||
49 | นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ | 8 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2558 | |||||||
50 | นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ | 1 ตุลาคม 2558 - 4 เมษายน 2560 | |||||||
51 | นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร | 4 เมษายน 2560 - 29 มิถุนายน 2561 | |||||||
52 | นายประจญ ปรัชญ์สกุล | 29 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2564 | |||||||
53 | นายภาสกร บุญญลักษม์ | 1 ตุลาคม 2564 - 2 ธันวาคม 2565 | |||||||
54 | นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ | 2 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2567 | |||||||
- | นายโชตินรินทร์ เกิดสม (รักษาการ) | 2 ตุลาคม 2567 - 17 พฤศจิกายน 2567 | |||||||
55 | นายชรินทร์ ทองสุข | 17 พฤศจิกายน 2567 - ปัจจุบัน |
ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงรายแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 7 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 7 คน โดยแต่ละเขตแบ่งออกดังนี้
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2522[25] | 922,850 | — |
2525[26] | 946,188 | +2.5% |
2528[27] | 981,124 | +3.7% |
2531[28] | 1,009,608 | +2.9% |
2534[29] | 1,048,299 | +3.8% |
2537[30] | 1,251,581 | +19.4% |
2540 | 1,261,138 | +0.8% |
2543 | 1,259,988 | −0.1% |
2546 | 1,214,981 | −3.6% |
2549 | 1,225,713 | +0.9% |
2552 | 1,194,933 | −2.5% |
2555 | 1,200,423 | +0.5% |
2558 | 1,277,950 | +6.5% |
2561 | 1,292,130 | +1.1% |
2564 | 1,298,425 | +0.5% |
ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[3] |
จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ[31] ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ
แบ่งพื้นที่อำเภอแม่จันตั้งเป็นอำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอดอยหลวง
อำเภอแม่จัน เดิมชื่อว่าอำเภอเชียงแสน[32] มีพื้นที่อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงราย (พื้นที่สีเขียวในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาถูกแบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอและอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอดอยหลวง ตามลำดับ
แบ่งพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายเพื่อตั้งเป็นอำเภอเวียงชัยและอำเภอแม่ลาว
อำเภอเมืองเชียงรายเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดเดิมมีพื้นที่ครอบคลุมลุ่มน้ำแม่กกส่วนใหญ่ (พื้นที่สีส้มในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาแยกเป็น อำเภอเวียงชัย และอำเภอแม่ลาว และต่อมาอำเภอเวียงชัยได้แยกพื้นที่บางส่วนเพื่อตั้งเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้งตามลำดับ
แบ่งพื้นที่อำเภอเวียงชัยเพื่อตั้งเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้ง
แบ่งพื้นที่อำเภอพานเพื่อตั้งอำเภอป่าแดด
อำเภอพาน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเขียงราย (พื้นที่สีฟ้าในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาได้แยกพื้นที่ตำบลป่าแดดเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าแดด (หมายเลข 4 ในรูป 2)ในปี พ.ศ. 2512[49] และยกฐานะเป็นอำเภอป่าแดดในปี พ.ศ. 2518[50]
แบ่งพื้นที่อำเภอเชียงของเพื่อตั้งอำเภอเวียงแก่น
อำเภอเชียงของ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย (พื้นที่สีม่วงอ่อนในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาได้แยกตำบลปอ ตำบลหล่ายงาว และตำบลม่วงยายเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่น(หมายเลข 6) ในปี พ.ศ. 2530[51] และยกฐานะเป็นอำเภอเวียงแก่นในปี พ.ศ. 2538[52]
แบ่งพื้นที่อำเภอเทิงเพื่อตั้งอำเภอพญาเม็งรายและอำเภอขุนตาล
อำเภอเทิงเป็นอำเภอที่มีพื้นที่กว้างขวางตั้งอยู่ทิศตะวัตออกเฉียงใต้ของตัวจังหวัด (สีแดง ในรูป 2) ต่อมาได้แบ่งพื้นที่บางส่วนตั้งเป็นอำเภอพญาเม็งราย และอำเภอขุนตาล ตามลำดับ
เนื่องจากบางอำเภอของจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่กว้างใหญ่ แม้ว่าการคมนาคมจะสะดวกง่ายดายแต่ก็ใช้เวลานานในการเดินทางติดต่อราชการ รวมถึงบางพื้นที่ได้มีมีประชากรหนาแน่นขึ้นและมีความเจริญมากขึ้นเป็นลำดับ จึงมีการเสนอโครงการจัดตั้งกิ่งอำเภอต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 (ดังรูป 3) ดังนี้
ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545 หลังจากได้มีการจัดตั้งหน่วยงานราชการระดับจังหวัด เช่น เรือนจำจังหวัดเทิง [64] ศาลจังหวัดเทิง[65] สำนักงานอัยการจังหวัดเทิง สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง จึงได้มีกระแสการเสนอรณรงค์เพื่อเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเทิงขึ้นโดยนักการเมืองในเขตอำเภอเทิง โดยใช้ชื่อที่ใช้ในการรณรงค์ในขณะนั้นว่า จังหวัดเทิงนคร โดยเสนอที่จะแยก อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอป่าแดด อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ แต่โครงการนี้ได้เงียบไปและเป็นที่กล่าวถึงใหม่เป็นระยะ ๆ บนกระดานสนทนาต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต[66]
หลังจากมีการก่อสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ขึ้นที่อำเภอเชียงของ [67] ในปี พ.ศ. 2554 และมีโครงการเชียงของเมืองใหม่ขึ้นมารับการพัฒนาที่จะตามมาตามทางหลวงเอเชียสาย 3 (AH3) หรือเส้นทาง R3A [68] [69] [70] จึงมีแนวคิดที่จะเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของ โดยแยกอำเภอเชียงแสน อำเภอดอยหลวง อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอป่าแดด อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ [71] และก่อให้เกิดข้อถกเถียงบนกระดานข่าวในอินเทอร์เน็ตอยู่ระยะหนึ่งหลังจากมีข่าวลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้เงียบไปหลังจากนั้นไม่นาน
แผนที่ | โครงการจัดตั้งจังหวัดใหม่ |
---|---|
แผนที่แสดง 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่น และ อำเภอเชียงของ ที่มีการเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเทิงนคร | |
แผนที่แสดง 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่น อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงแสน และ อำเภอเชียงของที่มีการเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของแผนที่แสดง 8 อำเภอ ที่มีการเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของ |
จังหวัดเชียงรายรับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 916 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 590 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน 201 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 8 แห่ง มีครู/อาจารย์ 18,178 คน และนักเรียน นักศึกษา 259,571 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 90,007 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 45,221 คน[72]
จังหวัดเชียงรายมีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 26 แห่ง มีเตียงจำนวนทั้งหมด 2,614 เตียง มีบุคลากรแพทย์ 521 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 4.44) พยาบาล 2,729 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 2.33) ทันตแพทย์ 141 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 1.20) และเภสัชกร 141 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 2.08)[73]
จังหวัดเชียงรายมีระบบขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก ทางอากาศ และทางรถไฟในอนาคต โดยเชียงรายเป็นจุดหมายปลายทางการบินที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และจังหวัดเชียงรายมีสถานีรถโดยสารประจำทาง 2 แห่ง สำหรับการขนส่งผู้โดยสารไปยังต่างอำเภอ และจังหวัดอื่น ๆ
ทางด้านระบบขนส่งมวลชน มี รถสองแถว ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ แท็กซี่มิเตอร์ ให้บริการในพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย และอำเภอใกล้เคียง
จังหวัดเชียงรายมีการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับประเทศหลายครั้ง ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 2 ครั้ง กีฬาเยาวชนแห่งชาติ 1 ครั้ง และกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย 2 ครั้ง
เชียงรายมีสโมสรฟุตบอลอาชีพ 3 สโมสร ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.